• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Joe524

#10561


วันที่ 15 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ให้สัมภาษณ์ในรายการสุทธิชัยไลฟ์ ในหัวข้อ "มุมมอง ธนินท์ เจียรวนนท์ โควิดกับทางออกของประเทศไทย" โดยพิธีกร คือ นายสุทธิชัย หยุ่น เปิดประเด็นว่า ได้สัมภาษณ์บุคคลจากหลายภาคส่วน และ วันนี้จะเป็นการพูดคุยกับนายธนินท์ในบทบาทภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และ แนวโน้มทางเศรษฐกิจของไทย


นายธนินท์ กล่าวว่า เป็นหัวเลี้ยว หัวต่อของประเทศไทย ซึ่งวิกฤตโควิดเป็นเหมือนสงครามโลก (โรค) ครั้งที่ 3 ก็ว่าได้ เพราะทุกประเทศในโลกได้รับผลกระทบทั้งหมด แต่หากประเทศใดปรับตัวได้ ก็จะก้าวกระโดด แต่หากประเทศไทยขาดนโยบายที่มีความพร้อม และมีการเปลี่ยนแปลงไม่เร็วพอ ก็จะตกขบวน ตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ในสถานการณ์ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังไม่ลดลง และยังไม่แน่ใจว่า ฟ้าจะกลับมาสว่างอีกครั้งเมื่อใด ทั้งนี้ นายธนินท์ ได้กล่าวถึง 4 ประเด็น ที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ 1) ปากท้อง 2) ป้องกัน 3) รักษา 4) อนาคต

ประเด็นแรก คือเรื่อง "ปากท้อง" โดยนายธนินท์กล่าวว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน คนได้รับความลำบากมาก คนลำบากในต่างจังหวัด ยังพอมีญาติ มีอาหารมาแบ่งปัน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ยังพอประทังชีพได้ แต่คนมีรายได้น้อยในเมือง และคนที่มีภาระ เมื่อเจอเข้ากับวิกฤตที่ต้องกักตัว ไปทำงานไม่ได้ จะทำให้ลำบากมาก แม้กระทั่งอาหาร บางครั้งยังไม่เพียงพอ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ภาครัฐต้องมีมาตรการมาดูแล แต่ในส่วนของภาคเอกชน เราทำได้เพียงช่วยแบ่งเบาภาระ

โดยเครือซีพี มีโครงการครัวปันอิ่ม แจกอาหาร 2 ล้านกล่อง ในเวลา 2 เดือน ร่วมกับ 100 พันธมิตรอาสาสมัคร ไปแจกให้กับชุมชน โดยอาหารจำนวน 1 ล้านกล่องจากจำนวนทั้งหมด จะสั่งซื้อจากร้านอาหาร ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และ ขนาดจิ๋ว เป็นเป็นการช่วยเหลือจากปัญหาร้านถูกปิด เพื่อให้ร้านต่าง ๆ พออยู่ได้ และ ยังช่วยให้ชุมชนต่าง ๆ ที่ลำบาก เข้าถึงอาหาร และ หน้ากากอนามัย ที่แจกในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ จะทำการคัดเลือกร้านที่สะอาด ปลอดภัย และช่วยโปร โมทร้านอาหาร พร้อมใส่เบอร์โทร หากใครสนใจก็สั่งซื้อจากร้านได้โดยตรงอีกด้วย


ประเด็นที่สอง คือ "ป้องกัน" โดยนายธนินท์ เน้นความสำคัญของวัคซีน ยิ่งฉีดได้ครอบคลุมรวดเร็วมากเท่าไหร่ ก็จะลดผลกระทบได้มากเท่านั้น ตัวอย่างมีให้ดูหลายประเทศ เช่น อังกฤษ พอฉีดได้จำนวนมาก ก็กลับมาเปิดประเทศ ถึงแม้ว่าจะติดเชื้อเพิ่ม แต่ก็ไม่ตาย ไม่เจ็บหนัก ก็จะทำให้ประเทศสามารถเดินต่อไปได้ ซึ่งต้องตั้งเป้าหมายฉีดให้ครบ 100% ไปเลย โดยนำเข้าวัคซีนทุกยี่ห้อ

ในตอนหนี่งของการสัมภาษณ์ นายสุทธิชัย หยุ่น ได้ถามว่า นายธนินท์ หรือซีพี มีส่วนในการนำเข้าวัคซีนซิโนแวคของรัฐบาลหรือไม่  ซึ่งนายธนินท์ ได้ตอบอย่างเคลียร์ชัดว่า ไม่เกี่ยวข้องแน่นอน เพราะการผลิตวัคซีนทั้งหมดของซิโนแวคต้องส่งให้กับรัฐบาลจีน และต่อให้เอกชนอยากซื้อก็ซื้อไม่ได้ พนักงานเครือซีพีในประเทศจีน ยังไม่สามารถซื้อซิโนแวคมาฉีดให้พนักงานได้เลย ขึ้นอยู่กับรัฐบาลจีนทั้งหมด นายธนินท์กล่าวเสริมที่มาของประเด็นซิโนแวคว่า

