• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Jessicas

#8731


อย่างที่รู้กันอยู่ว่าทุกวันนี้การสำรวจเรตติ้งในประเทศเรานั้น ที่ได้ยินกันบ่อยๆ และมักจะเอามาอ้างอิงในศึกชิงความเป็นหนึ่งในสมรภูมิหน้าจอทีวีนั้น มักจะอ้างอิงตัวเลขมาจาก "นีลเส็น (Nielsen)" บริษัทวัดเรตติ้งเพื่อการตลาด ซึ่งตัวเลขเหล่านั้นก็จะส่งผลให้เอเจนซี่สามารถนำไปตัดสินใจว่าจะเทเม็ดเงินโฆษณานั้นลงไปให้กับช่องใดบ้าง เพราะถ้าพูดถึงว่าเรตติ้งดีเท่าไหร่ งบโฆษณาในแต่ละไตรมาสก็จะเทมามากเท่านั้น จึงไม่แปลกใจว่าทำไมช่อง 7HD ถึงยืนหนึ่งในเรื่องเรตติ้ง

แต่หลังจากพฤติกรรมคนดูในบ้านเราได้เปลี่ยนไป แม้ทีวีจะยังเป็นสื่อหลักในการเข้าถึงทุกบ้าน แต่ "สื่อออนไลน์" ก็เติบโตแบบก้าวกระโดดเช่นกัน เลยทำให้ผู้ชมบางส่วนดูผ่านออนไลน์ตามแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งก็มีให้เลือกสรรตามความชอบและความพึ่งพอใจของแต่ละบุคคล จึงทำให้หลายช่องก่อนหน้านี้ ลงทุนให้ "นีสเส็น" จัดตั้งโครงการวัดเรตติ้งทางออนไลน์ซึ่งไม่รวมกับการวัดเรตติ้งจากจอทีวี โดยเริ่มตั้งแต่ต้นปี 60 ซึ่งมีทีวีดิจิตอลช่องต่างๆ เข้าร่วมอาทิ ช่อง 7, เวิร์คพอยท์ ทีวี, ไทยรัฐทีวี, ช่อง 3

ล่าสุด "สมาคมทีวีดิจิตอล" ได้ยื่นเสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณ 288.8 ล้านบาท จาก กสทช.ก็ผ่านการพิจารณาอนุมัติและเซ็นสัญญาบันทึกความเข้าใจร่วมกันแล้ว โดยมี "นีลเส็น (Nielsen)" เป็นผู้รับจ้างสมาคมฯ ทำการสำรวจแบบข้ามแพลตฟอร์ม (Cross Platform) เพื่อให้ได้ผลความนิยมทั้งจากการรับชมแบบเดิมผ่านหน้าจอทีวีและการรับชมแบบใหม่ผ่านจอออนไลน์ ในกรอบระยะเวลา 4 ปี โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป และแปลตามความเข้าใจแบบชาวบ้านง่ายๆ คือครั้งนี้จะเป็นการวัดเรตติ้งจากแพลตฟอร์มที่เป็นออนไลน์เกือบทั้งหมด เพราะนอกจากจะวัดผลจากหน้าจอทีวีแล้ว ในส่วนของหน้าจอออนไลน์ที่ออกอากาศแบบ streaming สดพร้อมกัน (ไม่นับการดูย้อนหลังแบบ VOD video on demand ) เพื่อรายงานผลเรตติ้งแบบ total rating เป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการอีกด้วย โดยในครั้งนี้จะเป็นการวัดทุกช่อง ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งจะทำไปพร้อมๆ กันทั้งอุตสาหกรรมทีวีบ้านเรา

โดย "สุภาพ คลี่ขจาย" นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล(ประเทศไทย) ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของโครงการนี้ว่า "เป็นโครงการที่สมาคมฯ ผลักดันอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่าสองปี นับตั้งแต่มีประกาศตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2562 (ม.44) ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของผลการสำรวจความนิยมของผู้ชมเป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาคุณภาพรายการของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลซึ่งเป็นสื่อหลักของชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมที่เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้ชมทั้งผ่านจอทีวีและจอออนไลน์ โดยโจทย์สำคัญคือ จะทำอย่างไร ? ให้เกิดความน่าเชื่อถือ แม่นยำ และสามารถตรวจสอบความโปร่งใสในที่มาของกลุ่มตัวอย่างและระเบียบวิธีวิจัยในมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปพัฒนารูปแบบรายการ และมีเดียเอเจนซีผู้นำไปใช้ประโยชน์วางแผนในการซื้อสื่อโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งสาระสำคัญในการสำรวจความนิยมโทรทัศน์แบบใหม่นี้ จะขยายหน่วยตัวอย่างที่ใช้เป็นพื้นฐานพัฒนาเรตติ้งรายการ จากเดิม 9,000 ตัวอย่าง เป็น 13,000 ตัวอย่าง ควบคู่กับการพัฒนาโปรแกรมการสำรวจ (Software) ระบบใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การวัดความนิยมของรายการโทรทัศน์แบบข้ามแพลตฟอร์ม (Cross Platform) ทั้งจากหน้าจอทีวีภาคพื้นดินและหน้าจอของแพลตฟอร์มออนไลน์ การสำรวจความนิยมรายการโทรทัศน์แบบข้ามแพลตฟอร์มนี้ เป็นเทคโนโลยีระบบการวิจัยล่าสุดที่ นีลเส็น ได้พัฒนาและเริ่มใช้แล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก ล่าสุดได้ทำการติดตั้งระบบที่ประเทศเดนมาร์ก และซาอุดิอาระเบีย ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะใช้ระบบการวัดทีวีเรตติ้งแบบใหม่นี้"

