• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Jessicas

#8746


เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดรับลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (มีเลขบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล) ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเสี่ยง (เฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนและไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน เท่านั้น)

สำหรับการเปิดรับลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด "แอสตร้าเซนเนก้า" เนื่องจากทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติม สำหรับผู้ป่วยของโรงพยาบาล ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเสี่ยง และมีประวัติการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (มีเลขบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล) ดังนี้

โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคเบาหวาน
โรคไตเรื้อรัง 
โรคอ้วน
โรคมะเร็งทุกชนิด
โดยจะได้รับฉีดวัคซีนระหว่างวันที่ 16 - 20 สิงหาคม 2564 ณ คลินิกบริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ (รับจำนวนจำกัด)

สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย

เงื่อนไขลงทะเบียน

เป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (มีเลขที่บัตรโรงพยาบาล/HN)
อายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป
ต้องไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน
หลังจากได้ลงทะเบียน เลือกวันและเวลาเรียบร้อยแล้ว จะได้รับการยืนยันการจองฉีดวัคซีน ขอให้ท่านบันทึกหน้าจอไว้เป็นหลักฐาน โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียนได้ผ่านทาง Chula Care Application ภายใน 3 วัน หลังจากที่ท่านลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

'ขั้นตอนการลงทะเบียนฉีดวัคซีน

สแกนคิวอาร์โค้ด เข้าเว็บไซต์ www.chulaprom.kcmh.or.th เพื่อลงทะเบียนและเลือกวันเวลาเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19
เปิดลงทะเบียนวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เวลา 15.00 น. (ทางโรงพยาบาลจะปิดลงทะเบียนเมื่อมีผู้จองฉีดวัคซีนครบตามจำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร)
ผู้ที่ผ่ามการลงทะเบียน สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน ที่คลินิกบริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในระหว่างวันที่ 16-20 สิงหาคม 2564 (ตามวันเวลาที่ลงทะเบียนไว้ เท่านั้น)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขอสงวนสิทธิ์งดให้บริการสำหรับผู้ที่วอล์กอิน หรือไม่ได้ลงทะเบียนนัดหมายผ่านะบบฯ

คำแนะนำการรับบริการฉีดวัคซีนที่คลินิกบริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์

กรุณามารับบริการฉีดวัคซีนตามวันและเวลาที่นัดหมายเท่านั้น เพื่อกระจายความหนาแน่นของประชาชนผู้มารับบริการ
ในวันที่มารับบริการ เตรียมบัตรประชาชน ปากกา โทรศัพท์มือถือเครื่องที่ลงทะเบียนหมอพร้อม (หากมี) และสวมเสื้อที่สามารถฉีดวัคซีนได้ง่าย
ก่อนมารับบริการฉีดวัคซีน สามารถรับประทานอาหารและยาสำหรับโรคประจำตัวได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องหยุดยาก่อนรับวัคซีน
หากท่านอยู่ระหว่างการกักตัว รอผลการตรวจเชื้อโรคโควิด-19 หรือมีอาการทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ เสมหะ หรือ น้ำมูก ในวันนัดฉีดวัคซีน ขอให้ท่านงดการมารับฉีดวัคซีน
#8747


ถึงไทยแล้ว "VIRASPEC" ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเองชนิดตรวจจากน้ำลาย ใช้ง่ายกับทุกเพศทุกวัย SARS-CoV-2 Antigen Rapid Test Cassette (Saliva) นำเข้าจากสวีเดน คุณภาพระดับมาตรฐานยุโรป พร้อมกระจายผ่าน Morhello (หมอฮัลโหล) แพลตฟอร์มเพื่อสุขภาพและการแพทย์ ทั่วประเทศ

ศิริญา เทพเจริญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท ณุศาศิริ (มหาชน) กล่าวว่า "บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) บริษัทชั้นแนวหน้าในวงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดตัวบริษัท JP WORLD MEDICAL เพื่อรองรับธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางด้านดูแลสุขภาพและการแพทย์ โดยขณะนี้ได้รับความไว้วางใจจากบริษัท Thyrolytics AB จากประเทศสวีเดน ให้เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายชุด Antigen rapid test kit ชนิดตรวจหาเชื้อจากน้ำลาย ชื่อ "VIRASPEC" SARS-CoV-2 Antigen Rapid Test Cassette (Saliva) ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองคุณภาพระดับมาตรฐานยุโรป โดยบริษัท JP WORLD MEDICAL ยังได้รับความไว้วางใจจากบริษัท Thyrolytics AB ประเทศสวีเดน ให้เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายถึง 16 ประเทศในแถบอาเซียน ได้แก่ ไทย เวียดนาม พม่า ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว พม่า มาเลเซีย กัมพูชา ออสเตรเลีย อินเดีย บังกลาเทศ ญี่ปุ่น ปากีสถาน และศรีลังกา