ตอนที่บริษัทซิโนแวคตั้งต้นจะทำวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ มีเงินไม่พอ ต้องการระดมทุนเพิ่ม หลานชายซึ่งรู้จักกับหมอและนักวิจัยด้านยา ก็ได้รับเชิญชวนให้เข้าไปช่วยลงทุนในยามที่บริษัทนี้เงินไม่พอ ซึ่งต่อมาบริษัทนี้ซึ่งอยู่ในเครือฯของซิโนแวคก็ให้เป็นหุ้นบริษัทคืนแก่หลานชายในประเทศจีนมา 15% ในอัตราเท่ากับนักวิจัยที่มีหุ้นกันละ 15% ซึ่งในช่วงนั้น จริง ๆ เป็นการช่วยเหลือนักวิจัยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ  แต่ไปสั่งการอะไรไม่ได้ จะขอซื้อวัคซีนก็ทำไม่ได้แน่นอน ซึ่งในประเทศไทย ซีพียังต้องสั่งซื้อวัคซีนซิโนฟาร์มมา 1 แสนโด้ส มาดูแลพนักงานของบริษัทเอง โดยซื้อจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะซื้อตรงก็ยังทำไม่ได้ เพราะวัคซีน ถูกควบคุมทั้งหมด

นอกจากนี้ วัคซีนทุกยี่ห้อ หากผู้ผลิต กล้าฉีดให้คนประเทศของเขา ก็มั่นใจได้ว่า มีความปลอดภัยระดับสูง โดยนายธนินท์เอง ก็ฉีดวัคซีน แอสตร้าซินิก้า เพราะคนอังกฤษฉีดกัน ยอดผู้ป่วยหนัก และ ผู้เสียชีวิตก็ยังน้อย ดังนั้น ต้องนำเข้าวัคซีนหลาย ๆ ยี่ห้อ เข้ามาฉีด ของทางอเมริกา ยุโรป ก็มีเทคโนโลยีที่ดี และประเทศเหล่านั้นได้ฉีดให้คนของเขาจำนวนมาก เราจะกลัวอะไร ยิ่งมีทางเลือกมาก ประชาชนก็มั่นใจ และ ฉีดวัคซีนได้เร็วขึ้น

ประเด็นที่สาม คือ "รักษา" โดยกล่าวถึง การรักษาที่ต้องเร็ว ถึงแม้ว่าผู้ป่วย 90% หายได้ด้วยการดูแลตัวเอง แต่การที่ผู้ป่วยต้องอยู่บ้านเป็น Home Isolation มากขึ้น ยังจำเป็นต้องดำเนินการคู่กับหมอทางไกล Telehealth และต้องเข้าถึงยาโดยเร็ว หากคนไข้ได้ปรึกษาอาการกับหมอ มีหมอออนไลน์ จะมีกำลังใจ นอกจากนี้นายธนินท์ได้ย้ำว่าเรื่องการเข้าถึงยามีความสำคัญอย่างมาก อย่ารอให้คนไข้มีอาการหนัก และควรกระจายยาอย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอน ยุคนี้ต้องเร็วและมีคุณภาพ

สำหรับเครือซีพี คงช่วยได้บ้างในเรื่องการปลูกฟ้าทะลายโจรในโครงการ ปันปลูก ฟ้าทะลายโจร แจกฟรี 30 ล้านเม็ด ในพื้นที่ 100 ไร่ ใน 100 วัน เราจะปลูกเพื่อแจกจ่ายฟรี เพราะตอนนี้ฟ้าทะลายโจรขนาดตลาดมาก เป็นเพียงเข้าไปเสริมในตลาด ทำให้ผู้ประกอบการเดิมไม่กระทบ ดังนั้น เราเป็นการเติมซัพพลาย เข้าไปลดความขาดแคลนเท่านั้น โดยเป็นการแจกฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแน่นอน โดยจะปลูกโดยควบคุมเป็นแบบปลอดสารพิษทั้งหมด และจะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกร ชาวบ้าน โดยมีอิสระในการปลูก การขาย และขยายผล โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี้ การบริโภคฟ้าทะลายโจร ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของสาธารสุข

ประเด็นที่ 4 คือ "อนาคต" ซึ่งนายนินท์ ชี้ประเด็นประเทศไทยเสี่ยงถดถอย หากภาครัฐไม่มีมาตรการรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ปัจจุบัน ธุรกิจขนาดจิ๋ว เล็ก กลาง ใหญ่ ล้วนได้รับผลกระทบ และหากต้องล้มหาย ตายจากไป หลังพ้นวิกฤต บริษัทที่จะจ่ายภาษีให้ประเทศได้จะมีจำนวนลดน้อยลง และเครื่องจักรเศรษฐกิจ เช่น ท่องเที่ยว ส่งออก จะใช้เวลาฟื้นตัวช้า หากมีการปิดกิจการไปแล้ว ดังนั้น ต้องดูแลให้ธุรกิจทุกระดับอยู่รอด และ ปรับตัวสู่ธุรกิจอนาคต โดยเฉพาะ ธุรกิจ 4.0 และที่สำคัญต้องเตรียมพร้อมเรื่องคน วันนี้ประเทศไทยแข่งเรื่องแรงงานราคาถูก กับประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้แล้ว เพราะเรายังต้องใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน

ดังนั้น ไทย ต้องขยับไปสู่ธุรกิจไฮเทค แต่ก็ตามมาเรื่องคน คนเราพร้อมหรือไม่ รัฐบาลพูดไป แต่ยังขับเคลื่อนได้ช้า เราต้องออกไปเชิญชวนการลงทุน มาเพื่อสร้างงานในประเทศไทย ดึงดูดนักลงทุน ให้มาลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศไทย ไม่ใช่ไปประเทศเพื่อนบ้าน ทุกบริษัทระดับโลกด้านไฮเทค ล้วนเนื้อหอม ทุกประเทศอยากดึงบริษัทเหล่านี้ไปลงทุนในประเทศกันทั้งนั้น 