และการวัดเรตติ้งในครั้งนี้ทั้งทางหน้าจอทีวี และทางแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างนั้นๆ จะถือได้ว่าเป็นทางการ โดยตัวเลขที่ได้มานอกจากจะการันตีให้รายการในช่องต่างๆ แล้ว แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้เอเจนซี่ใช้ไปประกอบการตัดสินใจในการซื้อโฆษณา โดยอาจจะซื้อโฆษณาแบบเป็นแพ็กเกจพร้อมกันทั้งหน้าจอทีวี แพลตฟอร์มออนไลน์ นี่ก็ถือได้ว่าจะทำให้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมทีวีบ้านเราเติบโตคักคักอีกครั้ง หลังจากต้องเผชิญปัญหาโควิดอยู่ ณ ตอนนี้
#8736


กระแสความสนใจของประชาชน วันนี้ กรณีการแจกเงินเยียวยา ให้แก่ประชาชนแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ที่ประกาศ ล็อกดาวน์ โดยประกันสังคม เปิดลงทะเบียนผ่าน www.sso.go.th สำหรับผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 (ม.33) , มาตรา 39 (ม.39) และมาตรา 40 (ม.40) ดังนี้


สำนักงานประกันสังคม แจ้งวันนี้ ให้นายจ้างและลูกจ้างผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ ท่านสามารถตรวจสอบสิทธิเยียวยาได้แล้ววันนี้ ทางเวปไซต์สำนักงานประกันสังคม ที่เดียวเท่านั้น คลิก


ผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 9 ประเภทกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ คลิกตรวจสอบสิทธิ์

แรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงมีมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ "ล็อกดาวน์" ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา เพิ่มเติม จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ครอบคลุม 9 ประเภทกิจการ นั้น ได้แก่ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรมบริการด้านอาหาร กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร นั้น

สำหรับความคืบหน้าการเยียวยากลุ่มนายจ้างมาตรา 33 จำนวน 3,000 บาท ต่อลูกจ้างไม่เกิน 200 คน นั้น ขณะนี้มีนายจ้างได้ทยอยยื่นขอรับเงินชดเชยเข้ามาในระบบ e -service โดยในพื้นที่ 13 จังหวัดนั้นมีนายจ้างทั้งหมดประมาณ 180,000 ราย

ทั้งนี้ รมว.แรงงาน ยังได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม เร่งประชาสัมพันธ์กระตุ้นเตือนไปยังนายจ้างที่ยังไม่ได้ยื่นขอรับค่าชดเชยเยียวยาสามารถยื่นความประสงค์ขอรับเงินได้ที่ ระบบ e – service ของประกันสังคม จากนั้นปริ้นข้อมูลแบบรับการเยียวยาแล้วกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ส่งกลับมาให้ประกันสังคมโดยถ้าเป็นนายจ้างที่เป็นนิติบุคคลต้องแนบเลขบัญชีธนาคารกลับมาด้วย แต่ถ้าเป็นนายจ้างบุคคลธรรมดาให้นายจ้างผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนเพื่อประกันสังคมจะได้โอนเงินให้โดยเร็ว


ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 คลิกตรวจสอบสิทธิ์

เช้าวันนี้ ดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล ย้ำว่าผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ตรวจสิทธิรับเงินเยียวยาได้แล้ว ประกันสังคม เปิดให้ ผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40 (29 จังหวัดแดงเข้ม 9 กลุ่มกิจการ) ตรวจสอบสิทธิ รับเงินเยียวยา รายละ 5,000 บาท ได้แล้ว คลิกตรวจสอบสิทธิ์


ทั้งนี้ การสมัครมาตรา 40 ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิรักษาพยาบาลร่วมกับบัตรทอง (สปสช.) รวมทั้งสิทธิประโยชน์สวัสดิการแห่งรัฐต่างๆ แต่อย่างใด และสิทธิที่เคยได้รับยังเหมือนเดิม และมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย หรือสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตจากสำนักงานประกันสังคมเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย ส่วนสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 แต่ละทางเลือกขึ้นอยู่กับทางเลือกที่ผู้ประกันตนสมัคร


