• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Jessicas

#8746


กระแสความสนใจของประชาชน วันนี้ กรณีการแจกเงินเยียวยา ให้แก่ประชาชนแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ที่ประกาศ ล็อกดาวน์ โดยประกันสังคม เปิดลงทะเบียนผ่าน www.sso.go.th สำหรับผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 (ม.33) , มาตรา 39 (ม.39) และมาตรา 40 (ม.40) ดังนี้


สำนักงานประกันสังคม แจ้งวันนี้ ให้นายจ้างและลูกจ้างผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ ท่านสามารถตรวจสอบสิทธิเยียวยาได้แล้ววันนี้ ทางเวปไซต์สำนักงานประกันสังคม ที่เดียวเท่านั้น คลิก


ผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 9 ประเภทกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ คลิกตรวจสอบสิทธิ์

แรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงมีมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ "ล็อกดาวน์" ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา เพิ่มเติม จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ครอบคลุม 9 ประเภทกิจการ นั้น ได้แก่ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรมบริการด้านอาหาร กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร นั้น

สำหรับความคืบหน้าการเยียวยากลุ่มนายจ้างมาตรา 33 จำนวน 3,000 บาท ต่อลูกจ้างไม่เกิน 200 คน นั้น ขณะนี้มีนายจ้างได้ทยอยยื่นขอรับเงินชดเชยเข้ามาในระบบ e -service โดยในพื้นที่ 13 จังหวัดนั้นมีนายจ้างทั้งหมดประมาณ 180,000 ราย

ทั้งนี้ รมว.แรงงาน ยังได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม เร่งประชาสัมพันธ์กระตุ้นเตือนไปยังนายจ้างที่ยังไม่ได้ยื่นขอรับค่าชดเชยเยียวยาสามารถยื่นความประสงค์ขอรับเงินได้ที่ ระบบ e – service ของประกันสังคม จากนั้นปริ้นข้อมูลแบบรับการเยียวยาแล้วกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ส่งกลับมาให้ประกันสังคมโดยถ้าเป็นนายจ้างที่เป็นนิติบุคคลต้องแนบเลขบัญชีธนาคารกลับมาด้วย แต่ถ้าเป็นนายจ้างบุคคลธรรมดาให้นายจ้างผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนเพื่อประกันสังคมจะได้โอนเงินให้โดยเร็ว


ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 คลิกตรวจสอบสิทธิ์

เช้าวันนี้ ดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล ย้ำว่าผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ตรวจสิทธิรับเงินเยียวยาได้แล้ว ประกันสังคม เปิดให้ ผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40 (29 จังหวัดแดงเข้ม 9 กลุ่มกิจการ) ตรวจสอบสิทธิ รับเงินเยียวยา รายละ 5,000 บาท ได้แล้ว คลิกตรวจสอบสิทธิ์


ทั้งนี้ การสมัครมาตรา 40 ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิรักษาพยาบาลร่วมกับบัตรทอง (สปสช.) รวมทั้งสิทธิประโยชน์สวัสดิการแห่งรัฐต่างๆ แต่อย่างใด และสิทธิที่เคยได้รับยังเหมือนเดิม และมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย หรือสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตจากสำนักงานประกันสังคมเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย ส่วนสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 แต่ละทางเลือกขึ้นอยู่กับทางเลือกที่ผู้ประกันตนสมัคร


 ผู้สื่อข่าวตรวจสอบและรายงานด้วยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 64 เห็นชอบกรอบวงเงิน 33,471 ล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐตามข้อกำหนดฯ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยช่วยเหลือค่าครองชีพคนละ 5,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,694,201 คน

โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

1. พื้นที่ดำเนินการ 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี

2. กลุ่มเป้าหมายรวมประมาณ 6,694,201 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จำนวน 1,436,171 คน และมาตรา 40 จำนวน 5,258,030 คน

3. คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่มีสัญชาติไทย สถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด) หรือ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด) กรณีเป็นผู้สมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะรอชำระเงิน W (Wait) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องไม่เป็นข้าราชการหรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง

4. วิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 จะโอนเงินให้กับผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) เฉพาะที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชน


ที่มา - รัฐบาลไทย


ครม. ยังให้กระทรวงแรงงาน เร่งตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน รวมทั้งขอให้โอนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนตาม ม.39 และ ม.40 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 10 จังหวัด ก่อนระยะเวลาที่กำหนด ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564
เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 ที่รุนแรงและได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ ก่อนพื้นที่อื่น ๆ



ตรวจสอบสิทธิ ม.39, ม.40 รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

สำนักงานประกันสังคม เปิดให้ตรวจสอบสิทธิ โครงการเยียวยานายจ้าง - ผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ใน 9 ประเภทกิจการ เพื่อรับเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท ในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัดแรก โดยคาดว่าจะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ได้ภายในวันที่ 24 ส.ค. 64

ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระและสมัคร ม.40 ใน 3 จังหวัด (พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา) และ 16 จังหวัดสีแดงเข้ม ( เช่น กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ) จะประกาศวันจ่ายเงินเข้าบัญชีอีกครั้ง
.
วิธีตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยานายจ้าง – ผู้ประกันตนฯ

1. เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th คลิกเลือก "ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (ผู้ประกันตนม.39)", "ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (ผู้ประกันตนม.40)"
2. จากนั้นกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และรหัสตามรูปที่กำหนด
3. กดค้นหา
4. ระบบจะแสดงผลการค้นหา ว่าได้/ ไม่ได้รับสิทธิตามเงื่อนไขโครงการ

สำหรับวิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนทุกมาตรา จะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์เฉพาะที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน เพื่อให้ระบบสามารถโอนเงินได้ตามกำหนด

ผู้มีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันสังคม โทร. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง



วันนี้ กระทรวงแรงงาน แจ้ง ยื่นก่อน ได้ก่อน รับเงินเยียวยานายจ้าง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ
นายจ้างที่อยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม และอยู่ใน 9 ประเภทกิจการที่ถูกควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
จะได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน (สูงสุดไม่เกิน 200 คน)
สำนักงานประกันสังคมจะเริ่มโอนเงินเข้าบัญชี ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2564 นี้ เป็นต้นไป
นายจ้างที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐใน 10 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ ที่ยังไม่ยื่นขอรับเงินชดเชยเยียวยา ขอให้ท่านดำเนินการยื่นแบบความประสงค์ขอรับเงินโดยด่วน ขั้นตอนคือเข้าระบบ e-service บนเว็บไซต์ www.sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคม

กรอกข้อมูลแล้วส่งกลับมาให้สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานประกอบการนั้นตั้งอยู่

กรณีนายจ้างที่เป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาบัญชีธนาคารกลับมาด้วย
นายจ้างบุคคลธรรมดาให้ผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน เพื่อสำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินได้อย่างรวดเร็ว
ที่มา - สำนักงานประกันสังคม 
#8750


วันนี้ (12 ส.ค. 64) นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบททักท้วงเรื่องคุณภาพของชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit (ATK) ที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้ดำเนินการจัดหาเพื่อใช้แจกให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่า ในวันพรุ่งนี้ (13 ส.ค.64) คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้บอร์ด สปสช. จะมีการประชุมด่วนเพื่อหารือข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว

เนื่องจากต้องการให้ชุดตรวจ ATK ที่จะแจกให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงใช้ตรวจโควิดด้วยตนเองนั้น ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งการแจกชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดการระบาดของโรคโควิด-19 แยกผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณจัดหาชุดตรวจ ATK ให้หน่วยบริการแจกจ่ายประชาชนทุกคนทุกสิทธินั้น เป็นการใช้จ่ายจากงบประมาณตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ โดยให้เครือข่าย รพ.ราชวิถี จัดหาชุดตรวจผ่าน องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2561 ที่รับทราบเรื่องการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์การแพทย์ตามโครงการพิเศษที่ให้ รพ.ราชวิถี ซึ่งเป็นตัวแทนหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการจัดซื้อยากับทางองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แทน สปสช.
#8751