แล้วประเทศไทย จะมีมาตรการเชิงรุกอะไร ในการไปดึงบริษัทเหล่านี้เข้ามา ดึงคนเก่งทั่วโลก มาอยู่เมืองไทย มาใช้จ่ายที่ประเทศไทย มาจ่ายภาษีให้ประเทศไทย เหมือนเช่นอเมริกา ดึงคนยุโรป จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ไปอยู่อเมริกา หรือ คนสิงค์โปร์มีประชากรครึ่งหนึ่ง เป็นคนจากต่างประเทศที่เข้าไปลงทุน เศรษฐกิจใหม่ ก็จะเกิดขึ้น แต่ที่พูดมาทั้งหมด ต้องทำควบคู่กันทั้งหมด ยามมืดสุด ต้องคิดว่า เมื่อสว่างแล้ว ประเทศจะเป็นอย่างไร

 

ดังนั้น ทั้ง 4 ประเด็น ตั้งแต่ปากท้องที่ต้องดูแล ป้องกันโดยการหาวัคซีนให้มากและเร็วที่สุด หากเอกชนจะช่วยนำเข้า รัฐควรรีบสนับสนุน วัคซีนยี่ห้อไหนดี ต้องพยายามนำเข้ามาทั้งหมด การรักษาที่ต้องรวดเร็ว ต้องเข้าถึงยา อย่าปล่อยให้หนัก และสุดท้ายคือ ต้องมองเรื่องอนาคตควบคู่ ทั้ง 4 เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ต้องทำพร้อมกัน ในยามวิกฤต จะใช้ขั้นตอนแบบเดิมไม่ได้ ต้องรวดเร็วและมีคุณภาพ

นายธนินท์ ทิ้งท้ายว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตครั้งนี้คือ ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว หากใครไม่สามารถปรับตัวได้ก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้ ไม่ว่าบริษัทจะใหญ่หรือเล็ก ประเทศใดปรับตัวได้จะเป็นผู้นำใหม่ ประเทศที่เคยเป็นผู้นำ หากปรับตัวไม่ได้ ก็จะกลายเป็นผู้ตาม และนี่แหละ คือ สงครามโลก(โรค) ครั้งที่ 3 ที่ทุกหย่อมหญ้า ได้รับผลกระทบอย่างเท่าเทียม
#10562


พนักงานอัยการเปิดเผยว่ามีการตั้งข้อหา "คริส อู๋อี้ฟาน" อย่างเป็นทางการแล้ว ในคดีที่เขาตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีพฤติกรรมข่มขืนหญิงสาวหลายคน หลัง "คริส" ถูกควบคุมตัวมาตั้งแต่ปลายเดือนก่อน

อู๋อี้ฟาน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจีนควบคุมตัวมาตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยตอนที่ถูกจับยังไม่มีการตั้งข้อหา จนกระทั่งล่าสุดในวันนี้ (17 ส.ค.) พนักงานอัยการแห่งกรุงปักกิ่ง ได้แถลงอย่างเป็นทางการถึงการตั้งข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คดีฉาวที่สั่นสะเทือนวงการเป็นที่พูดถึงตั้งแต่เดือนก่อน เมื่อมีหญิงสาวคนหนึ่งเขียนข้อความในโซเชียลมีเดียว่าเธอตกเป็นเหยื่อการข่มขื่นของศิลปินหนุ่มชื่อดัง

หญิงสาวที่ใช้ชื่อว่า ตู้เม่ยจู ยังอ้างว่าเธอไม่ใช่คนเดียวที่ตกเป็นเหยื่อของ คริส อู๋ แต่ยังมีหญิงสาวหลายคนที่ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับเธอ โดยเขาจะหลอกล่อฝ่ายหญิงด้วยการหลอกว่าจะช่วยให้ได้เข้าวงการบันเทิง ก่อนที่จะลงมือ จนมีผู้หญิงตกเป็นเหยื่อหลายคน สุดท้ายจึงนำมาซึ่งการสืบสวน และจับกุมตัวในที่สุด

ว่ากันว่า ตู้เม่ยจู ที่เป็นนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยสื่อสารมวลชนแห่งประเทศจีน มีอายุเพียง 17 ปี เท่านั้น ซึ่งมีความผิดจริงอาจทำให้ อู๋อี้ฟาน วัย 30 ปี ติดคุกนาน 10 ปี เลยทีเดียว
#10563


นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าไทย กล่าวว่า  จากการที่ ศบค.ขยายล็อกดาวน์อีก 14 วัน ไปจนถึง 31 ส.ค. 2564 ก็ถือว่าเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ เพราะเหตุผลที่ต้องมีการขยายเวลาล็อคดาวน์เพิ่มเติมอาจมาจากตัวเลขของผู้ติดเชื้อ และ ผู้เสียชีวิต ที่ไม่ได้ลดลง อย่างที่หลายฝ่ายอยากให้เกิดขึ้น แต่กลับมีตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นในบางช่วงด้วยซ้ำซึ่งการขยายการล็อคดาวน์ เพิ่มเป็น 14 วัน หอการค้าไทย มองว่าคงมีความจำเป็น แต่สิ่งที่อยากสะท้อนให้ภาครัฐมองในมุมของเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชนควบคู่กันไปด้วย โดยขอให้รัฐบาลพิจารณามาตรการเสริมมาเยียวยาให้รวดเร็ว เพราะเท่าที่ผ่านมาถึงแม้ว่าหลายส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่ในการล็อคดาวน์ของรัฐบาล แต่ทุกคนก็ปฏิบัติตามมาตรการที่ประกาศออกมาอยู่แล้ว และต้องยอมรับว่าไม่เฉพาะผู้ประกอบการที่บอบช้ำจากการหยุดกิจการชั่วคราว แต่ยังกระทบถึงคนใน supply chain ในธุรกิจนั้น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าประชาชนทั่วไปก็ต่างรับผลกระทบทั้งสิ้น
                 