โดยได้รับการเปิดเผยจากบริษัทเจพีฯ ว่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเองแบบโฮมยูส "VIRASPEC" ชนิดตรวจหาเชื้อจากน้ำลาย SARS-CoV-2 Antigen Rapid Test Cassette (Saliva) ล็อตแรกจำนวน 1,000,000 ชุด ได้รับการจัดส่งถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว พร้อมเร่งกระจายแก่ประชาชนไทยทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเองได้อย่างรวดเร็ว หวังช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศลงได้ ซึ่งชุดตรวจแบบโฮมยูสนี้จะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าสู่กระบวนการแยกกักตัวตนเองจากครอบครัว และผู้ใกล้ชิดได้อย่างทันท่วงที ก่อนเข้ารับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ต่อไป

ศิริญากล่าวว่า ขณะนี้บริษัทณุศาศิริฯ เริ่มจากการเปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อสุขภาพและการแพทย์ ชื่อ "MORHELLO" ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่จะเป็นศูนย์กลางในเรื่องสุขภาพและการแพทย์แบบครบวงจร ที่คุณจะสามารถเข้าถึงแพทย์ง่ายๆ ทางออนไลน์ เรายังเปิดบริษัท JP WORLD MEDICAL เพื่อรองรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ โดยเราเปิดทั้งสองสิ่งนี้จุดประสงค์คือ เพื่อจะได้ร่วมดูแลสุขภาพคนไทยแบบครบวงจร



ขณะนี้บริษัท JP ของเราได้รับการอนุมัติการขึ้นทะเบียน Rapid Antigen Test (ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเองแบบโฮมยูส (Home Use) ชนิดตรวจหาเชื้อจากน้ำลาย จาก อย.ไทยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งชุด Rapid Antigen Test kit ชนิดตรวจหาเชื้อจากน้ำลายของ "VIRASPEC" นี้ เราได้นำเข้าจากประเทศสวีเดน เป็นชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานยุโรป มีข้อดีคือ สามารถใช้ได้ง่าย รวดเร็ว เหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับเด็กซึ่งจะมีปัญหาในการตรวจหาเชื้อทางโพรงจมูก และยังมีความแม่นยำสูงมาก

โดยขณะนี้เราได้วางแผนการนำเข้าชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเองเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล็อตแรกที่จัดส่งถึงประเทศไทยแล้ววันนี้มีจำนวน 1,000,000 ชุด และล็อตที่สอง ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม อีก 500,000 ชุด โดยจัดจำหน่ายในราคาปลีกชิ้นละ 390 บาท (1 กล่อง / 1 ชิ้น) สำหรับให้แต่ละครอบครัวสามารถใช้ตรวจกันเองได้ ซึ่งเราจะเริ่มจัดจำหน่ายในประเทศภายในเดือนสิงหาคมนี้ ผ่านแพลตฟอร์ม Morhello ของเรา และโรงพยาบาลพานาซี

หากผู้สนใจอยากได้ชุดตรวจโควิดด้วยตนเองชนิดตรวจหาเชื้อจากน้ำลายของ "VIRASPEC" สามารถสั่งซื้อเข้ามาได้ที่ https://morhello.com/home และ line : @PanaceeHospital เราจะส่งชุดตรวจนี้ไปถึงบ้านของท่านโดยไม่ต้องออกมาเสี่ยงการติดเชื้อนอกบ้าน ทั้งนี้ แนะนำให้ผู้ใช้งานศึกษารายละเอียดการใช้งานผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด ซึ่งที่กล่องชุดตรวจโควิด-19 แบบโฮมยูส จะมีฉลากภาษาไทยติดกำกับพร้อม QR Code สำหรับชมวิธีการใช้อย่างชัดเจน"
#8748


ขึ้นแท่นพระเอกเต็มตัวเรื่องแรกทั้งที หนุ่ม  "ริว-วชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาล" เลยถูกผู้จัด-ผู้กำกับ "โดนัท มนัสนันท์" จับเข้าห้องอัด โชว์ความสามารถร้องเพลงประกอบละคร "พฤษภา-ธันวา รักแท้แค่เกิดก่อน" ทาง ช่อง 3 ในเพลง "Summer Rain" คำร้อง โดย หนึ่ง-ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ ทำนอง และเรียบเรียง โดย ปรเมศวร์ เหมือนสนิท ทำเอาเจ้าตัวแอบเครียด แต่พอได้รู้ถึงที่มา บอกเลยว่าละเอียด ละมุน อบอุ่นหัวใจ



