• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Jessicas

#8776


แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม "ไมซ์" (MICE : การจัดประชุม ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สัมมนา และแสดงสินค้า) ในปัจจุบัน แต่สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ "ทีเส็บ" ยังคงเดินหน้าผลักดันโครงการ "MICE Winnovation" ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการไมซ์นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ ยกระดับการจัดงานไมซ์ในภาวะวิกฤติ

จารุวรรณ สุวรรณศาสน์ ผู้อำนวยการฝ่าย MICE Intelligence และนวัตกรรม ทีเส็บ กล่าวว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยีได้กลายเป็นเครื่องมือจำเป็นที่ช่วยผู้ประกอบการไมซ์ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น! เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และได้คิดค้นเทคโนโลยีรองรับงานไมซ์ในยุควิถีปกติใหม่แล้ว ยังช่วยขยายการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกอีกด้วย

"ประเทศไทยมีแหล่งจัดงานไมซ์หรือศูนย์แสดงสินค้าอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสร้าง S-Curve ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมไมซ์ด้วย ซึ่งสอดรับกับการจัดงานอีเวนท์ในช่วงที่โควิด-19 ยังระบาด เทรนด์การจัดงานในปีนี้จะเป็นแบบเสมือนจริงหรือไฮบริด (Virtual and Hybrid Event) มากขึ้น ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย การปฏิบัติการเพื่อลดการสัมผัส การบริหารจัดการฝูงชนผู้เข้าร่วมงานเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม และหันมาจัดงานนอกสถานที่ (Outdoor Activities) มากขึ้น"

โดยในช่วงที่ผ่านมาทีเส็บได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น "BizConnect" สำหรับการจัดงานอีเวนท์และงานแสดงสินค้าเพื่อตอบโจทย์งานไมซ์ในยุคดิจิทัล รวบรวมงานไมซ์ 78 งาน มีผู้ใช้งาน 24,571 ราย และสร้างการรับรู้กว่า 48,300 ราย นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม "Thai MICE Connect.com" มาร์เก็ตเพลสธุรกิจไมซ์เชื่อมโยงผู้ซื้อผู้ขายทั้งในตลาดไทยและตลาดโลก โดยจากการรวบรวมข้อมูลล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2563-14 พ.ค.2564 ซึ่งโควิด-19 ยังระบาด พบว่ามีธุรกิจไมซ์กว่า 10,201 ราย มีผู้เข้าชมแพลตฟอร์ม 603,656 ราย, เกิดปฏิสัมพันธ์ (Engagements) 112,930 ครั้ง และมีผู้ใช้งานใหม่ 129,851 ราย

"เมื่อมีการนำแพลตฟอร์มมาใช้เพื่อตอบโจทย์การเจรจาธุรกิจแบบ B2B ยังสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์พฤติกรรมและความสนใจของผู้เข้าร่วมงานไมซ์ทั้งก่อน-ระหว่าง-หลังเข้าชมงานได้ โดยเฉพาะระหว่างเข้าชมงานแสดงสินค้าว่าผู้เข้าร่วมงานสนใจดูข้อมูลสินค้าตัวไหนแบบซ้ำๆ บนแพลตฟอร์ม เพื่อนำไปสู่การปิดดีลซื้อสินค้าให้ได้ภายใน 3-6 เดือนหลังการจัดงาน เมื่อขายของได้ คนขายก็กลับมาใช้งานแพลตฟอร์มมากขึ้น นับเป็นการสร้างประสบการณ์มากกว่าการจับคู่เจรจาธุรกิจทั่วไป"

จารุวรรณ เล่าเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการ "MICE Winnovation" เป็นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สนับสนุนให้การจัดงานไมซ์เดินหน้าต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และเตรียมความพร้อมรองรับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต!

ผลการดำเนินโครงการฯระหว่างเดือน มี.ค.-ก.ค.ที่ผ่านมา มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไมซ์และผู้ให้บริการนวัตกรรมด้านไมซ์มากถึง 152 คู่ นำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆ รองรับการจัดงานไมซ์ร่วมกัน มีการจับคู่ขอรับการสนับสนุนจากทีเส็บจำนวน 35 งาน โดยมีงานที่ผ่านการพิจารณาได้รับการสนับสนุนแล้วทั้งสิ้น 18 งาน แบ่งเป็นการสนับสนุนเทคโนโลยีการจัดงานแบบเสมือนจริงหรือไฮบริด จำนวน 15 งาน และเป็นการสนับสนุนเทคโนโลยีบริหารจัดการผู้เข้าร่วมงาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ จำนวน 3 งาน