หอการค้าเห็นด้วยที่จะต้องควบคุมการแพร่ระบาดในลดลงกว่านี้ให้เร็วที่สุด แต่ตอนนี้รัฐบาลอาจจะต้องพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือมาเสริมทันทีด้วย ไม่ว่าจะเป็นการชดเชยกลุ่มต่าง ๆ ให้ครอบคลุม  รวมถึงอาจจะต้องพิจารณาผ่อนปรนให้สำหรับบางกิจการเพื่อให้สามารถเปิดธุรกิจได้อีกครั้ง โดยรัฐบาลต้องมีเกณฑ์หรือตัวชี้วัดเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับกิจการที่จะเปิด ซึ่งขอย้ำว่าการควบคุมการระบาดต้องควบคู่กับการเดินหน้าประคองเศรษฐกิจไปด้วย
             

"ภาคเอกชนมองว่าการล็อคดาวน์อาจจะไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด หากไม่มีการเร่งตรวจเชิงรุกด้วย ATK และต้องเร่งบริหารจัดการให้มีราคาที่ถูกลงกว่าที่เป็นอยู่ ให้ประชาชนหาซื้อง่ายก็จะยิ่งเพิ่มความถี่ในการตรวจและทั่วถึงมากขึ้น ทำให้การแยกผู้ป่วยออกมารักษาด้วยมาตรการ Isolation ในระดับต่าง ๆ ตามความรุนแรงของอาการได้อย่างรวดเร็ว และรัฐต้องเร่งจัดหาวัคซีนเพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนให้ได้มากที่สุด"

ทั้งนี้ รัฐบาลจะต้องพิจารณาผ่อนคลายกฎระเบียบบางประการที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการควบคุมการแพร่ระบาด เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัคซีน ยาและเวชภัณฑ์ ลดขั้นตอนและระยะเวลาการพิจารณาต่าง ๆ ให้สั้นลง เพราะสถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้เป็นสถานการณ์ปกติทั่วไป หากยังคงใช้กฎเกณฑ์เดิมจะทำให้การควบคุมการระบาดยิ่งล่าช้าออกไป และในทางกลับกันตัวเลขอาจจะยังคงสูงขึ้นพร้อมๆ กับเศรษฐกิจที่จะทรุดลงอย่างรวดเร็ว หากผู้ประกอบการหยุดหรือปิดตัวลงก็จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน


นายสนั่น กล่าวว่า ในระหว่างนี้ รัฐบาลก็ต้องเตรียมแผนที่จะฟื้นฟูและเปิดประเทศ หากสถานการณ์เริ่มดีขึ้น เพราะหอการค้าเชื่อว่า หลังจากนี้หลายธุรกิจจะประสบปัญหาด้านการเงิน และมีบางธุรกิจที่ต้องปิดกิจการอย่างถาวร โดยประเด็นนี้ก็จะต้องจัดเตรียมแนวทางช่วยเหลือและฟื้นฟูให้กิจการที่ยังอยู่กลับมาแข่งขันได้ ในขณะที่แผนเปิดประเทศจะต้องจัดเตรียมให้รอบด้านเพราะจำเป็นที่จะต้องเปิดประเทศควบคู่กับการอยู่ร่วมกับโควิด - 19 ไปอีกระยะหนึ่ง จะรอเปิดประเทศภายหลังโรคระบาดหมดไปคงเป็นไปไม่ได้
             

ส่วนโมเดลภูเก็ต Sand Box ที่ได้ดำเนินการมาถือเป็นการทดสอบความพร้อมด้านต่าง ๆและรัฐต้องเร่งปรับปรุงในส่วนที่เห็นว่าเป็นปัญหา ซึ่งวันนี้ภาคเอกชนเห็นด้วยกับมติของศบค.ที่เห็นชอบแนวทางการเปิดพื้นที่รับนักท่องเที่ยวจากจังหวัดภูเก็ต (PhuketSandbox) เดินทางเชื่อมต่อจังหวัดนำร่องอื่น เริ่มจาก สุราษฎรธานี (เกาะสมุย เกาะพะงันเกาะเต่า) กระบี่ (เกาะพีพี เกาะไหง ไร่เล) และ พังงา (เขาหลัก เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่) ภายใต้มาตรการ 7+7 คือ หลัง 7 วันแรกตรวจไม่พบเชื้อ สามารถเดินทางไปยังอีก 3จังหวัดดังกล่าวเพื่อพักอยู่อีก 7 วัน ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มงวด โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค.64 หากประสบความสำเร็จก็ควรจะพิจารณาขยายโมเดลไปยังจังหวัดท่องเที่ยวในภูมิภาคอื่น ๆ ก็จะช่วยเสริมความเชื่อมั่นกับนักท่องเที่ยวต่างชาติในขนาดเดียวกันเศรษฐกิจก็ยังคงเดินหน้าต่อไปได้