"เพลงนี้ต้องยกให้ในความละเอียด และใส่ใจทุกชิ้นงานของพี่โดนัทจริงๆ และขอบคุณที่ให้โอกาสผมได้มาร้องเพลงประกอบละครครั้งแรกในชีวิต ก็มีความกดดัน แอบเครียดครับ ซึ่งเพลงนี้พี่โดนัท รีเควสขอกับพี่หนึ่งว่า อยากได้เนื้อเพลง ดนตรี ที่มีกลิ่นไอช่วงยุค 90 และเปรียบเรื่องราวของเนื้อหาเพลง ถึงคำที่คนสูงวัยชอบพูดถึงฝนฤดูร้อนว่า 'ฝนชะยอดมะม่วง' ซึ่งเปรียบความรักเหมือนหน้าร้อน และฝนที่กำลังจะมา ช่วยเติมหัวใจที่แห้งแล้ง ให้ชุ่มฉ่ำ 

ก็เหมือนกับ ซิสอร (แยม) ที่โดนคนรักเก่าทิ้ง จนหัวใจพัง ห่อเหี่ยว แต่พอมาเจอกับผม ที่รับบท ตั้ม เด็กหนุ่มสดใส ที่มาพร้อมกับความหวังดี ความจริงใจ ก็คล้ายกับฝนมาทำให้หัวใจกลับมาเป็นสีชมพูอีกครั้ง หลังจากที่ผมรู้ที่มาที่ไป อารมณ์ ความรู้สึกทุกอย่างออกมาเองอัตโนมัติ ก็หวังว่าทุกคนจะชอบ สามารถตามฟังได้ที่ JOOX แล้วครับ ส่วนละครก็เตรียมจะออกอากาศทุกวันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 20.30 น.ทางช่อง 3 กด 33 เริ่มตอนแรก พฤหัสบดีที่ 2 กันยายน นี้ ครับ"
#8752


ภาคอีสาน-ACE รวมพลังคณะผู้บริหารและพนักงานจิตอาสาในกลุ่มสู้โควิด-19 เดินหน้าผลิตเตียงสนามจากไฟเบอร์บอร์ด จำนวนรวมกว่า 2,000 เตียง ส่งมอบแก่หน่วยงานภาครัฐ โรงพยาบาล และชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ โดยทยอยส่งมอบล็อตแรกทั่วโคราชรวม 300 เตียง



นางสาวจิรฐา ทรงเมตตา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE ผู้นำด้านพลังงานสะอาดของไทย เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นจนส่งผลให้โรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศประสบปัญหาขาดแคลนเตียงรองรับผู้ป่วย บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงผนึกกำลังคณะผู้บริหารและพนักงานจิตอาสาในกลุ่ม ACE ร่วมกันผลิตเตียงสนามจากแผ่นไม้ไฟเบอร์บอร์ด จำนวนรวมกว่า 2,000 เตียง สำหรับส่งมอบแก่หน่วยงานภาครัฐ โรงพยาบาล รวมถึงชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ



สำหรับแผ่นไม้ไฟเบอร์บอร์ดที่ ACE นำมาผลิตเตียงสนามสามารถรองรับน้ำหนักได้มากถึง 200 กิโลกรัม โดยทำมาจากต้นยูคาลิปตัสที่บริษัทในเครือส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อสร้างรายได้เสริม ลดการตัดไม้จากป่าธรรมชาติอันเป็นสาเหตุให้เกิดสภาวะโลกร้อน



นางสาวจิรฐากล่าวต่อว่า ปัจจุบัน ACE เริ่มทยอยส่งมอบเตียงสนามแล้ว โดยล็อตแรกจำนวน 300 เตียงถูกส่งมอบแก่หลายหน่วยงานในจังหวัดนครราชสีมา เช่น เทศบาลตำบลโชคชัย จำนวน 20 เตียง อำเภอโชคชัย จำนวน 50 เตียง ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา จำนวน 50 เตียง โรงพยาบาลจักราช จำนวน 10 เตียง ศูนย์พักคอย อบต.โชคชัย จำนวน 44 เตียง อบต.พลับพลา 17 เตียง ฯลฯ และอยู่ระหว่างเร่งผลิตเพื่อกระจายส่งมอบทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง



นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ACE ยังได้บริจาคขวดเจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัยให้แก่ชุมชน รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องสแกนวัดอุณหภูมิ เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพอัตโนมัติแก่โรงพยาบาลและสถานพยาบาลในบริเวณรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดของ ACE ใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ และยังคงมุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือเคียงคู่คนไทยสู้โควิด-19 จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลาย
#8753


7 วัน ตั้งแต่วันที่ 4-10 ส.ค. 2564 เป็นรอบ 3 ที่ทาง 'ทีมแพทย์ชนบท' ได้บุกกรุง ลงพื้นที่ชุมชนแออัดกทม. และปริมณฑล เพื่อทำการตรวจค้นหาเชิงรุก 'ผู้ติดเชื้อ'โควิด-19