ปัจจุบันมีงานที่จัดไปแล้ว 2 งาน คือ งานประชุมใหญ่ "ไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย" ครั้งที่ 55 ระหว่างวันที่ 7-9 พ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานออนไลน์จากทั่วประเทศ 2,318 คน และงาน "Bangkok Projection Mapping Competition 2021" (BPMC 2021) ซึ่งเป็นงานประกวดออกแบบสื่อภาพเคลื่อนไหว ระหว่างวันที่ 12-20 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ชมงานผ่านไลฟ์สตรีมมิ่งบนเฟซบุ๊กร่วม 20,000 ราย ส่วนงานที่เหลือมีกำหนดทยอยจัดในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค.2564

"ผลตอบรับโครงการนี้ถือว่าดีมาก เป็นไปตามที่ทีเส็บต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไมซ์นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้จัดงานได้จริง ตอบโจทย์การแก้ปัญหาได้ตรงใจ และเกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความสามารถในการดำเนินงานให้กับผู้ประกอบการไมซ์แล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจแก่กลุ่มผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของไทย ทั้งยังเป็นการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยเสริมสร้างศักยภาพยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ไทยในระดับนานาชาติอีกด้วย"

ขณะเดียวกันโครงการ MICE Winnovation ยังได้มีการพัฒนา "MICE Innovation Catalog" ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลผู้ให้บริการนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมไมซ์ และเป็นพื้นที่ทางการตลาดให้ผู้ประกอบการไมซ์เฟ้นหาคู่ค้า มีการจัดแบ่งหมวดหมู่นวัตกรรมไมซ์ครอบคลุมตั้งแต่ก่อนเริ่มงานจนจบงาน ซึ่งทีเส็บและพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและสมาคมในอุตสาหกรรมไมซ์ได้ร่วมพิจารณาคัดเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมนำมาบรรจุไว้ใน MICE Innovation Catalog เป็นประจำทุกเดือน เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้ผู้ประกอบการไมซ์สามารถเลือกใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันบนแพลตฟอร์มมีนวัตกรรมด้านไมซ์ที่พร้อมให้บริการกว่า 70 นวัตกรรม จาก 50 บริษัท
#8777


หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ประธานกรรมการ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT)เป็นประธานใน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจเพื่อส่งเสริมการใช้และให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ที่จัดขึ้นในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony)  โดยมี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  นายนพดล ปิ่นสุภา  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและดิจิทัล บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  นาวาอากาศเอก สมศักดิ์  ขาวสุวรรณ์  กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และ นางสาวจันทนา เตชะศิรินุกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี  บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามเพื่อวางกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้าร่วมกัน รวมถึงต่อยอดเทคโนโลยีการสื่อสารและดิจิทัลสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์การให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ  ส่งเสริมและสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รูปแบบการใช้พลังงานในปัจจุบัน มุ่งไปด้านพลังงานไฟฟ้าและพลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น ปตท. จึงพัฒนาและปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ทิศทางพลังงานในอนาคต อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศ  ซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ได้วางแผนลงทุนด้านยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ทั้งระบบกักเก็บพลังงาน แบตเตอรี่ โครงสร้างพื้นฐาน และแพลตฟอร์ม โดยจับมือพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ในการพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า และรองรับกลุ่มผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งนอกจากจะเป็นการตอบสนองนโยบายและทิศทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ที่มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย ยังเป็นการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดที่จะช่วยประเทศไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอีกด้วย

"สำหรับความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้  ปตท. นำเอาความแข็งแกร่งด้านธุรกิจพลังงาน ตลอดจนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผนวกเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจการสื่อสารและดิจิทัลของโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า ในรูปแบบที่มีจุดแข็งและมีความโดดเด่น ตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม ด้วยทางเลือกของบริการที่หลากหลาย   อันจะนำไปสู่การสร้างอนาคตแห่งการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สนับสนุนได้ทั้งความมั่นคงทางพลังงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน"

