• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

New China Insights: ความเหลื่อมล้ำในกลุ่มคนยุคใหม่จีนเป็นอย่างไร?

Started by Ailie662, August 28, 2021, 07:09:20 PM

Previous topic - Next topic

Ailie662



ร่มฉัตร จันทรานุกูล มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ กรุงปักกิ่ง (UIBE)

ผู้เขียนเชื่อว่าคนในแต่ละยุคสมัยที่ต่างกัน ก็มีความยากง่ายในการดำรงชีวิตที่ต่างกันเช่นกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับยุคสมัยที่เกิด การพัฒนาและโอกาสที่มีอยู่ให้ไขว่คว้า ผู้เขียนมองว่าไม่มีที่ใดในโลกไม่มีความเหลื่อมล้ำ แม้แต่ประเทศสังคมนิยมที่เน้นความเท่าเทียมแต่กระนั้นก็มีความเหลื่อมล้ำในสังคมที่เราเห็นกันได้ทั่วไปอยู่ จีนเป็นหนึ่งประเทศสังคมนิยมที่เดินในแนวทางการพัฒนาแบบการผสมผสาน คือในด้านของเศรษฐกิจเลือกที่จะเปิดประเทศ สนับสนุนการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ ในหลายด้านเปิดรับการแลกเปลี่ยนและการร่วมมือกับต่างประเทศ ทำให้ 40 กว่าปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนมีการพึ่งพาต่างประเทศเป็นอย่างมาก คนจีนที่มีศักยภาพทางการเงินหรือมีความสามารสอบชิงทุนก็เลือกไปศึกษาต่อในประเทศพัฒนาแล้วมากขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีหลายอย่างที่จีนมีอยู่ก็คือการต่อยอดนวัตกรรม จีนยอมให้คนรุ่นแรกหรือคนจำนวนหนึ่งรวยขึ้นมาก่อนเพื่อที่จะสร้างความรวยต่อและหยิบยื่นโอกาสให้กับคนรุ่นหลังๆ

แน่นอนว่าการเปิดเศรษฐกิจและกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆดำเนินไปตามกลไกตลาดเป็นสิ่งดีตรงที่ให้กิจการและธุรกิจต่างๆเติบโตตามวัฎจักรได้อย่างแข็งแกร่งและแน่นอนว่ากิจการที่ไม่แข็งแรงพอก็จะถูกเบียดตกขบวนไป ผู้เขียนเชื่อว่าหลายท่านก็มีความเชื่อว่า "การแข่งขันนำมาซึ่งการยกระดับศักยภาพ" สำหรับจีนแล้วการปล่อยการพัฒนาของภาคธุรกิจมาถึงจุดหนึ่งก็พบกับความเสี่ยงที่ตามมาคือการเติบโตขึ้นอย่างสุดโต่งของธุรกิจบางประเภท ทำให้กลุ่มคนที่ผงาดขึ้นมาจากด้านธุรกิจมีพลังเงินมหาศาล มีอำนาจชี้นำและผูกขาด จนสามารถควบคุมเศรษฐกิจและทิศทางระดับประเทศได้ จากการเติบโตอย่างไร้ทิศทางนี้ทำให้จีนเริ่มเข้ามาจัดการกับการผูกขาดธุรกิจ จนกระทั่งมีการประกาศนโยบายสร้างแนวทางร่ำรวยไปด้วยกันหรือที่ภาษาจีนเรียกว่า"共同富裕" อ่านว่า ก้งถงฟู่ยู่ นั่นหมายถึงว่ารัฐบาลจะเริ่มเป็น "มือที่มองเห็น" เข้ามาจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจในประเทศจากมือคนรวยไปสู่ชนชั้นกลางและคนจน จุดประสงค์ก็เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจสังคม

มาเข้าเรื่องความเหลื่อมล้ำของคนจีนยุคใหม่ มีคำกล่าวยอดฮิตที่ว่า "输在起跑线上" อ่านว่า ซูไจ้ฉี่เผ่าเสี้ยนซ่าง ความหมายตรงตัวเลยคือ 'แพ้ตั้งแต่เริ่มวิ่ง' เป็นประโยคเสียดสีสังคมว่ายังไม่ทันจะได้เริ่มวิ่งเลยก็แพ้ไปก่อนแล้ว เพราะความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงปัญหาการแบ่งชนชั้นในสังคมที่นับวันยิ่งชัดเจน การที่จะข้ามขั้นขึ้นไปในชั้นสังคมที่ดีกว่าทำได้ยากกว่าสมัยรุ่นแม่รุ่นพ่อ ดังนั้นคนรุ่นใหม่ที่มีฐานดีกว่ามักจะได้รับโอกาสต่างๆดีกว่าอยู่เสมอ กลับกันคนรุ่นใหม่ที่เกิดมาในครอบครัวปานกลางหรือยากลำบาก ก็จะเติบโตมาในสังคมอีกแบบหนึ่ง การพยายามของคนเหล่านั้นในการเปลี่ยนสังคมและชีวิตของตัวเองก็ไม่ใช่ว่าประสบความสำเร็จเสมอไป

ภาพการ์ตูนเสียดสีสังคม 'แพ้ตั้งแต่เริ่มวิ่ง' (แฟ้มภาพจากTencent)
ภาพการ์ตูนเสียดสีสังคม 'แพ้ตั้งแต่เริ่มวิ่ง' (แฟ้มภาพจากTencent)

คนรุ่นใหม่จีนมีความกดดันในชีวิตหลายด้าน ความกดดันหลายอย่างจะค่อยๆชัดเจนมากขึ้นหลังจากเรียนจบและไปแข่งขันกันในตลาดแรงงาน แน่นอนว่าทุกคนอยากที่จะมีชีวิตที่ดีกว่า ดังนั้นก็ไม่แปลกที่คนรุ่นใหม่หลังเรียนจบจะเลือกเข้าไปทำงานในเมืองชั้นหนึ่งหรือเมืองชั้นสองที่มีศักยภาพ โดยในที่ทำงานก็ยังไม่เว้นมีสังคมของความเหลื่อมล้ำอีก แน่นอนว่าหลายครั้งเด็กเส้นที่มีคนสนับสนุนมักจะมีโอกาสความก้าวหน้าเข้ามาให้ไขว่คว้าได้มากกว่า ทางเลือกในชีวิตมีมากกว่า เป็นต้น

อย่างเช่น คนรุ่นใหม่จีนในเมืองรองที่เข้ามาทำงานสู้ชีวิตในเมืองชั้นหนึ่ง เป็นไปได้ยากมากที่จะไปสู้กับคนรุ่นใหม่ที่เป็นคนพื้นที่ในเมืองชั้นหนึ่งอยู่แล้ว เช่นในเรื่องของการหางาน หน่วยงานใหญ่หลายที่ไม่ว่าจะเอกชนหรือรัฐจะจำกัดการรับสมัครเอาไว้ว่าต้องมีทะเบียนบ้านในท้องที่ แล้วทุกวันนี้ที่ทำงานหลายแห่งในเมืองชั้นหนึ่งไม่มีโควต้าให้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาในเมืองได้เช่นในอดีต เป็นหนึ่งในอุปสรรคและข้อจำกัดคนรุ่นใหม่ต่างถิ่นที่ต้องการมาหางานในเมืองใหญ่