นายสนั่น กล่าวว่า  สำำหรับการผ่อนคลายที่ให้สถาบันการเงินเปิดในห้างได้ ก็จะสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบจากการที่ปิดได้ส่วนหนึ่ง ส่วนธุรกิจที่เหลือก็คงต้องรอการพิจารณาผ่อนคลายต่อไป เพราะตอนนี้จำนวนผู้ติดเชื้อยังสูง และกังวลว่าจะเป็นเหตุให้ผู้คนออกเดินทาง เชื่อว่าทางรัฐบาลและทางสาธารณสุขเป็นกังวลในส่วนนี้ แต่ทาง หอการค้าไทย ก็ยังหวังว่า เราต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้แต่ละธุรกิจกลับมาเปิดดำเนินการควบคู่กับการระบาดไปให้ได้

ส่วนมาตรการคุมเข้มเพิ่มเติมกรณีทำ company isolation ตรวจ ATK ก่อนคลายล๊อคดาว์นนั้น ก็เป็นสิ่งที่ดี รวมถึงที่จะมีระบบจัดทำ thai covid pass นั้น ก็ตรงกับข้อเสนอที่หอการค้าเสนอ ให้มี superapp เพื่ออำนวยความสะดวกและเปิดดำเนินการกิจการได้ สิ่งที่เป็นห่วงตอนนี้ คือ การหา ATK ที่มีคุณภาพให้ประชาชน และสถานประกอบการให้เข้าถึงง่าย ในราคาที่เหมาะสม รวมถึง ควรมีมาตรการลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ให้กิจการที่มีสนับสนุนการป้องกันตัวเอง ช่วยแบ่งเบาภาระภาครัฐ ตรงนี้จะสามารถให้ร่วมมือกัน ได้มากขึ้นอีกส่วนหนึ่ง จำนวนตัวเลข 50 คนและ 100 คน ที่กำหนดนั่นอยากจะให้พิจารณาตามลักษณะของแต่ละธุรกิจ ว่ามีความเสี่ยงที่ต่างกันด้วย เพื่อให้มาตรการที่ออกมาสามารถปฏิบัติได้จริง
#10564


แม้จะยังไม่ได้รับอิสรภาพอย่างสมบูรณ์แต่ล่าสุด "บริตนีย์ สเปียร์ส" ก็น่าจะได้หลุดจากการควบคุมดูแลของ "เจมี สเปียร์ส" พ่อของเธอซะที เมื่อฝ่ายผู้เป็นพ่อได้ประกาศตัดสินใจยุติการทำหน้าที่ผู้ดูแลตามกฎหมายของลูกสาว หลังมีกระแสกดดันจากทุกฝ่าย

ข่าวดังกล่าวได้รับการยืนยันจากเอกสารทางกฎหมายที่ระบุว่า เจมี สเปียร์ส ต้องการที่จะออกจากตำแหน่งและยืนยันว่า เขาจะขอเปลี่ยนผ่านหน้าที่ให้กับผู้ดูแลคนใหม่ต่อไป หลังเขาทำหน้าที่นี้มาตั้งแต่ปี 2008

โดยการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังแฟน ๆ ได้พยายามกดดัน เพื่อเรียกร้อง สภาพให้กับศิลปินเจ้าของฉายา "เจ้าหญิงแห่งวงการเพลงป๊อป" ด้วยโครงการ #FreeBritney ซึ่งพวกเขามองว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมา บริตนีย์ สเปียร์ส ถูกคนรอบตัวใช้อำนาจของกฎหมายเอาเปรียบเธอมานาน

อย่างไรก็ตาม เจมี สเปียร์ส ก็ยังยืนยันความบริสุทธิ์ใจของตัวเอง และเชื่อว่าตนเองไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ที่เขาต้องยอมสละนาที ก็เพราะรู้สึกว่าตัวเองได้กลายเป็นเป้าโจมตี โดยไม่มีเหตุมีผลจากสาธารณชน

สุดท้ายแล้วเขาจึงมองว่าการยุติหน้าที่เป็นผู้ดูแล น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกสาวในขณะนี้



อย่างไรก็ตามแหมแม้ตัวเองจะไม่ได้ทำหน้าที่แล้วผู้เป็นพ่อก็ยังเชื่อว่าลูกกสาวยังมีภาวะทางอารมณ์ที่ไม่มั่นคง และยังคงต้องการผู้ดูแลที่จะคอยจัดการเรื่องต่างๆในชีวิตให้ต่อไป ซึ่งเขาก็พร้อมที่จะส่งผ่านหน้าที่ให้กับผู้ดูแลคนใหม่

นอกจากนั้นเขายังกล่าวว่าแม้ตนจะไม่ได้ทำหน้าที่ผู้ดูแลตามกฎหมายแล้ว แต่เขาก็ คือพ่อของลูกตลอดไป จึงจะรักเธอโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ แล้วจะทำทุกอย่าง ให้ดีที่สุดเพื่อเธอ เหมือนเดิม

ฝ่ายทนายความของ บริตนีย์ ได้แสดงความเห็นว่าทั้งฝ่ายเขารู้สึกยินดี กับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ทีมกฎหมายของก็ยังรู้สึกผิดหวังที่คู่กรณียังคงใส่ความ และให้ข่าวโจมตีต่อไป ทีมกฎหมายยังมองว่า เจมี สเปียร์ส ควรจะเลิกถ่วงเวลา และออกจากตำแหน่งไปทันทีในตอนนี้ด้วยซ้ำไป และทีมทนายจะยังคงสืบสวนหาหลักฐาน เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ เจมี สเปียร์ส สูบเงินจากลูกสาวไปหลายล้าน เหรียญสหรัฐ ฯ ในตลอด 13 ปี ที่ผ่านมาต่อไปด้วย