นาวาอากาศเอก สมศักดิ์  ขาวสุวรรณ์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ด้วยความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจเพื่อส่งเสริมการใช้และให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า ของทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกันศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ มีการทดสอบตลาดและศึกษาความต้องการของลูกค้า การออกแบบทางธุรกิจ การศึกษาความคุ้มทุนในการลงทุน การพัฒนาด้าน IoT และ Application ต่าง ๆ ระบบการให้บริการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นการติดตาม การจัดเก็บข้อมูล การชำระค่าบริการ และเพื่อสร้างความร่วมมือด้านธุรกิจร่วมกันต่อไป ซึ่ง NT  มีโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านสื่อสาร เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการนำเทคโนโลยี 5G ที่ NT มีคลื่นความถี่ที่พร้อมตอบสนองความต้องการใช้ในทุกรูปแบบมาประยุกต์ใช้ด้วย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนรูปแบบการดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ ของ ปตท. และ NT ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่  โอกาสในการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของ NT ในธุรกิจสื่อสารและดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนารูปแบบการใช้บริการยานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นด้าน Charger และด้านการบริหารจัดการระบบรถส่วนกลาง (Fleet Management) ซึ่งระบบบริหารจัดการของยานพาหนะในธุรกิจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสร้างจุดแข็งทางธุรกิจที่ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงาน ทั้งด้านการบริหารจัดการและด้านความปลอดภัย เชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การต่อยอดในการสร้างความแข็งแกร่งและความมั่นคงด้านการสื่อสารและดิจิทัลและอุตสาหกรรมด้านยานยนต์ในอนาคตให้กับทั้งสององค์กรร่วมกันและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน และประเทศชาติเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจด้านพลังงาน และเทคโนโลยีดิจิทัลต่อไป
#8784


เอพี - แม้เริ่มต้นตะกุกตะกัก แต่ตอนนี้จำนวนผู้เข้าโครงการฉีดวัคซีนโควิดของอียูแซงหน้าอเมริกาไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อโครงการใบรับรองสุขภาพที่บังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีนทางอ้อมอาจช่วยให้ยุโรปรอดพ้นจากการระบาดระลอกใหม่ที่อเมริกากำลังเผชิญอยู่ และรอดพ้นจากการล็อกดาวน์ซึ่งเศรษฐกิจอียูไม่สามารถรองรับได้อีกต่อไป

กลางเดือนกุมภาพันธ์ ประชาชนไม่ถึง 4% ใน 27 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ฉีดวัคซีนโควิดอย่างน้อยหนึ่งเข็ม เทียบกับเกือบ 12% ในอเมริกา ทั้งนี้ จากข้อมูลของอาวร์ เวิลด์ อิน ดาตา เว็บไซต์เผยแพร่ข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แต่ล่าสุด ชาวยุโรปราว 60% ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม เทียบกับไม่ถึง 58% ในอเมริกา

ความสำเร็จยิ่งชัดเจนในอิตาลีที่ประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปถึงราว 63% ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม และนายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี ประกาศว่า อิตาลีฉีดวัคซีนให้ประชาชนต่อ 100 คนมากกว่าในฝรั่งเศส เยอรมนี และอเมริกา

นอกจากนั้น เมื่อวันศุกร์ (6 ส.ค.) ประเทศนี้ยังเริ่มบังคับให้ประชาชนต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม หายป่วยหรือตรวจโควิดได้ผลเป็นลบเมื่อเร็วๆ นี้ หากต้องการเข้าสู่สถานที่สาธารณะในอาคาร ฟิตเนส ดูคอนเสิร์ต ภาพยนตร์ ละคร และไปเที่ยวสถานที่สำคัญ เช่น โคลอสเซียม

ดร.ปีเตอร์ ลีส สมาชิกรัฐสภายุโรปจากเยอรมนี บอกว่า กระบวนการอนุมัติวัคซีนที่ล่าช้าอาจทำให้โครงการฉีดวัคซีนของอียูคืบหน้าช้ากว่าอเมริกาและอังกฤษนานหลายสัปดาห์ในช่วงแรก แต่ตอนนี้กระบวนการดังกล่าวส่งผลดีอย่างชัดเจนในแง่ที่ทำให้ประชาชนมั่นใจและกล้าฉีดวัคซีน อีกทั้งสะท้อนว่า ไม่ใช่แค่ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนในช่วงไม่กี่เดือนแรกเท่านั้น แต่กลยุทธ์ระยะยาวก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

ตัวอย่างยังปรากฏชัดเจนในสเปนที่เมื่อกลางเดือนเมษายนยังมีประชาชนแค่ 7% ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 โดส ขณะที่ตัวเลขของอเมริกาอยู่ที่เกือบ 25% แต่มาถึงตอนนี้ชาวสเปนเกือบ 60% ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ส่วนของอเมริกาเพิ่งได้ 50%