โดยครั้งนี้มีทีมแพทย์ชนบทกว่า 400 คน แบ่งเป็น 40 ทีม กระจายทุกพื้นที่ชุมชนแออัด ซึ่งแต่ละวันจะลงตรวจประมาณ 25-30 จุดในพื้นที่กทม.และปริมณฑล เฉลี่ยจุดละ  1,000 กว่าคน  ต่อวัน จะเท่ากับวันละ25,000-30,000 ราย

พบ 'ผู้ติดเชื้อโควิด-19' ในทุกพื้นที่ชุมชนกทม.และปริมณฑล
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เล่าว่าการลงพื้นที่ของทีมแพทย์ชนบทรอบที่ 3 นี้  ไม่ได้จำกัดเฉพาะในพื้นที่ชุมชนแออัดกทม.เหมือนที่ผ่านมา แต่ออกปฎิบัติไปยังอำเภอต่างๆ ในปริมณฑลด้วย  ทำให้เห็นสภาพปัญหาที่ประชาชนได้พบเจอ


อย่าง วันพฤหัสบดีที่ 5 ส.ค.2564 ทีมตนและทีมจะนะ ได้ออกไปในอำเภอสามพราน จ.นครปฐม พบว่า มีผู้สูงอายุหลายท่านที่ดูแข็งแรงพอสมควร แต่เมื่อตรวจผล Rapid test กลับเป็นผลบวก และเมื่อตรวจซ้ำด้วย RT-PCT ผลเป็นบวกเช่นกัน  จึงได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ และพูดคุยกับญาติ ซึ่งสภาพบ้านผู้สูงอายุ เป็นห้องหลังเล็กๆที่อยู่ร่วมกัน 5-6 คน มีทั้งเด็กและเด็กน้อยที่ติดโควิด-19 ส่วนกลุ่มหนุ่มสาววัยทำงานยังผลเป็นลบและคนเหล่านี้ ยังคงออกไปทำงานข้างนอกทุกวัน

"ปัจจุบันสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นต้องบอกว่าหนักกว่าทุกครั้งที่ลงพื้นที่ตรวจค้นหาเชิงรุก เพราะการลงพื้นที่ชุมชนแออัด โดยเฉพาะในกทม. ลงไปที่ไหนก็พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก จนบางชุมชนกลายเป็นเกิดภูมิคุ้มหมู่จากการติดโควิด-19 ไม่ใช่จากการฉีดวัคซีน" นพ.สุภัทร กล่าว


อีกทั้ง ในชุมชนประมาณ 25-30% จะพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ยิ่งไปเห็นสภาพครอบครัว ที่ห้องหนึ่งอยู่กันหลายคน ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าทำไมมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป ความหวังที่ยอดผู้ป่วยลดลงคงไม่เกิดขึ้น


สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย


เมืองกรุงบริหารจัดการขั้นล้มเหลว นายกฯก็ไม่สามารถแก้ได้ 
นพ.สุภัทร เล่าต่อว่า เมื่อก่อนเวลาตรวจพบ ผู้ป่วยโควิด-19 จะให้ ยาฟาวิพาราเวียร์ และต้องตอบคำถามผู้ป่วยว่าพวกเขาจะต้องทำยังไงต่อ  จะดูแลตัวเองอย่างไร ถ้าเข้า Home Isolation ใครจะดูแลเขา สภาพบ้านครอบครัวก็ไม่เหมาะสมไม่รู้จะไปรักษาที่ไหน

ทว่า ตอนนี้คำถามเหล่านั้นไม่ค่อยมี หลายคนรู้สภาพปัญหาของประเทศ ว่าไม่มีเตียงรองรับ ไม่มีรพ.ให้เข้า รู้ว่าต้องปฎิบัติตัวอย่างไร จะกักตัวเองอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาทำไม่ได้ คือ การเข้าถึงยา เข้าถึงการรักษาอย่างทันถ่วงที เพราะต่อให้โทรไปหาหน่วยงานรัฐ ก็ต้องรอระบบอยู่ดี


"ภาพรวมโควิด-19 รอบนี้ จะหนักในพื้นที่กทม.และปริมณฑล ซึ่งในต่างจังหวัด หลายจังหวัด ได้ดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ได้ดี ผิดกับในกทม.และปริมณฑล โดยเฉพาะกทม. การบริหารจัดการเข้าขั้นล้มเหลว ต่อให้ตอนนี้นายกรัฐมนตรี มานั่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์แก้โควิด-19 เฉพาะกิจในกทม.และปริมณฑล ก็ยังไม่สามารถแก้ได้" นพ.สุภัทร กล่าว