วันที่ 12 ส.ค.64 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ติดตามตัวเลขการลงทุนของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ซึ่งเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการพยุงเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนต่อไป โดยเฉพาะของรัฐวิสาหกิจที่จะต้องเป็นหลักในเวลานี้ เนื่องด้วยภาคเอกชนอาจมีการชะลอการลงทุนเหตุจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รายงานว่า ช่วงหกเดือนแรกของปี 2564 เกิดเม็ดเงินจากการลงทุนในธุรกิจพลังงานแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท ผ่านโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานต่าง ๆ ภายใต้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่กำกับดูแลประกอบไปด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัทอื่น ๆ ในเครือ การลงทุนที่สำคัญ อาทิ โครงการสถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งใหม่ จ.ระยอง โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 5 และโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าทั่วประเทศ ทั้งนี้ ตั้งเป้าการลงทุนของธุรกิจพลังงานของทั้งปี 2564 ไว้ที่ 2 แสนล้านบาท

สำหรับการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 43 แห่ง ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) นางสาวรัชดา กล่าวว่า สคร. ได้รายงานการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม ของปีงบประมาณ 2564 ณ สิ้นเดือน มิ.ย. ในภาพรวมเป็นไปตามแผนหรือสูงกว่าแผน โดยสามารถเบิกจ่ายได้ 1.91 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 101 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม โครงการขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของ รฟท. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ของ รฟม.
 
"ท่านนายกฯ ให้ความสำคัญกับการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และเข้าใจดีว่าสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อหลายโครงการ/แผนงาน เนื่องจากบุคลากรไม่สามารถเข้าพื้นที่ที่อยู่ในเขตควบคุมเข้มข้นสูงสุดเพื่อก่อสร้างหรือตรวจรับงานได้ รวมทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงาน จึงได้สั่งการให้ส่วนราชการทุกกระทรวงทำงานร่วมกับรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยผลักดันโครงการลงทุนให้ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจประเทศต่อไป" นางสาวรัชดา กล่าว


ที่มา รัฐบาลไทย
#8752


รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้ (11) ว่าผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรัฐบาลไทย รัชดา ธนาดิเรก กล่าวผ่านแถลงการณ์เมื่อวานนี้ (11) ว่า ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (National Center for Genetic Engineering and Biotechnology) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาวัคซีนโควิด-19 แบบสเปรย์พ่นจมูกนั้นเตรียมที่จะเริ่มต้นการศึกษาวิจัยในคนได้ภายในสิ้นปีหลังจากที่ผลการวิจัยเบื้องต้นกับหนูก่อนหน้าชี้ไปให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพ

โดยในแถลงการณ์ระบุว่า สเปรย์พ่นจมูกต้านโควิด-19 นี้ยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาจากองค์การอาหารและยาเพื่อขออนุญาตต่อไป

โฆษกรัฐบาลชี้ว่า การศึกษาจะรวมไปถึงการใช้เพื่อดูประสิทธิภาพในการปกป้องจากไวรัสสายพันธุ์เดลตา โดยเฟสที่ 2 จะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2022 และเป้าหมายของการผลิตสำหรับการใช้เป็นวงกว้างภายในช่วงกลางปีหน้าได้หากผลการวิจัยสัมฤทธิ

รอยเตอร์รายงานว่า ในเวลานี้นักวิจัยทั่วโลกต่างเริ่มพัฒนาสเปรย์พ่นจมูกเพื่อป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 โดยชี้ไปว่าจมูกถือเป็นช่องทางสำคัญของไวรัส

นอกเหนือจากนี้วัคซีนโควิด-19 เทคโนโลยี mRNA ของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์และวัคซีนเชื้อตายของมหาวิทยาลัยมหิดลกำลังจะเริ่มเฟส 2 ของการศึกษาในคนภายในเดือนสิงหาคมนี้