ความพยายามในการฉีดวัคซีนของอียูเริ่มต้นช่วงคริสต์มาสปีที่แล้วพร้อมๆ กับอเมริกา และมีปัญหาในการตอบสนองความต้องการของประชาชนในระยะแรก และกลายเป็นความอับอายทางการเมืองครั้งใหญ่สำหรับเจ้าหน้าที่ยุโรปเมื่อได้เห็นโครงการของอเมริกาและอังกฤษเร่งเครื่องทิ้งห่าง

จิโอวานนา เดอ ไมโญ นักวิชาการอาคันตุกะด้านวิเทศสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ชี้ว่า หนึ่งในอุปสรรคสำคัญของอียูในช่วงแรกคือ การตัดสินใจสั่งซื้อวัคซีนแบบพร้อมกันทั้งกลุ่ม แทนที่จะให้แต่ละชาติสมาชิกสั่งซื้อกันเอง เนื่องจากกลัวว่า ประเทศขนาดเล็กจะไม่สามารถเข้าถึงวัคซีน แต่กลายเป็นว่า ต้องใช้เวลาเจรจากับบริษัทยานานขึ้น

ขณะเดียวกัน อเมริกาแจกจ่ายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ด้วยการรีบเร่งตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนขนาดใหญ่ อีกทั้งยังส่งวัคซีนให้ร้านขายยา ซูเปอร์มาร์เกต และสถานที่อื่นๆ จัดการฉีดให้ประชาชน ขณะที่อียูเน้นการฉีดในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลอื่นๆ เท่านั้นในช่วงแรก

นอกจากนั้น ชาติสมาชิกอียูยังมั่นใจเกินไปว่า ผู้ผลิตจะจัดส่งวัคซีนให้ตามกำหนด ผลปรากฏว่า แอสตร้าเซนเนก้าผลิตไม่ทันและจัดส่งให้บางส่วนเท่านั้น ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนตัวนี้ยังทำให้คนไม่กล้าฉีด แต่หลังจากได้วัคซีนไฟเซอร์ล็อตใหญ่ สถานการณ์ก็คลี่คลายอย่างชัดเจน

ในทางกลับกัน โครงการฉีดวัคซีนของอเมริกาคืบหน้าถึงขีดสุดและดิ่งลงจากความลังเลและการต่อต้านอันเป็นผลจากการเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ และความแตกแยกทางการเมือง

ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม อเมริกาฉีดวัคซีนเฉลี่ยวันละไม่ถึง 600,000 โดส จากสถิติสูงสุด 3.4 ล้านโดสในเดือนเมษายน และการระบาดอย่างรุนแรงของสายพันธุ์เดลตาทำให้จำนวนเคสใหม่รายวันในเดือนที่ผ่านมาพุ่งสูงสุดนับจากเดือนกุมภาพันธ์ และผู้ป่วยอาการหนักส่วนใหญ่คือผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน

ถึงกระนั้น ใช่ว่าทุกอย่างในอียูราบรื่นทั้งหมด โดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำ ตัวอย่างเช่น ในเนเธอร์แลนด์นั้นประชากรวัยผู้ใหญ่ 85% ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส แต่ที่บัลแกเรียตัวเลขอยู่ที่เพียงไม่ถึง 20% นอกจากนี้ยังปรากฏสัญญาณว่า โครงการฉีดวัคซีนของยุโรปเริ่มแผ่วลงเช่นกัน

ที่เยอรมนีที่ประชากร 54% ฉีดวัคซีนครบ 2 โดส ทว่า สถิติการฉีดวัคซีนต่อวันกลับลดจากกว่า 1 ล้านเข็มในเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ราว 500,000 เข็มในขณะนี้

เจ้าหน้าที่เมืองเบียร์ต้องเริ่มรณรงค์โดยเพิ่มสถานที่ฉีดวัคซีนในเมกะสโตร์ รวมทั้งออกมาตรการจูงใจ เช่น รัฐเทือริงเงินแจกไส้กรอก ขณะที่เบอร์ลินจัดดีเจเปิดเพลงในสถานที่ฉีดในช่วงสุดสัปดาห์เพื่อดึงดูดหนุ่มสาว

