• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Naprapats

#10576


ประเทศไทยยังมีเส้นเลือดสำคัญที่เป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง จาก"ภาคส่งออก" ที่ขณะนี้ยังมีความต้องการสูงต่อเนื่อง เพราะแม้ว่าทั่วโลกยังอยู่ในสถานการณ์จำเป็นต้องเว้นระยะห่าง หรืองดการเดินทาง แต่ยังคงต้องดำรงชีวิตด้วยสินค้าอุปโภคและบริโภค

ศรัณย เบ็ญจนิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เผยถึงเรื่องนี้ว่า แนวโน้มปริมาณขนส่งสินค้าทางอากาศในช่วงครึ่งปีหลังนี้ กพท.ยังประเมินว่ามีสัญญาณดี โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากความต้องการในสินค้าเกษตรยังมีสูง และไทยยังเป็นฐานส่งออกสำคัญของสินค้าเกษตร ผักและผลไม้

"การส่งออกทางอากาศเรียกว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก เมื่อเกิดการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โดยพบว่าภาพรวมการขนส่งสินค้าทางอากาศลดลงเพียง 25% หากเทียบกับการขนส่งผู้โดยสารที่ลดลงไปถึง 90%และแนวโน้มการขนส่งสินค้าจะยังคงดีแบบนี้ไปได้เรื่อยๆ ประเมินจากสายการบินที่ทำธุรกิจขนส่งสินค้ายังมีคำขอทำการบินเข้ามาอย่างต่อเนื่อง"

อย่างไรก็ดี ตารางบินในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ยังพบว่าสายการบินขนส่งสินค้า อาทิ เค-ไมล์ แอร์ (K-Mile Air) ซึ่งเป็นสายการบินขนส่งสินค้าที่ฐานหลักอยู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยังมีคำขอเพิ่มจำนวนอากาศยานขนส่งสินค้า 3 - 4 ลำ และยังมีเส้นทางขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งสินค้าประเทศปลายทางระยะใกล้อย่างฮ่องกง และสิงคโปร์

นอกจากนี้ ยังพบว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังปรับกลยุทธ์มาทำการบินขนส่งสินค้า โดยใช้สิทธิทำการบินที่เคยขอเปิดบินเส้นทางระหว่างประเทศ และรับบริการขนส่งสินค้าให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การบินไทยได้ลูกค้าเป็นกลุ่มขนส่งสินค้าด่วนพิเศษ สินค้านำเข้า วัคซีนโควิด และสินค้าประเภทผักและผลไม้ จึงถือว่าปัจจุบันธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศยังมีแนวโน้มดี และช่วงครึ่งปีหลังยังคงสดใสต่อเนื่อง


นนท์ กลินทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า ตอนนี้การบินไทยอยู่ระหว่างผลักดันรายได้ขนส่งสินค้าเพื่อเข้ามาเสริมกับรายได้ขนส่งผู้โดยสารที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยพบว่าปัจจุบันรายได้จากการขนส่งสินค้ายังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ความต้องการยังสูง ซึ่งในเดือน ก.ค. - ก.ย.นี้ การบินไทยขยายเที่ยวบินครอบคลุมเอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย รวม 22 เส้นทาง เพื่อตอบรับกับดีมานด์ดังกล่าว

"ช่วงที่ผ่านมาการบินไทยให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ รายได้นี้เข้ามาเป็นรายได้ส่วนหลักขององค์กร ซึ่งระหว่างเดือน เม.ย. 2563 – มิ.ย. 2564 คาร์โก้การบินไทยได้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ จำนวนกว่า 3,500 เที่ยวบิน หลักๆ จะเป็นการขนส่งสินค้าภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ประเภท ผัก ผลไม้ อาหารแช่แข็ง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีน"

จากการประเมินเทรนด์การขนส่งสินค้าทางอากาศยานในช่วงครึ่งปีหลังที่จะเกิดขึ้นนั้น ต้องยอมรับว่าเริ่มเห็นสัญญาณบวกตั้งแต่ครึ่งปีแรก ว่าการขนส่งสินค้าจะเป็นพระเอกสร้างรายได้ให้กับธุรกิจโลจิสติกส์อย่างเห็นได้ชัด เพราะข้อมูลจากกองเศรษฐกิจการบิน ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)