ที่ผ่านมาไทยนั้นพึ่งพาวัคซีนซิโนแวคและวัคซีนซิโนฟาร์มของจีน วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่มีโรงงานผลิตในประเทศและวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคที่ได้รับการบริจาคจากสหรัฐฯ ใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ซึ่งเป็นด่านหน้า

รัฐมนตรีสาธารณสุขไทยแถลงในวันพุธ (11) ว่า วัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคจำนวน 32.5 ล้านโดสจะส่งมอบมาไทยภายในสิ้นปีนี้ ส่งผลทำให้มีจำนวนการสั่งซื้อทั้งสิ้น 30 ล้านโดส และรวมกับจำนวนที่ได้รับการบริจาคจากรัฐบาลสหรัฐฯ

ไทยแจกจ่ายวัคซีนไปแล้ว 6.8% ของประชากรทั้งหมด 66 ล้านคน
#8758


ผศ.ชญณา ศิริภิรมย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SOMPO เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยช่วงครึ่งหลังของปี 2564 น่าจะยังทรงตัว ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ยืดเยื้อ ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว และกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยเฉพาะตลาดรายย่อย ขณะที่ตลาดรายใหญ่หรือลูกค้าองค์กร ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของซมโปะเริ่มมีทิศทางดีขึ้นตามการส่งออกตั้งแต่ช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากเศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มฟื้นตัว ทำให้เบี้ยประกันภัยของซมโปะยังเติบโตได้ดี คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจะต้องเติบโตกว่าตลาดประกันภัยในปีนี้ หลังจากที่ในครึ่งแรกของปี 2564 มีเติบโต 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563


"สถานการณ์ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราเชื่อว่าทุกบริษัทต่างเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว โดยจะเห็นได้ว่าตลาดประกันภัยส่วนใหญ่จะมุ่งไปในแนวทางที่คล้าย ๆ กัน คือ Personal safety and health แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ส่งผลให้กำลังซื้อลดลงแม้จะเห็นแนวทางธุรกิจที่เห็นชัดแต่กำลังซื้อในครึ่งปีหลังก็คงจะไม่แรงนัก ดังนั้นครึ่งปีหลังนี้เรียกว่าเป็นช่วงของการประคับประคองการเติบโตอย่างระมัดระวังให้ข้ามผ่านวิกฤตินี้ไปได้ ทำให้เป้าหมายเราไม่ได้ตั้งไว้สูงมากนักแต่เป็นการเกาะไปกับการเติบโตของตลาดประกันภัย ซึ่งในตลาดมักจะแบ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ กลางและเล็ก โดยเราเป็นบริษัทขนาดกลางที่ปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วจึงมีอัตราการเติบโตกว่าตลาด และพร้อมที่จะมองหาลูกค้าผ่านช่องทางวิถีการตลาดแบบใหม่อยู่เสมอ" 


ผศ.ชญณา กล่าวต่อว่า การทำตลาดรายย่อยของซมโปะ ปัจจุบันมีธนาคารซีไอเอ็มบีเป็นพันธมิตร เน้นลูกค้าเงินกู้บ้าน และเงินกู้รถ แต่สถานการณ์ปัจจุบันธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยกู้ ทำให้คนกู้เงินน้อยลง อาจต้องเปลี่ยนเป็นกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า Loan customer ซึ่งต้องเพิ่มช่องทางเข้าหาลูกค้ากลุ่มนี้ให้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังเล็งเห็นว่าคนบางกลุ่มยังมีกำลังจ่ายเพื่อรองรับความเสี่ยง เช่น ประกันสุขภาพ เริ่มเห็นว่าคนไทยมีความตระหนักในเรื่องสุขภาพมากขึ้น และให้ความสนใจซื้อประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถเพิ่มสัดส่วนรายย่อยให้ได้ แม้เบี้ยประกันภัยที่เพิ่มขึ้นจะไม่รวดเร็วเท่าในส่วนของลูกค้ารายใหญ่ หรือลูกค้าองค์กรที่เพิ่มเร็วกว่า