กทม.เป็นเอกเทศ ติดขั้นตอนติดระบบ กว่าจะช่วยผู้ป่วยตายก่อน
กทม.เป็นเอกเทศ ทุกคนติดขั้นตอน ติดระบบไปหมด ต่างคนต่างทำงาน ไม่มีการทำงานร่วมกัน ทำให้มีช่องว่างในการทำงานระหว่างกทม.กับหน่วยงานอื่นๆ กว่าจะตรวจคัดกรองเชิงรุก กว่าจะลงพื้นที่จ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย กว่าผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาก็ไม่ทันการกลายเป็นทั้งชุมชนแออัดเต็มไปด้วยผู้ป่วยโควิด-19


หลายชุมชนมีคนนอนตายนอกบ้าน เพราะไม่อยากทำให้คนในครอบครัวติดเชื้อ และบางชุมชนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่แบบที่รัฐบาลอยากให้เป็นแต่ไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีน เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเราไม่อยากให้เป็นแบบนั้น

ปัญหาของหลายชุมชนที่พบเจอตอนนี้ ไม่ใช่เป็นปัญหาของประชาชนที่ไม่รู้ว่าจะดูแลตัวเองอย่างไร แต่สิ่งที่พวกเขาประสบพบเจอ คือ สภาพครอบครัว สภาพบ้านที่ไม่เอื้ออำนวยให้ทำตามมาตรการรัฐ  Home Isolation จึง ไม่สามารถเกิดขึ้นได้   หรือเป็นทางเลือกที่ประชาชนไม่ได้เลือก

แนะจัดหาวัคซีน 15ล้านโดสต่อเดือนโควิดรอบนี้ ไทยถึงจะรอด
นพ.สุภัทร กล่าวต่อไปว่าอยากแนะนำให้ทางกทม.เพิ่มรพ.สนาม เพิ่ม Community Isolation เพราะถ้าทุกคนทำ Home Isolation  กักตัวที่บ้านก็จะติดเชื้อกันหมด และควรมีการเพิ่มจุดตรวจคัดกรองให้ทุกจุด ทุกเขต เมื่อพบผู้ติดเชื้อ ทุกคนต้องได้รับยาทันที

โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตรวจพบว่าติดโควิด-19 หรือมีการสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ควรให้ยาฟาวิพิราเวียร์ทันที ไม่ใช่รอให้ติดเชื้อก่อนแล้วมาให้ เวลานั้นอาจไม่ทันการแล้วพอเจอก็กลายเป็นเสียชีวิตไปแล้ว

 

"ตอนนี้วิธีเดียวที่จะทำให้คนไทย โดยเฉพาะคนกรุงรอด รัฐบาลควรจะจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้ได้เดือนละ 15 ล้านโดส ไม่ใช่ขณะนี้ที่ไม่รู้ว่าวัคซีนมีเท่าใด วัคซีนไปอยู่ที่ไหนหมด เดือนหนึ่งวัคซีนเข้าไม่ถึง 5 ล้านโดส ถ้าเป็นอย่างนี้ไม่เกิน 2 เดือน จะพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 อีกมาก อาจมีคนตายนับหมื่นราย ดังนั้น ควรมีแผนการจัดหา จัดสรรวัคซีนที่ชัดเจนให้ประชาชนได้รับรู้  เพราะหน้าที่ของรัฐบาลในขณะนี้ คือการจัดหาวัคซีนให้ประชาชนและควรจะหาให้ได้" นพ.สุภัทร กล่าว

'ล็อกดาวน์' ไม่ได้ผล เกิดภูมิคุ้มกันหมู่จากการติดเชื้อไม่ใช่วัคซีน
ล็อกดาวน์ ห้ามทุกคนออกนอกบ้าน ห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านอาหาร ให้ work from home 100% ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด และขอความร่วมมือจากประชาชนอย่างเต็มที่ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวอีกว่ามาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลออกมานั่น


ไม่ว่าจะ ล็อกดาวน์ มาตรการ Home Isolation Community Isolation ตรวจคัดกรอง หรือออกพ.ร.ก.อะไรมาก็ตาม  อาจจะช่วยได้แต่เป็นเสมือนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่า เพราะโควิด-19 เป็นโรคระบาดการหยุดโรคระบาดต้องสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ นั่นคือ ทุกคนต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 การล็อกดาวน์ในวงกว้างตอนนี้เหมือนขี้ช้างจับตั๊กแตก ยอดผู้ป่วยไม่ลด แต่ความเสียหายกระจายเป็นกว้างมาก