 ผู้สื่อข่าวตรวจสอบและรายงานด้วยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 64 เห็นชอบกรอบวงเงิน 33,471 ล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐตามข้อกำหนดฯ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยช่วยเหลือค่าครองชีพคนละ 5,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,694,201 คน

โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

1. พื้นที่ดำเนินการ 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี

2. กลุ่มเป้าหมายรวมประมาณ 6,694,201 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จำนวน 1,436,171 คน และมาตรา 40 จำนวน 5,258,030 คน

3. คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่มีสัญชาติไทย สถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด) หรือ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด) กรณีเป็นผู้สมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะรอชำระเงิน W (Wait) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องไม่เป็นข้าราชการหรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง

4. วิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 จะโอนเงินให้กับผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) เฉพาะที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชน


ที่มา - รัฐบาลไทย


ครม. ยังให้กระทรวงแรงงาน เร่งตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน รวมทั้งขอให้โอนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนตาม ม.39 และ ม.40 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 10 จังหวัด ก่อนระยะเวลาที่กำหนด ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564
เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 ที่รุนแรงและได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ ก่อนพื้นที่อื่น ๆ



ตรวจสอบสิทธิ ม.39, ม.40 รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

สำนักงานประกันสังคม เปิดให้ตรวจสอบสิทธิ โครงการเยียวยานายจ้าง - ผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ใน 9 ประเภทกิจการ เพื่อรับเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท ในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัดแรก โดยคาดว่าจะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ได้ภายในวันที่ 24 ส.ค. 64

ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระและสมัคร ม.40 ใน 3 จังหวัด (พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา) และ 16 จังหวัดสีแดงเข้ม ( เช่น กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ) จะประกาศวันจ่ายเงินเข้าบัญชีอีกครั้ง
.
วิธีตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยานายจ้าง – ผู้ประกันตนฯ

1. เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th คลิกเลือก "ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (ผู้ประกันตนม.39)", "ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (ผู้ประกันตนม.40)"
2. จากนั้นกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และรหัสตามรูปที่กำหนด
3. กดค้นหา
4. ระบบจะแสดงผลการค้นหา ว่าได้/ ไม่ได้รับสิทธิตามเงื่อนไขโครงการ

สำหรับวิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนทุกมาตรา จะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์เฉพาะที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน เพื่อให้ระบบสามารถโอนเงินได้ตามกำหนด

ผู้มีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันสังคม โทร. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง



วันนี้ กระทรวงแรงงาน แจ้ง ยื่นก่อน ได้ก่อน รับเงินเยียวยานายจ้าง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ
นายจ้างที่อยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม และอยู่ใน 9 ประเภทกิจการที่ถูกควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
จะได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน (สูงสุดไม่เกิน 200 คน)
สำนักงานประกันสังคมจะเริ่มโอนเงินเข้าบัญชี ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2564 นี้ เป็นต้นไป
นายจ้างที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐใน 10 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ ที่ยังไม่ยื่นขอรับเงินชดเชยเยียวยา ขอให้ท่านดำเนินการยื่นแบบความประสงค์ขอรับเงินโดยด่วน ขั้นตอนคือเข้าระบบ e-service บนเว็บไซต์ www.sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคม

กรอกข้อมูลแล้วส่งกลับมาให้สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานประกอบการนั้นตั้งอยู่

กรณีนายจ้างที่เป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาบัญชีธนาคารกลับมาด้วย
นายจ้างบุคคลธรรมดาให้ผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน เพื่อสำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินได้อย่างรวดเร็ว
ที่มา - สำนักงานประกันสังคม 
#8740


วันนี้ (12 ส.ค. 64) นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบททักท้วงเรื่องคุณภาพของชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit (ATK) ที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้ดำเนินการจัดหาเพื่อใช้แจกให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่า ในวันพรุ่งนี้ (13 ส.ค.64) คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้บอร์ด สปสช. จะมีการประชุมด่วนเพื่อหารือข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว

เนื่องจากต้องการให้ชุดตรวจ ATK ที่จะแจกให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงใช้ตรวจโควิดด้วยตนเองนั้น ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งการแจกชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดการระบาดของโรคโควิด-19 แยกผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณจัดหาชุดตรวจ ATK ให้หน่วยบริการแจกจ่ายประชาชนทุกคนทุกสิทธินั้น เป็นการใช้จ่ายจากงบประมาณตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ โดยให้เครือข่าย รพ.ราชวิถี จัดหาชุดตรวจผ่าน องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2561 ที่รับทราบเรื่องการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์การแพทย์ตามโครงการพิเศษที่ให้ รพ.ราชวิถี ซึ่งเป็นตัวแทนหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการจัดซื้อยากับทางองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แทน สปสช.
#8741