ต่อมาคือต้นทุนของการอยู่อาศัยที่ส่วนใหญ่ต้องไปเช่าบ้านราคาแพงหูฉี่ ครั้นจะทำงานไปสักพักแล้วคิดจะซื้อบ้านของตัวเองก็เป็นไปได้ยากเพราะราคาที่แพงมหาโหดและข้อจำกัดด้านนโยบายหลายอย่างในการซื้อบ้านที่ยิบย่อย ขณะที่ธนาคารปล่อยกู้เงินซื้อบ้านยากกว่าแต่ก่อน อย่างเช่นในเมืองปักกิ่งราคาบ้านเฉลี่ยตารางเมตรละ 6.5 หมื่นหยวนหรือกว่า 3.25 แสนบาท (นอกจากว่าครอบครัวมีฐานะดีให้เงินสนับสนุน) การจะซื้อบ้านที่ปักกิ่งได้ต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือจ่ายภาษีรายได้ให้รัฐบาลปักกิ่งครบห้าปีเป็นต้นไป ระหว่างนี้จะขาดเดือนใดเดือนหนึ่งไม่ได้เลย อีกทั้งในปัจจุบันคนที่ไม่มีทะเบียนบ้านในปักกิ่ง การวางเงินดาวน์ซื้อบ้านในปักกิ่งหลังแรกต้องมีเงินก้อนใหญ่ คือ 30% ของราคาบ้านรวม จะเห็นได้ว่าแค่ความต่างของพื้นที่ ความเหลื่อมล้ำด้านการงานและที่อยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่จีนในเมืองและต่างเมืองก็มีมากอยู่

ด้วยความต่างดังกล่าวยังนำมาซึ่งปัญหาการแต่งงานมีครอบครัวของคนจีนรุ่นใหม่ อย่างเช่นการที่ชายโสดชนบทมีจำนวนมากจนล้น บางหมู่บ้านผู้ชายอายุสามสี่สิบปีไม่แต่งงานมีอยู่เยอะ เพราะผู้หญิงชนบทส่วนใหญ่ พอเริ่มโตขึ้นหรือเรียนจบก็จะเข้าไปทำงานในเมืองและหาคู่ครองที่ฐานะดีกว่าตนเองในเมือง ไม่ค่อยมีใครอยากจะกลับไปแต่งงานกับผู้ชายที่อยู่ชนบท ทางกลับกันหญิงในเมืองหลวงที่มีฐานะและการศึกษาดีก็มักจะเลือกคู่ครอง เพราะสังคมที่มีวัตถุเป็นตัวนำทำให้สังคมคนรุ่นใหม่จีนมีความเหลื่อมล้ำชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการแต่งงานและหาคู่ครอง ชายจีนสมัยใหม่ที่มีฐานะจะหาคู่ครองที่มีความเหมาะสมกันทั้งในเรื่องของฐานะและการงาน ตรงนี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเพื่อนปักกิ่งรุ่นน้อง เคยเล่าให้ฟังว่ามีผู้หญิงมาติดเขามากมายแต่เขาจะไม่เลือกแต่งงานกับคนต่างถิ่น ยังไงก็ต้องเลือกคนปักกิ่งด้วยกันเท่านั้น ผู้เขียนเลยถามต่อถึงเหตุผล เขามองว่าถ้าเลือกผู้หญิงต่างถิ่นแต่งงานต่อไปอาจจะมีปัญหาตามมามากมาย เช่นญาติพี่น้องของฝ่ายหญิงอาจจะอพยพมาอยู่ปักกิ่งกันหมด ทำให้เขาไม่สามารถรับภาระนั้นได้ อีกทั้งหญิงต่างถิ่นที่ไม่มีบ้านของตัวเองจะมาหาผู้ชายในปักกิ่งแต่งงานก็เป็นไปได้ว่าจะมาคบหาเพื่อผลประโยชน์ เป็นต้น เอาเป็นว่าที่ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่จีนในเมืองใหญ่เลือกที่จะแต่งงานช้าหรือจะไม่แต่งเลยก็มีเหตุผลของตนเองที่แตกต่างกันไป สุดท้ายแล้วก็หนีไม่พ้นปัจจัยด้านสังคมและฐานะ

ผู้เขียนมองว่าคนรุ่นใหม่ไม่ควรจะเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นมากนัก อยู่กับตัวเองและพัฒนาตัวเองคือสิ่งที่สำคัญและยั่งยืนที่สุดและการศึกษาสามารถเปลี่ยนชีวิตได้ก็ยังเป็นสิ่งที่ประจักษ์กันอยู่ในสังคมปัจจุบัน