ตลอดปีที่ผ่านมา บริตนีย์ สเปียร์ส ได้พยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพของตัวเอง แล้วเพิ่งให้ข่าวว่าเธออาจจะไม่กลับขึ้นเวทีคอนเสิร์ตอีกแล้ว ถ้าต้องใช้ชีวิตภายใต้การบงการของคนอื่นแบบนี้
#10566
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#10568
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 812
#10570


นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เปิดเผยว่า  GULF ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2564 โดยมีกำไรจากการดำเนินงาน (Core Profit) จำนวน 1,401 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 412 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน

สาเหตุหลักมาจากการรับรู้ผลกำไรของโครงการโรงไฟฟ้ากัลฟ์ ศรีราชา (GSRC) หน่วยที่ 1 ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 662.5 เมกะวัตต์ ที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 โดยมี Load Factor เฉลี่ยเท่ากับ 88% ในไตรมาสนี้ ประกอบกับโครงการโรงไฟฟ้า 12 SPP ภายใต้กลุ่ม GMP และโครงการโรงไฟฟ้า 7 SPP ภายใต้กลุ่ม GJP ที่รับรู้ Core Profit เพิ่มขึ้นจากปริมาณการขายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรมที่สูงขึ้นในทุกภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็ก โดย 12 SPP มี Load Factor เฉลี่ยของกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้ เท่ากับ 63% เทียบกับ 51% ปีที่แล้ว

ขณะที่ 7 SPP มี Load Factor เฉลี่ยเท่ากับ 66% ในไตรมาสนี้ เทียบกับ 57% ในปีก่อน นอกจากนี้ โรงไฟฟ้า 2 IPP ภายใต้กลุ่ม GJP ยังมีปริมาณการขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้น 148% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2563 ส่งผลให้โรงไฟฟ้าเดินเครื่องอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้ง ในไตรมาส 2 ปี 2564 ยังรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก PTT NGD จำนวน 63 ล้านบาท จากการที่ GULF เข้าไปลงทุนในสัดส่วน 42% ด้วย


ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2564 Core Profit ในไตรมาสนี้ลดลง 989 ล้านบาท หรือคิดเป็น 41.4% เนื่องจากไม่มีการบันทึกเงินปันผลรับจาก INTUCH ในไตรมาสนี้ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในทะเล Borkum Riffgrund 2 (BKR2) มีปริมาณการขายไฟฟ้าที่ลดลงจากปัจจัยด้านฤดูกาล ซึ่งไตรมาส 2 และไตรมาส 3 นับเป็น low season เมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 และ ไตรมาส 4 ซึ่งถือเป็น high season ของพลังงานลมในทะเลที่ประเทศเยอรมนี

ในไตรมาส 2 ปี 2564 GULF มีรายได้รวม (Total Revenue) 11,845 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,707 ล้านบาท หรือคิดเป็น 29.6% จากไตรมาส 2 ปี 2563 จากการรับรู้รายได้จากโครงการโรงไฟฟ้า GSRC หน่วยที่ 1 ที่เปิดดำเนินการในไตรมาส 1 ปี 2564 และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในทะเล BKR2 ที่รับรู้รายได้ครั้งแรกในไตรมาส 4 ปี 2563

อีกทั้ง ยังรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขายไฟฟ้าและไอน้ำให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรมของกลุ่ม GMP อย่างไรก็ตาม รายได้จากการขายไฟฟ้าของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ GTN1 และ GTN2 ที่ประเทศเวียดนาม ลดลงเล็กน้อยจากการจำกัดการรับซื้อไฟฟ้าชั่วคราว (Temporary Curtailment) เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเวียดนาม

อัตรากำไร EBITDA Margin ในไตรมาส 2 ปี 2564 เท่ากับ 35.6% เพิ่มขึ้นจาก 31.9% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักจากต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติที่ลดลง 8.7% จากปีก่อน แม้ว่าค่า Ft เฉลี่ยจะลดลงก็ตาม


นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

GULF มีกำไรสุทธิ (Net Profit) ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ ซึ่งรวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน เท่ากับ 1,407 ล้านบาท ลดลง 25.2% เทียบกับผลกำไรสุทธิ 1,881 ล้านบาทในไตรมาส 2 ปี 2563 เนื่องจากในปีก่อนมีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (Unrealized Gain) จำนวน 892 ล้านบาท เทียบกับ 6 ล้านบาทในไตรมาส 2 ปีนี้

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 GULF มีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net Interest-Bearing Debt to Equity) เท่ากับ 1.75 เท่า ซึ่งยังต่ำกว่าข้อกำหนดสิทธิสำหรับหุ้นกู้ (Bond Covenant) ที่ 3.50 เท่า

นางสาวยุพาพิน กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ GULF ได้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH แล้วเสร็จ ทำให้มีสัดส่วนการถือหุ้น INTUCH ทั้งสิ้น เท่ากับ 42.25% โดย GULF ได้ทำการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในประเทศทั้งสิ้นจำนวน 48,612 ล้านบาท โดย GULF มีแผนในการออกและเสนอขายหุ้นกู้มูลค่ารวมประมาณ 20,000 ล้านบาทภายในปีนี้ โดยจะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ไปลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ และชำระคืนเงินกู้ที่ใช้ในการซื้อหุ้น INTUCH ในบางส่วน นอกจากนี้ บริษัทฯ จะรับรู้เงินปันผลรับทันที ประมาณ 1,600 ล้านบาทในไตรมาส 3 นี้