เดอ ไมโญเชื่อว่า โครงการใบรับรองสุขภาพแบบอิตาลีจะช่วยให้อียูไม่ต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกับอเมริกาที่โควิดกลับมาระบาดหนัก เพราะเศรษฐกิจยุโรปไม่สามารถรองรับการล็อกดาวน์ได้อีกต่อไป
#8787


การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ติดลบต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง โดยจีดีพีในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ติดลบถึง 12.2% ถึงแม้ว่าหลังจากนั้นเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยที่ดีขึ้นเกือบอยู่ในระดับปกติ แต่การระบาดระลอกที่ 2 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ต่อด้วยการระบาดระลอกที่ 3 นับตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา มีความรุนแรงมากขึ้นจนการระบาดระลอกนี้มีผู้ติดเชื้อสะสมถึงวันที่ 8 ส.ค.2564 มีจำนวนถึง 727,642 คน

สถานการณ์ที่เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องทำให้รัฐบาลประกาศขยายพื้นที่กึ่งล็อกดาวน์จาก 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด พร้อมกับการเตรียมงบประมาณสำหรับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก 30,000 ล้านบาท เป็น 60,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่มีโอกาสถดถอย และทำให้บางองค์กรเริ่มปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 เป็นติดลบแล้ว นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยสูงมาก ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่รัฐบาลต้องเตรียมรับมือให้ได้

หากดูประสิทธิภาพการบริหารจัดการในสถานการณ์วิกฤติของรัฐบาลอาจทำให้มีความเชื่อมั่นลดลงต่อการรับมือภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งที่ผ่านมามีการตัดสินใจที่ผิดพลาดในหลายประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะความผิดพลาดในการจัดหาวัคซีนที่หลายประเทศวางแผนอย่างเข้มข้นในช่วงครึ่งหลังปี 2563 ที่จะจัดหาวัคซีนมาให้เพียงพอ ในขณะที่ประเทศไทยจัดหาวัคซีนได้ล่าช้าและปฏิเสธการพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอของหลายฝ่ายที่เสนอแนวทางการเร่งนำเข้าวัคซีน

ประเทศไทยในขณะนี้จึงตกอยู่ในสถานการณ์ขาดแคลนทั้งงบประมาณดำเนินการทำให้ต้องกู้เงินมาบริหารภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งขาดแคลนวัคซีนและอุปกรณ์ตรวจหาเชื้อ โดยถ้ามองย้อนไปปลายปี 2563 คงไม่มีใครคิดว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานการณ์นี้ ดังนั้นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในการบริหารบนสถานการณ์ฉุกเฉิน คือ สมมติฐานในกรณีเลวร้ายที่สุดอย่าเพิ่งรีบตัดออกไป เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอหากสถานการณ์ยังไม่จบ

ลำพังการนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติการระบาดระลอกใหม่นี้ดูเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญสำหรับรัฐบาลปัจจุบัน และเมื่อมาเจอภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงแล้วรัฐบาลจะนำพาประเทศให้พ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปได้หรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาการจัดหาวัคซีนที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของการควบคุมการระบาดยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้เมื่อใด รัฐบาลควรตระหนักถึงโอกาสที่ได้รับจากประชาชนแล้วใช้โอกาสที่ได้รับเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติให้ดีกว่านี้
#8789


ริมถนนนักลงทุน เสิร์ฟความเคลื่อนไหวแวดวงตลาดหุ้น หนึ่งความเคลื่อนไหวน่าสนใจ ยกให้ '3กระแสร้อนแรง' แวดวง 'ตลาดหุ้นไทย' วัคซีนทิพย์หมอบุญ-หุ้น DELTA ราคาสวิงวันแรก หลังหลุด Cash Balance ก่อนปิดท้าย GULF ปิดดีลซื้อ INTUCH ขึ้นแท่นหุ้นใหญ่ 42.25%

๐ ประเด็นร้อนแรงสุดในรอบสัปดาห์นี้คงต้องยกให้ 'วัคซีนไฟเซอร์' ของ 'หมอบุญ วนาสิน' เจ้าของ บมจ. ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป หรือ THG ที่หมอบุญออกมายอมรับว่านำเข้าวัคซีน mRNA ไม่สำเร็จ หรือจะบอกว่า 90% นำเข้าไม่ได้แล้ว เพราะติดอุปสรรคจากภาครัฐและยังมีข้อจำกัดในหลายๆ เรื่อง ทั้งที่จ่ายเงินมัดจำล่วงหน้าไว้แล้วและโดนยึดเงินมัดจำจากนายหน้าไปแล้ว