วันที่ 12 ส.ค.64 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ติดตามตัวเลขการลงทุนของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ซึ่งเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการพยุงเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนต่อไป โดยเฉพาะของรัฐวิสาหกิจที่จะต้องเป็นหลักในเวลานี้ เนื่องด้วยภาคเอกชนอาจมีการชะลอการลงทุนเหตุจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รายงานว่า ช่วงหกเดือนแรกของปี 2564 เกิดเม็ดเงินจากการลงทุนในธุรกิจพลังงานแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท ผ่านโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานต่าง ๆ ภายใต้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่กำกับดูแลประกอบไปด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัทอื่น ๆ ในเครือ การลงทุนที่สำคัญ อาทิ โครงการสถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งใหม่ จ.ระยอง โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 5 และโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าทั่วประเทศ ทั้งนี้ ตั้งเป้าการลงทุนของธุรกิจพลังงานของทั้งปี 2564 ไว้ที่ 2 แสนล้านบาท

สำหรับการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 43 แห่ง ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) นางสาวรัชดา กล่าวว่า สคร. ได้รายงานการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม ของปีงบประมาณ 2564 ณ สิ้นเดือน มิ.ย. ในภาพรวมเป็นไปตามแผนหรือสูงกว่าแผน โดยสามารถเบิกจ่ายได้ 1.91 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 101 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม โครงการขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของ รฟท. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ของ รฟม.
 
"ท่านนายกฯ ให้ความสำคัญกับการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และเข้าใจดีว่าสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อหลายโครงการ/แผนงาน เนื่องจากบุคลากรไม่สามารถเข้าพื้นที่ที่อยู่ในเขตควบคุมเข้มข้นสูงสุดเพื่อก่อสร้างหรือตรวจรับงานได้ รวมทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงาน จึงได้สั่งการให้ส่วนราชการทุกกระทรวงทำงานร่วมกับรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยผลักดันโครงการลงทุนให้ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจประเทศต่อไป" นางสาวรัชดา กล่าว


ที่มา รัฐบาลไทย
#8742


รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้ (11) ว่าผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรัฐบาลไทย รัชดา ธนาดิเรก กล่าวผ่านแถลงการณ์เมื่อวานนี้ (11) ว่า ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (National Center for Genetic Engineering and Biotechnology) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาวัคซีนโควิด-19 แบบสเปรย์พ่นจมูกนั้นเตรียมที่จะเริ่มต้นการศึกษาวิจัยในคนได้ภายในสิ้นปีหลังจากที่ผลการวิจัยเบื้องต้นกับหนูก่อนหน้าชี้ไปให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพ

โดยในแถลงการณ์ระบุว่า สเปรย์พ่นจมูกต้านโควิด-19 นี้ยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาจากองค์การอาหารและยาเพื่อขออนุญาตต่อไป

โฆษกรัฐบาลชี้ว่า การศึกษาจะรวมไปถึงการใช้เพื่อดูประสิทธิภาพในการปกป้องจากไวรัสสายพันธุ์เดลตา โดยเฟสที่ 2 จะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2022 และเป้าหมายของการผลิตสำหรับการใช้เป็นวงกว้างภายในช่วงกลางปีหน้าได้หากผลการวิจัยสัมฤทธิ

รอยเตอร์รายงานว่า ในเวลานี้นักวิจัยทั่วโลกต่างเริ่มพัฒนาสเปรย์พ่นจมูกเพื่อป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 โดยชี้ไปว่าจมูกถือเป็นช่องทางสำคัญของไวรัส

นอกเหนือจากนี้วัคซีนโควิด-19 เทคโนโลยี mRNA ของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์และวัคซีนเชื้อตายของมหาวิทยาลัยมหิดลกำลังจะเริ่มเฟส 2 ของการศึกษาในคนภายในเดือนสิงหาคมนี้

ที่ผ่านมาไทยนั้นพึ่งพาวัคซีนซิโนแวคและวัคซีนซิโนฟาร์มของจีน วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่มีโรงงานผลิตในประเทศและวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคที่ได้รับการบริจาคจากสหรัฐฯ ใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ซึ่งเป็นด่านหน้า

รัฐมนตรีสาธารณสุขไทยแถลงในวันพุธ (11) ว่า วัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคจำนวน 32.5 ล้านโดสจะส่งมอบมาไทยภายในสิ้นปีนี้ ส่งผลทำให้มีจำนวนการสั่งซื้อทั้งสิ้น 30 ล้านโดส และรวมกับจำนวนที่ได้รับการบริจาคจากรัฐบาลสหรัฐฯ

ไทยแจกจ่ายวัคซีนไปแล้ว 6.8% ของประชากรทั้งหมด 66 ล้านคน