สำหรับแผนการดำเนินงานในครึ่งปีหลังของปี 2564 GULF ยังมีโครงการที่จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในทะเลที่ประเทศเวียดนาม (Mekong Wind) ระยะที่ 1-3 กำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวม 128 เมกะวัตต์ ที่จะทยอยเปิดดำเนินการระหว่างไตรมาส 3-4 ปีนี้, โครงการโรงไฟฟ้า GSRC หน่วยที่ 2 กำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 662.5 เมกะวัตต์ ที่กำหนดเปิดดำเนินการในเดือนตุลาคม 2564

โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่ประเทศโอมาน (DIPWP) จำนวน 326 เมกะวัตต์ ระยะที่ 1 ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 40 เมกะวัตต์ ที่จะเปิดดำเนินการระหว่างไตรมาส 3-4 และโครงการ solar rooftop ภายใต้ Gulf1 กำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวม 20 เมกะวัตต์ ที่จะทยอยเปิดดำเนินการภายในสิ้นปี ส่งผลให้ GULF มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวมทั้งสิ้น 7,922 เมกะวัตต์ ณ สิ้นปี 2564
#10571
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 812
#10572
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#10574


ถึงนาทีนี้ธุรกิจโรงแรมยังมองไม่เห็นหนทางฟื้นจากอาการโคม่า ล่าสุดแบงก์ชาติเผยผลสำรวจผู้ประกอบการโรงแรมยังอ่วมพิษโควิด-19 ทรุดลงต่อเนื่อง สภาพคล่องหดหายอยู่ได้อีกไม่เกิน 3 เดือน ขณะที่อัตราการเข้าพักดิ่งสุดเหลือแค่ 10% ร้องขอวัคซีน-พักหนี้-พยุงการจ้างงาน 

ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม (HSI) ซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ร่วมกับสมาคมโรงแรมไทย จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกเดือนยังไม่มีทีท่าจะผ่านพ้นวิกฤต หนำซ้ำกลับหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ แม้รัฐบาลจะพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศและเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา ด้วยโครงการนำร่อง  "ภูเก็ตแซนด์บอกซ์"  เชื่อมโยงกับจังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ ก็ตาม

ล่าสุด ผลสำรวจฯ ในเดือนกรกฎาคม 2564 จากผู้ประกอบการที่พักแรม 304 แห่ง (เป็น ASQ 28 แห่ง Hospitel 4 แห่ง) ระหว่างวันที่ 13-26 กรกฎาคม 2564 พบว่า ผู้ประกอบการที่พักแรมได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อเนื่อง โดยอัตราการเข้าพักยังอยู่ในระดับต่ำมาก เฉลี่ยอยู่ที่ 10% ซึ่งทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกือบ 60% ของโรงแรมที่เปิดกิจการอยู่มีสภาพคล่องลดลงจากเดือนก่อน และเพียงพอในการดำเนินธุรกิจไม่เกิน 3 เดือน ขณะที่การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติส่งผลบวกต่ออัตราการเข้าพักโดยรวมไม่มากนัก

ทั้งนี้ หากไม่รวมกลุ่มที่ปรับตัวมารับลูกค้าต่างชาติที่ทำงานในไทย และ workation, staycation รวมถึงกลุ่มที่เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตามโครงการ "แซนด์บ็อกซ์" ซึ่งส่วนมากเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคม 2564 จะอยู่ที่เพียง 6.5% เท่านั้น ส่วนคาดการณ์อัตราการเข้าพักทั้งประเทศในเดือนสิงหาคม 2564 จะปรับลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 8% โดยทุกภูมิภาคของประเทศไทยมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยต่ำกว่า 10%

อัตราการเข้าพักที่ลดลงดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบทำให้ 58% ของโรงแรมที่เปิดกิจการอยู่ มีสภาพคล่องลดลงมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2564 และเพียงพอในการดำเนินธุรกิจได้ไม่เกิน 3 เดือน และมีอีก 23% ที่มีสภาพคล่องเพียงพอไม่ถึง 1 เดือน ซึ่งกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ ขณะที่ 57% ของโรงแรมที่เปิดกิจการอยู่ทั้งหมด รายได้ยังกลับมาไม่ถึง 10% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19

จากการสำรวจสถานะกิจการของผู้ประกอบการ 272 แห่ง (ไม่รวม ASQ และฮอสพิเทล) มีโรงแรมเพียง 40.1% ที่ยังเปิดกิจการปกติ ที่เหลือ 38.2% เปิดกิจการเพียงบางส่วน และอีกกว่า 21.7% ที่ยังปิดกิจการชั่วคราว โดยสัดส่วนของโรงแรมที่ปิดกิจการชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย.เล็กน้อย 2.2%

ผลสำรวจยังบ่งชี้ว่า จากโรงแรมจำนวน 272 แห่ง (ไม่รวมโรงแรมที่เป็น ASQ และ Hospitel) พบว่า 56% ของโรงแรมที่ปิดกิจการชั่วคราวนั้น คาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการได้อีกครั้งในไตรมาส 4/2565 และราว 13.6% คาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการได้ในไตรมาส 1/2565 ส่วนอีก 6.8% คาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการได้ในไตรมาส 2/2565 และอีก 11.9% จะกลับมาเปิดดำเนินกิจการได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565