โดยพบว่าปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศในครึ่งแรกของปี 2564 (ม.ค. - มิ.ย. 2564) มีปริมาณสินค้าทั้งหมด 567,743 ตัน เพิ่มขึ้นราว 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปริมาณดังกล่าวแบ่งออกเป็น การขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศมีจำนวน 556,138 ตัน เพิ่มขึ้นราว 14% จากช่วงดียกวันของปีก่อน และการขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศ มีจำนวน 11,605 ตัน ลดลงราว 38% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ ไม่เพียงการขนส่งสินค้าทางอากาศที่ขยายตัวต่อเนื่อง ยังพบว่าการขนส่งสินค้าทางเรือยังเติบโตสอดคล้องกัน โดยข้อมูลสถิติขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค. - มิ.ย. 2564) มีสินค้าขาเข้า รวมประมาณ 27 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับจำนวน 24 ล้านตันในช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีสินค้าขาออก รวม 29 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 7.2% เมื่อเทียบกับจำนวน 27 ล้านตันในช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับปริมาณยอดรวมตู้ ที.อี.ยู ยังมีสูงถึง 4.9 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้นราว 10% เมื่อเทียบกับ 4.5 ล้าน ที.อี.ยู ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
#10577


บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เดินหน้าปรับลดอัตราค่าบริการ EMS ในประเทศสูงสุด 20% ตามเงื่อนไขส่งสิ่งของ/พัสดุ ในปริมาณตั้งแต่ 2-20 กิโลกรัม เพื่อแบ่งเบารายจ่ายของผู้ใช้บริการและลดความเสี่ยงในการออกนอกบ้านเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19

นายดนันท์  สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่า บริการ EMS ส่งด่วนทั่วไทยเป็นบริการที่ตอบโจทย์ประชาชนและร้านค้าออนไลน์ ช่วยพลิกฟื้น SMEs ไทยให้ไปต่อได้ในภาวะวิกฤติ

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยยังได้ปรับปรุงฟีเจอร์บริการใหม่ เพื่อรองรับปริมาณการส่งสิ่งของที่มากขึ้น ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะเริ่มให้บริการในวันที่ 14 สิงหาคม 2564



เขาดล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจค้าขาย ต้องปรับตัวมาขายสินค้าออนไลน์กันมากขึ้น ในทางกลับกันผู้บริโภคที่ต้องพักอาศัยอยู่ที่บ้าน ได้หันมาสั่งของผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นจากเดิม

ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการออกนอกบ้าน ไปรษณีย์ไทยจึงปรับลดอัตราค่าบริการ EMS ในประเทศ ให้แก่ผู้ใช้บริการที่มีปริมาณการส่งสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก โดยอัตราค่าบริการที่ปรับลดลงมีเงื่อนไขเฉพาะการจัดส่งตั้งแต่น้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม จนถึง 20 กิโลกรัม ซึ่งในแต่ละพิกัดน้ำหนักปรับลดสูงสุด 20% ถือเป็นการปรับลดอัตราค่าบริการครั้งใหญ่ ตั้งแต่ที่มีการเปิดให้บริการ EMS มา

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยยังได้พัฒนาฟีเจอร์ของตัวบริการให้มีความรวดเร็วและผู้ใช้บริการใช้งานได้อย่างคล่องตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การใช้ระบบเทคโนโลยีแบบ Real Time ด้วยการแจ้งเตือนผู้รับก่อนการนำจ่าย และการ Pick Up รับฝากถึงที่อยู่ได้ไวขึ้น

ผ่านช่องทาง Line @Thailandpost มีการกำหนดมาตรฐานการจัดส่งในปลายทาง กทม. ให้ถึงภายในวันเดียวหรือไม่เกินวันรุ่งขึ้น และพื้นที่ต่างจังหวัดภายใน 1-3 วัน   เพิ่มโอกาสในการขายด้วยการเรียกเก็บเงินปลายทาง (COD) โดยสามารถเลือกการรับเงินผ่านระบบกระเป๋าเงินไปรษณีย์ (Wallet@post) หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารได้โดยตรง ซึ่งจะมีระบบการแจ้งเตือนสถานะสิ่งของที่อยู่ระหว่างดำเนินการผ่านระบบ Wallet@post หรือ SMS

รวมถึงสามารถเลือกรับสิ่งของได้หลากหลายช่องทาง หากไม่อยู่บ้านหรือไม่สะดวกรับของที่บ้านเมื่อมีการฝากส่งสิ่งของ สามารถไปรอรับได้ที่ ตู้ iBox หรือ Box 24 ที่ตั้งอยู่ในจุดที่มีการเดินทางได้ง่ายและกระจายอยู่ครอบคลุมในย่านใจกลางเมือง โดยไปรษณีย์ไทยปรับระยะเวลาในการสอบสวนภายใน 5 วันทำการ หากสิ่งของได้รับความเสียหาย/สูญหายจะได้รับอัตราการชดใช้ทันทีไม่เกิน 2,000 บาท/ชิ้น
#10578


ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ Live สดผ่าน facebook : คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Ecommerce กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดตัวโครงการ "เกษตรกร Happy" phase 2 เพื่อช่วยเกษตรกรชาวสวนลำไย เงาะ ลองกอง ในการขายผลไม้คุณภาพดี สดจากสวน ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นแผนการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนผลไม้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงและเข้าขั้นวิกฤต จนทำให้มีการเพิ่มมาตรการล็อกดาวน์ทั้งในและต่างประเทศ ตลาดต่างประเทศมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นมากขึ้น ระบบขนส่งระหว่างประเทศเกิดความติดขัด ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน แรงงานและผู้ค้า

 รวมทั้งบริษัทขนส่งในประเทศติดโควิดเพิ่มมากขึ้น ผู้ส่งออกและล้งลดจำนวนลง ในขณะที่ผลไม้อยู่ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวพร้อม ๆ กัน ทั้งมังคุด เงาะ ลำไย และลองกอง เป็นต้น โครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วน โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) รณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทยภายในประเทศ 2) เพิ่มกิจกรรมการค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อระบบการค้าที่เป็นธรรม และ 3) ยกระดับราคา เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ภายใต้แนวคิด "คนกินยิ้มได้ เกษตรกรไทยแฮปปี้" และ "คนไทยไม่ทิ้งกัน"


        และจากการดำเนินโครงการ "เกษตรกร Happy" phase 1 ในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนมังคุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งได้รับความรวมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กรมประชาสัมพันธ์ ททบ.5 กองทัพบก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, บริษัท แกร็บ ประเทศไทย จำกัด, บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด, เครือข่ายร้านธงฟ้า คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Ecommerce คณะกรรมการธุรกิจเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะสื่อมวลชนทุกแขนงที่ช่วยในการสื่อสารรณรงค์จนประสบความสำเร็จ และสามารถระบายมังคุดออกจากกลไกตลาดและรักษาเสถียรภาพราคาได้ในระดับที่น่าพอใจ


"ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันดำเนินโครงการเกษตรกร Happy ซึ่งในวันนี้เป็นการดำเนินโครงการเฟส 2 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนผลไม้ที่กำลังออกตามฤดูกาล ทั้งลำไย ลองกอง และเงาะ โดยในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการในหลายมิติ ทั้งการรณรงค์บริโภคผลไม้ไทย การขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้อุดหนุนผลไม้ไทย และได้มอบ หมายปลัดเกษตรฯ ตั้งทีมกระจายผลไม้เฉพาะกิจ เพื่อประสานงานไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ

            สำหรับการแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกลำไย ตามที่จีนมีหนังสือเพื่อให้ไทยสั่งระงับการส่งออกลำไยจาก66 ล้งที่ตรวจพบเพลี้ยแป้งปนเปื้อน นั้น กรมวิชาการเกษตรอยู่ระหว่างเจรจากับจีนโดยต่อรองให้จีนอนุโลมให้ล้งที่ตรวจพบเพลี้ยแป้งไม่มาก และไทยพร้อมจะสุ่มตรวจเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 % เป็น 5-10 %  คาดว่าจีนจะรับข้อเสนอของไทย  

            นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ ยังอยู่ระหว่างประสานกับเวียดนามเพื่อให้เปิดตลาดกับไทยด้วย  อย่างไรก็ตาม การดำเนินการจะประสบความสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน กระทรวงเกษตรฯ จึงพยายามเพิ่มช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นและง่ายที่สุด จึงขอเชิญชวนให้พี่น้องหันมาบริโภคผลไม้ไทย และร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน

ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งในตลาดโลกและตลาดภูมิภาค เช่น มีพื้นที่เพาะปลูกถึง 7 ล้านไร่ สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกถึง 1 แสนล้านบาทต่อปี ทั้งผลไม้สด ผลไม้แช่แข็ง และผลไม้แปรรูป ซึ่งในปี 2564 ได้ประมาณการว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 23% จากปีที่ผ่านมา จาก 4.4 ล้านตัน เป็น 5.4 ล้านตัน และถึงแม้ว่าเราจะเผชิญกับสถานการณ์การโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563

 