"การล็อกดาวน์ ทำได้แต่ควรเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย เช่น ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองเชิงรุกชุมชนลาดพร้าว พบผู้ติดเชื้อ 15-20% ก็ล็อกดาวน์เฉพาะในชุมชนนั้น แต่การล็อกดาวน์ไม่ใช่การจำกัดการเข้าออก แต่ขอให้ทุกคนตรวจโควิด-19 คนไหนที่ไม่ติดเชื้อให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้ได้รับการดูแล และต้องมีการเยียวยา ชดเชย รายได้ให้แก่พวกเขา  ขณะเดียวกันเมื่อมีการเข้าออกชุมชนต้องมีสแกนชุมชน และจัดตั้งแยกกันตัวในชุมชน" นพ.สุภัทร กล่าว


แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ของไทยมีศักยภาพในการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประชาชนวันละ 5 แสนคน แต่ตอนนี้ไม่มีวัคซีนให้ฉีด อีก 2 เดือนหากคนไทย คนกรุงเทพฯ ไม่ได้ฉีดวัคซีนคาดว่าจะเกิด ภูมิคุ้มกันหมู่ ในชุมชนแออัดจากกทม. แต่เป็นภูมิคุ้มกันหมู่ที่มาจากการติดเชื้อจำนวนมากๆ
#8754


โฆษกรัฐบาล เผย ครม.ปรับโครงการเยียวยา ม.33 เพิ่มกรอบวงเงินจำนวนทั้งสิ้น 17,050 ล้านบาท ครอบคลุม 29 จังหวัดแดงเข้ม อนุมัติวงเงิน 33,471 ล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม

วันนี้ (10 ส.ค.) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม ปรับปรุงรายละเอียดสาระสำคัญของโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้

(1) เปลี่ยนชื่อโครงการ เป็น โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จากเดิม โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง

(2) ขยายพื้นที่ดำเนินการจาก 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด โดยเพิ่มเติม 16 จังหวัด (กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง)

(3) กรอบวงเงินโครงการ จากเดิม 15,027.6860 ล้านบาท เป็น 17,050.4145 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2,022.7285 ล้านบาท
(4) ขยายระยะเวลาให้นายจ้างในพื้นที่ 3 จังหวัด (ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 28) และ 16 จังหวัด (ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 30) สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมรายใหม่ได้ โดยสำนักงานประกันสังคมจะตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2564 นี้

นายอนุชา ยังเปิดเผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้เห็นชอบกรอบวงเงิน 33,471.0050 ล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐตามข้อกำหนดฯ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยช่วยเหลือค่าครองชีพคนละ 5,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,694,201 คน โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

1. พื้นที่ดำเนินการ 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี

2. กลุ่มเป้าหมายรวมประมาณ 6,694,201 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จำนวน 1,436,171 คน และมาตรา 40 จำนวน 5,258,030 คน

3. คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่มีสัญชาติไทย สถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด) หรือ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด) กรณีเป็นผู้สมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะรอชำระเงิน W (Wait) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องไม่เป็นข้าราชการหรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง

4. วิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 จะโอนเงินให้กับผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) เฉพาะที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชน

โฆษกรัฐบาลยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ครม.ยังให้กระทรวงแรงงาน เร่งตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน รวมทั้งขอให้โอนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนตาม ม.39 และ ม.40 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 10 จังหวัด ก่อนระยะเวลาที่กำหนด ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงและได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ ก่อนพื้นที่อื่นๆ อีกทั้งกำหนดให้ผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เพิ่มเติมในพื้นที่ 10 จังหวัด ต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนและจ่ายเงินสมทบงวดแรกภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 และในพื้นที่ 19 จังหวัดต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนและจ่ายเงินสมทบงวดแรกภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564

นอกจากนี้ ได้ให้กระทรวงแรงงานจัดทำข้อเสนอขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายที่รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในพื้นที่ 13 จังหวัดเพิ่มเติม อีกจำนวน 1 เดือน ซึ่งจะช่วยให้การให้ความช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกันตนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
#8757


แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม "ไมซ์" (MICE : การจัดประชุม ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สัมมนา และแสดงสินค้า) ในปัจจุบัน แต่สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ "ทีเส็บ" ยังคงเดินหน้าผลักดันโครงการ "MICE Winnovation" ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการไมซ์นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ ยกระดับการจัดงานไมซ์ในภาวะวิกฤติ

จารุวรรณ สุวรรณศาสน์ ผู้อำนวยการฝ่าย MICE Intelligence และนวัตกรรม ทีเส็บ กล่าวว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยีได้กลายเป็นเครื่องมือจำเป็นที่ช่วยผู้ประกอบการไมซ์ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น! เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และได้คิดค้นเทคโนโลยีรองรับงานไมซ์ในยุควิถีปกติใหม่แล้ว ยังช่วยขยายการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกอีกด้วย