 ขณะที่สถานการณ์รายได้ในเดือนกรกฎาคม พบว่าโรงแรมส่วนใหญ่ยังมีรายได้อยู่ในระดับต่ำ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือ 56.9% ของโรงแรมที่เปิดกิจการอยู่ทั้งหมด มีรายได้กลับมาไม่ถึง 10% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ส่วนโรงแรมที่มีรายได้ที่ระดับ 11-30% มีสัดส่วน 18.3%, โรงแรมที่มีรายได้ระดับ 31-50% มีสัดส่วน 3.6%, โรงแรมที่มีรายได้ระดับ 51-70% มีสัดส่วน 7.1% และโรงแรมที่มีรายได้ระดับมากกว่า 70% มีสัดส่วน 14.2% 

สำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ส่งผลบวกต่ออัตราการเข้าพักโดยรวมไม่มากนัก โดยพบว่า 50% ของโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต มองว่าอัตราการเข้าพักของโรงแรมที่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เป็นไปตามที่คาด ซึ่งมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 16% ขณะที่อีก 43% ของโรงแรมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มองว่าอัตราการเข้าพักของโรงแรมที่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้แย่กว่าที่คาด โดยมีอัตราการเข้าพักเฉลี่อยู่ในระดับต่ำเพียง 6% เท่านั้น และพบว่าผู้ประกอบการโรงแรมกว่า 69% เห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยส่วนใหญ่เป็นโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการโรงแรมกลับมาจ้างงานเฉลี่ย 53% ของช่วงก่อนเกิดโควิด-19 (หากไม่รวมกลุ่มปิดกิจการชั่วคราวจะเฉลี่ยอยู่ที่ 59%)



 นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) ระบุว่า ปัจจุบันการจ้างงานในภาคการท่องเที่ยวลดลงแล้วกว่า 50% หากดูตัวเลขในภาวะปกติจะมีโรงจดทะเบียนกับสมาคม 16,282 โรงแรม มีพนักงานในระบบมากกว่า 860,000 คน แต่หลังจากโควิด-19 คาดว่ามีพนักงานตกงานมากกว่า 460,000 คน และออกจากภาคธุรกิจการท่องเที่ยวไปแล้ว ที่เหลืออีกประมาณ 400,000 คน อาจได้รับเงินเดือนไม่เต็มเดือน ลดเวลาทำงาน เพราะโรงแรมไม่มีรายได้เลย

หลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งระบบ สมาคมโรงแรมไทย ได้เรียกร้องต่อรัฐบาลให้เข้ามาช่วยเหลือ เช่น การจัดหาและกระจายวัคซีนให้เร็วกว่าแผน, มาตรการช่วยเหลือเงินกู้และพักชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ย เพื่อพยุงไม่ให้ผู้ประกอบการขายกิจการทิ้ง, ขอลดต้นทุนค่าไฟฟ้า รวมทั้งการสนับสนุนค่าจ้างเพื่อพยุงการจ้างงานรอวันธุรกิจฟื้นคืน

อย่างไรก็ตาม สำหรับ  "โครงการโกดังพักหนี้"  ที่รัฐบาลออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมนั้น นายกสมาคมโรงแรมไทย สะท้อนว่า ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการน้อยกว่าเท่าที่ควร เนื่องจากแบงก์พาณิชย์มีเงื่อนไขมากมาย เช่น ให้เฉพาะลูกหนี้ชั้นดี มูลค่าหนี้ต่ำ ทำให้ยากเข้าถึงความช่วยเหลือ

ส่วนมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาตินำร่อง "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" นั้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รายงานว่า ช่วง 40 วันของโครงการ นับจากวันที่ 1 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 25664 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าร่วมโครงการสะสม 18,654 คน ไม่พบผู้ติดเชื้อ 18,602 คน คัดกรองพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 52 คน

ด้านยอดจองห้องพักโรงแรมที่ได้มาตรฐาน SHA+ พบว่าตลอดไตรมาส 3/2564 มีจำนวน 353,529 คืน แบ่งเป็นเดือนกรกฎาคม 190,843 คืน เดือนสิงหาคม 143,566 คืน และเดือนกันยายน 19,120 คืน ส่วนยอดการจองในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวหรือไฮซีซั่นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 มีจำนวน 9,797 คืน

แต่อย่างไรก็ตาม ความพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มียอดผู้ติดเชื้อรายวันทะลุขึ้นหลัก 2 หมื่นคนแล้วนั้น ยังยากที่จะประสบผลสำเร็จ หลายชาติมีคำเตือนต่อพลเมืองที่จะเดินทางมายังไทย โดยล่าสุดหน่วยงานป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ หรือ ซีดีซี (U.S. Centers for Disease Control and Prevention) ยกระดับให้ไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงมากต่อการระบาดของโรคโควิด-19 ขณะเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ยังปรับคำเตือนสูงสุดขั้นที่ 4 สำหรับผู้ที่จะเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 70 ประเทศที่อยู่ในกลุ่มที่ 4 เช่นเดียวกับไทย เช่น บราซิล ชิลี อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ขณะที่ก่อนหน้านี้ สหภาพยุโรปได้ถอดรายชื่อประเทศไทยออกจากลิสต์ประเทศที่ปลอดภัย (EU White List) จากการระบาดของโควิด-19

 นับเป็นมหาวิกฤตของธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวที่ยังคงมืดมนอนธการ ไม่ต่างไปจากอนาคตของประเทศไทยในยามนี้