สำหรับตลาดลูกค้ารายใหญ่มีแนวโน้มเติบโตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เห็นได้จากขณะนี้เศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มฟื้นตัว การส่งออกดีขึ้น ความต้องการประกันก็เติบโตตามไปด้วย และปัจจุบันยังมีเทรนด์สำคัญที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนคือ หลายภาคส่วนโดยเฉพาะภาคธุรกิจเริ่มตระหนักถึงความรับผิดต่อผู้อื่นมากขึ้น โดยในประเทศที่พัฒนาแล้วจะเห็นเทรนด์นี้ชัดเจน เพราะประชาชนมีความเข้าใจและเรียกร้องสิทธิกันมากขึ้น ทำให้การประกันภัยที่ครอบคลุมต่อบุคคลอื่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเป็นที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยก็เริ่มเห็นเทรนด์นี้มากขึ้น และเป็นเรื่องดีที่คนรู้สึกว่าความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่น คือ ความเสี่ยง


อีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนธุรกิจประกัน คือ คนไทยตระหนักและมีความรู้เกี่ยวความเสี่ยงมากขึ้น สะท้อนจากการเติบโตของประกันสุขภาพ ที่เห็นว่าค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มแพงขึ้นตามเทคโนโลยีที่ใช้รักษา ทำให้ลูกค้าต้องหันมาทำประกันสุขภาพด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งบทบาทของบริษัทประกันจะต้องทำให้คนตระหนัก ไม่ใช่หวาดกลัว โดยทำให้รู้ว่าทุกอย่างต้องมีแผนสองรองรับ การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ หากคนไทยตระหนักถึงความเสี่ยงมากขึ้น จะทำให้ธุรกิจประกันเติบโตได้มาก เพราะปัจจุบันคนไทยถือครองกรมธรรม์จำนวนไม่มาก จึงมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะตลาดรายย่อย และเอสเอ็มอีที่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง แต่วิกฤติครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนสร้างการเติบโตให้กับเอสเอ็มอีด้วย หากจะก้าวไปอย่างยั่งยืนต้องมีรู้จักบริหารความเสี่ยง


"ความท้าทายของธุรกิจประกันเป็นเรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนเร็ว และเจเนอเรชั่นใหม่กำลังเติบโต ในยุคดิจิทัลที่ผลักดันให้องค์กรต้องมาอยู่ในพื้นที่ออนไลน์ คีย์สำคัญคือ Data ที่จะทำให้การวิเคราะห์มีความแม่นยำ เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการได้ตรงความต้องการของลูกค้า ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคเข้าใจเรื่องประกันมากขึ้น แค่รอเวลาให้กำลังซื้อกลับมา โดยซมโปะจะใช้ประโยชน์จาก Data มาขับเคลื่อนธุรกิจ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ครอบคลุมและตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งส่งมอบประสบการณ์การซื้อประกันทางออนไลน์ที่ดียิ่งขึ้น"


ซมโปะ ประกันภัย ก้าวสู่ตลาดไทยเมื่อปี 2540 ในฐานะบริษัทประกันชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 130 ปี โดยเริ่มต้นจากบริษัทประกันอัคคีภัยที่เข้ามาดูแลลูกค้าจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ในช่วงแรกจึงให้บริการในลักษณะ B2B จนในปี 2558 ได้เริ่มปรับพอร์ตการประกอบธุรกิจให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าแบบ B2C และในช่วงปี 2559 เริ่มเน้นเรื่องของประกันการเดินทางเริ่มต้นขยายฐานสู่ลูกค้ารายย่อย ด้วยกลยุทธ์หลักที่ถือเป็นจุดแข็งคือ Data ด้านการท่องเที่ยว-ผลผลิตทางการเกษตร-การเดินทาง พัฒนาสู่สินค้าเรือธงในการบุกตลาดไทย ได้แก่ ประกันภัยท่องเที่ยว ประกันภัยพืชผล และประกันรถกระบะ ภายใต้ปรัชญาการดูแลคนไทยด้วยหัวใจญี่ปุ่น เพื่อความสุขในทุกรายละเอียดการใช้ชีวิตของทุกคน

ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรก เบี้ยประกันภัยของซมโปะเติบโตจากลูกค้ารายใหญ่ โดยส่วนใหญ่เป็นองค์กรธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่น มีสัดส่วนอยู่ที่ 85% ส่วนลูกค้ารายย่อยอยู่ที่ 15% ของพอร์ตรวม แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ ประกันภัย P&C (Fire, IAR, Liability) อยู่ที่ 63% ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าองค์กรมีสัดส่วน, ประกันภัยรถ (Motor) อยู่ที่ 14%, ประกันภัยอื่น ๆ อยู่ที่ 10% เช่น ประกันพืชผล Loan Protection, ประกันสุขภาพ อยู่ที่ 5% และประกันภัยการเดินเรือ อยู่ที่ 4%
#8759


ความพยายามหา ซื้อชุดตรวจโควิดAntigen Test Kit (ATK) มาใช้คัดกรองด้วยตัวเองในบ้านกำลังเป็นสิ่งจำเป็น ขณะเดียวกัน ATK ก็กำลังกลายเป็นสินค้าที่ถูกตั้งคำถามถึงราคาจำหน่ายที่สูงเมื่อเทียบกับในต่างประเทศ

โดยราคาจำหน่ายATKในประเทศไทย เฉลี่ยชุดละ(ใช้1ครั้ง) 350-400 บาท  ปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา(อย.) จำนวน 29 ราย ในหลากหลายรูปแบบและวิธีการใช้ จากแหล่งนำเข้าต่างๆ เช่น จีน เกาหลีใต้ สวิสเซอร์แลนด์ สเปน เป็นต้น ทั้งนี้ราคาATKในไทยนับเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก สำหรับประชาชนเพราะการตรวจที่ว่านี้ไม่ใช่ครั้งเดียวจบ บางรายอาจต้องทำทุกวัน 

จากการสำรวจราคา ATK จากเวบไซด์ออนไลน์ ในต่างประเทศ พบว่า มีราคาเฉลี่ยเพียง1 ชุด / ใช้ 1 ครั้ง เพียงชุดละ  100 บาท โดยเวบไซด์ออนไลน์ชื่อดังของจีน อย่าง Alibaba จำหน่ายเฉลี่ย ชุดละ 0.88-1.19 ดอลลาร์ หรือ ประมาณ 60-100 บาท รวมค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ในการนำเข้า ขณะที่เวบไซด์eBay เฉลี่ยที่ 80-180 บาท และ Amazon เฉลี่ยที่ 165 บาท 

"ราคาจำหน่ายในไทยค่อนข้างสูงมากเพื่อเทียบกับราคาจำหน่ายในต่างประเทศ ที่แม้จะรวมค่าใช้จ่ายการขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นถ้ามี เพราะไทยประกาศยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าเครื่องมือแพทย์มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ยังพบว่าราคา ATK ที่คนไทยจำเป็นต้องใช้นั้นยังมีราคาสูงกว่าราคาเฉลี่ยทั่วโลกกว่าเท่าตัว"

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เคยสัมภาษณ์เกี่ยวกับ ATK ว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขกับกรมการค้าภายใน ได้ติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิด และหากพบว่ารายใดที่ขายแพงเกินสมควร กรมการค้าภายในก็จะใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มาตรา 29 เพื่อดำเนินคดีข้อหาค้ากำไรเกินควร ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

วัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวถึงการกำหนดราคาชุดตรวจโควิดว่า ขณะนี้ได้ขอให้ผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้า ATK กับอย.ให้ทำการแจ้งต้นทุนและแจ้งราคาจำหน่ายปลีกที่กรมการค้าภายในด้วยใช้ในการตรวจสอบราคา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจติดตามรวมทั้งมีสายด่วน 1569 รับเรื่องหากพบว่ามีผู้จำหน่ายรายใดจำหน่ายในราคาแพงเกินสมควร เกิดความปั่นป่วน

ส่วนสถานการณ์ราคาสินค้าโดยรวม  จากผลกระทบโควิดที่ระบาดในภาคอุตสาหกรรมและแรงงานโดยทั่วไปนั้น สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ระบุว่า ราคาสินค้ายังปกติแม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิด19 ยกเว้นอาหารสดบางชนิด เช่น เนื้อสุกร ไข่ไก่ ผลไม้สด ที่เพิ่มขึ้นในบางช่วงระยะเวลา ตามความต้องการในช่วงล็อคดาวน์ประกอบกับเกิดโรคระบาดในสุกรทำให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง 

ส่วนสินค้าในหมวดอื่น ๆ จะยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ ตามปริมาณผลผลิตและความต้องการ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรยังมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศ และยังมีปัจจัยจากโควิด-19 ที่กระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน

สำหรับสถานการณ์ตลาด ATK ล่าสุด นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)กล่าวว่าเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2564 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้มีมติให้ สปสช. ดำเนินการจัดหาชุดตรวจโควิด Antigen test kit (ATK) จำนวน 8.5 ล้านชุด แจกให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ด้วยเอง ในช่วงเดือน ส.ค. - ก.ย. นี้

"หลังสิ้นสุดเดือน ก.ย. ก็จะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง หากมีความจำเป็นจะต้องซื้อATKเพิ่ม สปสช. ก็จะดำเนินการ"

คาดว่าสถานการณ์โควิด-19 ในปีงบประมาณหน้าจะยังมีความรุนแรง ฉะนั้นชุดตรวจโควิดATK จำนวน 8.5 ล้านชุด จึงเป็นประเด็นสำคัญ โจทย์คือจะทำอย่างไรให้ชุดตรวจเหล่านั้นกระจายถึงมือประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็วและกว้างขวางที่สุด เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการของประชาชน

นอกจากนี้ สปสช. ถือโอกาสขอความร่วมมือ ชักชวนร้านขายยาเป็นหน่วยกระจายชุดตรวจโควิดATK เนื่องจากร้านขายยาทั่วประเทศที่ขึ้นทะเบียนอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) นั้นมีจำนวนมาก และน่าจะมีบุคลากรที่คอยแนะนำการตรวจให้กับประชาชนได้

จากท่าทีของหน่วยงานภาครัฐด้านสาธารณสุข นี้จะช่วยลดปัญหาหากมีการคุมเข้มเรื่องราคาสินค้า่อาจเกิดปัญหาด้านปริมาณสินค้าหายไปจากตลาดได้  ทั้งนี้ การนำ ATKมาใช้เพื่อจำแนกคนติดเชื้อออกไปจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การยับยั่งการระบาดของโควิดบรรเทาลงในเร็ววันเพราะการระบาดไม่เพียงกระทบต่อสุขภาพส่วนบุคคลแต่กำลังจะกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่โดยรวม ดังนั้นการทำให้ประชาชนเข้าถึง ATK ได้โดยง่ายและมีราคาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนสำหรับรัฐบาลในขณะนี้ ซึ่งขณะนี้ถือว่ารัฐมีเครื่องมือทั้งราคาเปรียบเทียบกับต่างประเทศซึ่งพอจะเป็นไกด์ไลน์ถึงราคาที่เหมาะสมและการรักษาปริมาณสินค้าไม่ให้หายไปจากตลาดด้วยการแจกATKของสปสช. 8.5 ล้านชุด ซึ่งจากนี้ก็เหลือแต่ภาคเอกชนผู้นำเข้าที่ต้องพิจารณาว่าธุรกิจนี้ควรมีกำไรในสัดส่วนที่เท่าไหร่