"ประเทศไทยมีแหล่งจัดงานไมซ์หรือศูนย์แสดงสินค้าอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสร้าง S-Curve ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมไมซ์ด้วย ซึ่งสอดรับกับการจัดงานอีเวนท์ในช่วงที่โควิด-19 ยังระบาด เทรนด์การจัดงานในปีนี้จะเป็นแบบเสมือนจริงหรือไฮบริด (Virtual and Hybrid Event) มากขึ้น ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย การปฏิบัติการเพื่อลดการสัมผัส การบริหารจัดการฝูงชนผู้เข้าร่วมงานเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม และหันมาจัดงานนอกสถานที่ (Outdoor Activities) มากขึ้น"

โดยในช่วงที่ผ่านมาทีเส็บได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น "BizConnect" สำหรับการจัดงานอีเวนท์และงานแสดงสินค้าเพื่อตอบโจทย์งานไมซ์ในยุคดิจิทัล รวบรวมงานไมซ์ 78 งาน มีผู้ใช้งาน 24,571 ราย และสร้างการรับรู้กว่า 48,300 ราย นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม "Thai MICE Connect.com" มาร์เก็ตเพลสธุรกิจไมซ์เชื่อมโยงผู้ซื้อผู้ขายทั้งในตลาดไทยและตลาดโลก โดยจากการรวบรวมข้อมูลล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2563-14 พ.ค.2564 ซึ่งโควิด-19 ยังระบาด พบว่ามีธุรกิจไมซ์กว่า 10,201 ราย มีผู้เข้าชมแพลตฟอร์ม 603,656 ราย, เกิดปฏิสัมพันธ์ (Engagements) 112,930 ครั้ง และมีผู้ใช้งานใหม่ 129,851 ราย

"เมื่อมีการนำแพลตฟอร์มมาใช้เพื่อตอบโจทย์การเจรจาธุรกิจแบบ B2B ยังสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์พฤติกรรมและความสนใจของผู้เข้าร่วมงานไมซ์ทั้งก่อน-ระหว่าง-หลังเข้าชมงานได้ โดยเฉพาะระหว่างเข้าชมงานแสดงสินค้าว่าผู้เข้าร่วมงานสนใจดูข้อมูลสินค้าตัวไหนแบบซ้ำๆ บนแพลตฟอร์ม เพื่อนำไปสู่การปิดดีลซื้อสินค้าให้ได้ภายใน 3-6 เดือนหลังการจัดงาน เมื่อขายของได้ คนขายก็กลับมาใช้งานแพลตฟอร์มมากขึ้น นับเป็นการสร้างประสบการณ์มากกว่าการจับคู่เจรจาธุรกิจทั่วไป"

จารุวรรณ เล่าเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการ "MICE Winnovation" เป็นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สนับสนุนให้การจัดงานไมซ์เดินหน้าต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และเตรียมความพร้อมรองรับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต!

ผลการดำเนินโครงการฯระหว่างเดือน มี.ค.-ก.ค.ที่ผ่านมา มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไมซ์และผู้ให้บริการนวัตกรรมด้านไมซ์มากถึง 152 คู่ นำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆ รองรับการจัดงานไมซ์ร่วมกัน มีการจับคู่ขอรับการสนับสนุนจากทีเส็บจำนวน 35 งาน โดยมีงานที่ผ่านการพิจารณาได้รับการสนับสนุนแล้วทั้งสิ้น 18 งาน แบ่งเป็นการสนับสนุนเทคโนโลยีการจัดงานแบบเสมือนจริงหรือไฮบริด จำนวน 15 งาน และเป็นการสนับสนุนเทคโนโลยีบริหารจัดการผู้เข้าร่วมงาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ จำนวน 3 งาน

ปัจจุบันมีงานที่จัดไปแล้ว 2 งาน คือ งานประชุมใหญ่ "ไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย" ครั้งที่ 55 ระหว่างวันที่ 7-9 พ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานออนไลน์จากทั่วประเทศ 2,318 คน และงาน "Bangkok Projection Mapping Competition 2021" (BPMC 2021) ซึ่งเป็นงานประกวดออกแบบสื่อภาพเคลื่อนไหว ระหว่างวันที่ 12-20 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ชมงานผ่านไลฟ์สตรีมมิ่งบนเฟซบุ๊กร่วม 20,000 ราย ส่วนงานที่เหลือมีกำหนดทยอยจัดในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค.2564

"ผลตอบรับโครงการนี้ถือว่าดีมาก เป็นไปตามที่ทีเส็บต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไมซ์นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้จัดงานได้จริง ตอบโจทย์การแก้ปัญหาได้ตรงใจ และเกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความสามารถในการดำเนินงานให้กับผู้ประกอบการไมซ์แล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจแก่กลุ่มผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของไทย ทั้งยังเป็นการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยเสริมสร้างศักยภาพยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ไทยในระดับนานาชาติอีกด้วย"