๐ แต่เรื่องนำเข้าวัคซีนเหมือนไม่สำเร็จของ 'หมอบุญ' ทุกคนจะรับรู้แล้ว ทว่าราคาหุ้น THG ที่วิ่งไปไหนต่อไหนแล้วในช่วงก่อนหน้านี้คงห้ามให้คนสงสัยไม่ได้... ฉะนั้น ทั้ง ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์ฯ หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยต้องส่งหนังสือให้หมอบุญ และ THG รีบชี้แจงด่วนๆ ส่งผลให้ราคาหุ้น THG ร่วงหนัก หลังราคาหุ้นทำ 'จุดสูงสุด' ที่ราคา 33.50 บาท (เมื่อ 16 ก.ค. ที่ผ่านมา) เรื่องแบบนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดในตลาดหุ้น แต่มีมานานแล้ว 

๐ เป็น 'หุ้นมหาเทพ' ในแง่ของการเคลื่อนไหวราคาขึ้น-ลง สำหรับ บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA ที่ปิดท้ายสัปดาห์ (6 ส.ค.) ราคาหุ้นกลับมาเคลื่อนไหว 'ร้อนแรง' อีกครั้ง สวนทางดัชนีหุ้นไทยร่วง !! ฟาก บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุ สาเหตุที่ทำให้ราคา 'หุ้น DELTA' ปรับตัวขึ้นมองได้รับปัจจัยหนุน หลังหลุดมาตรการกำกับการซื้อขาย ทั้งการห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance ตั้งแต่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้วันที่ 6 ส.ค. ที่ผ่านมาเป็นวันแรก ที่สามารถซื้อด้วยบัญชีมาร์จิ้นได้ 

๐ ร้อนถึง !! 'ดร.ภากร ปีตธวัชชัย' เอ็มดี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ต้องออกมาดับความร้อนแรงหุ้น DELTA แต่หัววันด้วยการเตือนผู้ลงทุนระมัดระวังก่อนเข้าซื้อขายในหุ้น DELTA หลัง 6 ส.ค.ที่ผ่านมา สภาพการซื้อขายมีความผันผวนต่อเนื่อง ดังนั้น ก็อาจจะเข้าเงื่อนไขมาตรการกำกับการซื้อขายในระดับ 3 ได้ โดยที่ผู้ลงทุนต้องซื้อด้วยบัญชี cash balance ห้ามนำหลักทรัพย์ DELTA มาวางเป็นหลักประกันในการเพิ่มวงเงิน และห้ามซื้อขายแบบ net settlement

๐ บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF ปิดดีลซื้อ หุ้น อินทัช โฮลดิ้งส์ หรือ INTUCH ขึ้นแท่นผู้ถือหุ้นเบอร์ 1 จำนวน 42.25% แล้ว 'ยุพาพิน วังวิวัฒน์' แย้มคาดในไตรมาส 3 ปี 64 จะเริ่มบันทึกงบของ INTUCH เข้ามาในงบรวมของ GULF ภายหลังได้ทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ โดยได้หุ้นมาจำนวน 23.32% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับหุ้นที่บริษัทถืออยู่เดิม ส่งผลให้บริษัทถือหุ้น INTUCH รวมเป็น 42.25% ในเบื้องต้นบริษัทจะได้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนประมาณ 1,600 ล้านบาท จากกรณีที่ INTUCH ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในอัตรา 1.23 บาทต่อหุ้น ในวันที่ 2 ก.ย. 64 

๐ เล็กพริกขี้หนูจริงๆ สำหรับ บมจ. ธนพิริยะ หรือ TNP ล่าสุดโชว์ตัวเลข 'กำไรสุทธิ' ไตรมาส 2 ปี 2564 สวยหรูอยู่ที่ 43.94 ล้านบาท เติบโต 56.10% 'ธวัชชัย พุฒิพิริยะ' นายใหญ่ TNP ยิ้มแก้มปริรับยอดขายสาขาเดิมเพิ่มขึ้น และ การขยายสาขาใหม่เสริม แย้มโควิด-19 หนุนดีมานด์โตหลังประชาชนกักตุนสินค้า บวกมาตรการรัฐกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านโครงการต่างๆ ผลงานสวยหรูเฉกเช่นนี้ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาล 0.05 บาทต่อหุ้น XD 3 ก.ย.นี้ !!