ขณะเดียวกันโครงการ MICE Winnovation ยังได้มีการพัฒนา "MICE Innovation Catalog" ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลผู้ให้บริการนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมไมซ์ และเป็นพื้นที่ทางการตลาดให้ผู้ประกอบการไมซ์เฟ้นหาคู่ค้า มีการจัดแบ่งหมวดหมู่นวัตกรรมไมซ์ครอบคลุมตั้งแต่ก่อนเริ่มงานจนจบงาน ซึ่งทีเส็บและพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและสมาคมในอุตสาหกรรมไมซ์ได้ร่วมพิจารณาคัดเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมนำมาบรรจุไว้ใน MICE Innovation Catalog เป็นประจำทุกเดือน เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้ผู้ประกอบการไมซ์สามารถเลือกใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันบนแพลตฟอร์มมีนวัตกรรมด้านไมซ์ที่พร้อมให้บริการกว่า 70 นวัตกรรม จาก 50 บริษัท
#8758


หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ประธานกรรมการ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT)เป็นประธานใน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจเพื่อส่งเสริมการใช้และให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ที่จัดขึ้นในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony)  โดยมี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  นายนพดล ปิ่นสุภา  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและดิจิทัล บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  นาวาอากาศเอก สมศักดิ์  ขาวสุวรรณ์  กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และ นางสาวจันทนา เตชะศิรินุกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี  บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามเพื่อวางกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้าร่วมกัน รวมถึงต่อยอดเทคโนโลยีการสื่อสารและดิจิทัลสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์การให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ  ส่งเสริมและสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รูปแบบการใช้พลังงานในปัจจุบัน มุ่งไปด้านพลังงานไฟฟ้าและพลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น ปตท. จึงพัฒนาและปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ทิศทางพลังงานในอนาคต อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศ  ซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ได้วางแผนลงทุนด้านยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ทั้งระบบกักเก็บพลังงาน แบตเตอรี่ โครงสร้างพื้นฐาน และแพลตฟอร์ม โดยจับมือพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ในการพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า และรองรับกลุ่มผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งนอกจากจะเป็นการตอบสนองนโยบายและทิศทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ที่มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย ยังเป็นการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดที่จะช่วยประเทศไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอีกด้วย

"สำหรับความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้  ปตท. นำเอาความแข็งแกร่งด้านธุรกิจพลังงาน ตลอดจนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผนวกเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจการสื่อสารและดิจิทัลของโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า ในรูปแบบที่มีจุดแข็งและมีความโดดเด่น ตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม ด้วยทางเลือกของบริการที่หลากหลาย   อันจะนำไปสู่การสร้างอนาคตแห่งการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สนับสนุนได้ทั้งความมั่นคงทางพลังงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน"

นาวาอากาศเอก สมศักดิ์  ขาวสุวรรณ์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ด้วยความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจเพื่อส่งเสริมการใช้และให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า ของทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกันศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ มีการทดสอบตลาดและศึกษาความต้องการของลูกค้า การออกแบบทางธุรกิจ การศึกษาความคุ้มทุนในการลงทุน การพัฒนาด้าน IoT และ Application ต่าง ๆ ระบบการให้บริการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นการติดตาม การจัดเก็บข้อมูล การชำระค่าบริการ และเพื่อสร้างความร่วมมือด้านธุรกิจร่วมกันต่อไป ซึ่ง NT  มีโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านสื่อสาร เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการนำเทคโนโลยี 5G ที่ NT มีคลื่นความถี่ที่พร้อมตอบสนองความต้องการใช้ในทุกรูปแบบมาประยุกต์ใช้ด้วย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนรูปแบบการดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ ของ ปตท. และ NT ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่  โอกาสในการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของ NT ในธุรกิจสื่อสารและดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนารูปแบบการใช้บริการยานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นด้าน Charger และด้านการบริหารจัดการระบบรถส่วนกลาง (Fleet Management) ซึ่งระบบบริหารจัดการของยานพาหนะในธุรกิจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสร้างจุดแข็งทางธุรกิจที่ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงาน ทั้งด้านการบริหารจัดการและด้านความปลอดภัย เชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การต่อยอดในการสร้างความแข็งแกร่งและความมั่นคงด้านการสื่อสารและดิจิทัลและอุตสาหกรรมด้านยานยนต์ในอนาคตให้กับทั้งสององค์กรร่วมกันและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน และประเทศชาติเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจด้านพลังงาน และเทคโนโลยีดิจิทัลต่อไป