กระทรวงเกษตรฯ ได้บริหารจัดการเชิงรุก โดยได้เร่งพัฒนาการบริหารผลไม้จัดการทั้งระบบ ตั้งแต่การผลิต การสร้างมาตรฐาน GAP/GMP การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างแบรนด์ผลไม้ การบริหารโลจิสติกส์ ตลอดจนการตลาดสมัยใหม่ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ทำให้ในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ผลไม้สามารถครองแชมป์การส่งออก ด้วยอัตราการเติบโตสูงถึง 185% ทุเรียนส่งออกขยายตัว 172% และมังคุดเติบโตถึง 488% ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรโดยรวม มีมูลค่า 71,473 ล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัวสูงสุดถึง 59.8% นับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 10 ปี และเป็นการขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่องกัน
#10579
คิดจะถมที่ ปลูกบ้าน หรือ สร้างโรงงาน ยินดีให้คำปรึกษา เริ่มที่เราจบที่เรา ไม่ทิ้งงาน 080-022-3804
#10580


ริมถนนนักลงทุน เสิร์ฟความเคลื่อนไหวแวดวงตลาดหุ้น หนึ่งความเคลื่อนไหวน่าสนใจ ยกให้ 'หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล' ที่หลายตัวประกาศงบไตรมาส 2 ปี 64 ออกมา 'โดดเด่น' หลังได้รับผลกระทบเชิงบวกจากโควิด-19 ตัวเลขติดเชื้อพุ่ง

๐ หากดูงบไตรมาส 2 ปี 2564 ที่ทยอยออกมา หนึ่งในธุรกิจที่มีผลดำเนินงานเติบโต 'โดดเด่น' ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 คงต้องยกให้ 'ธุรกิจโรงพยาบาล' สะท้อนผ่านกำไรสุทธิสองโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อย่าง บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ หรือ BDMS โชว์กำไรสุทธิ 1,452.16 ล้านบาท เติบโต 217% จากช่วงเดียวกันปีก่อนกำไรสุทธิ 457.82 ล้านบาท 

๐ ขณะที่ บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล หรือ BCH คาดมีโอกาสกำไรไตรมาส 2 ปี 2564 จะออกมาดีกว่าคาด 180% จากไตรมาสก่อน และ 225% จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังหลายโรงพยาบาลที่ประกาศออกมาแล้วดีกว่าคาดอย่างมีนัยสำคัญจากรายได้เกี่ยวเนื่องกับ COVID-19 ที่พุ่งขึ้น ฟาก 'กูรู' เชื่อว่ากลุ่มโรงพยาบาลยังคงได้รับผลกระทบเชิงบวกจากภาวะ COVID-19 ที่ยังคงรุนแรง และยังคงคำแนะนำ 'ซื้อ' ทุกบริษัท 

๐ หุ้น ไซแมท เทคโนโลยี หรือ SIMAT มีเสน่ห์อะไร ? ถึงดึงดูด 'นักธุรกิจ-นักลงทุน' อย่าง 'สุระ คณิตทวีกุล' ครอบครองหุ้น SIMAT จำนวน 15,466,000 หุ้น คิดเป็น 2.38% แต่ที่ชัวร์คือธุรกิจของ SIMAT กำลังเทิร์นอะราวด์อย่างสวยงาม สะท้อนผ่านผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2564 ที่มีกำไรสุทธิ 17.08 ล้านบาท !! ส่วนรายได้อยู่ที่ 257.40 ล้านบาท

๐ และล่าสุดคว้า 'ธีรวุฒิ กานต์นิภากุล' อดีตรองผู้อำนวยการอาวุโสฝ่าย Equity Derivative บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) เข้ามารับตำแหน่ง 'ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงทุน' ของ SIMAT เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรแห่งนี้ใหม่และแสวงหาโอกาสลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็น New S-Curve เหมือนอย่างที่ 3 ปีก่อน ที่บริษัทซื้อกิจการ บริษัท ฮินซิซึ (ประเทศไทย) หรือ HST ถือหุ้น 70% ซึ่งในปัจจุบันกำลังสร้างกำไรให้เป็นกอบเป็นกำ !!




๐ ผลดำเนินงานเติบโตยังไม่แผ่ว 'ตัน ภาสกรนที' นายใหญ่ บมจ. อิชิตัน กรุ๊ป หรือ ICHI หลังแจ้งผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2564 กำไรสุทธิ 164.3 ล้านบาท และรายได้ 1,492.7ล้านบาท งานนี้ 'เฮียตัน' บอกว่า รายได้-กำไรสุทธิเติบโตจากการปรับกลยุทธ์สู้โควิด-19 ส่งผลิตภัณฑ์เจาะตลาดค้าปลีกรายย่อย และกลุ่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเจาะตลาดต่อเนื่อง มุ่งขยายฐานลูกค้า พร้อมจัดทัพสินค้าสุขภาพบุกตลาดในครึ่งปีหลัง เตรียมรับข่าวดีจาก 'ธุรกิจรับจ้างผลิต' (OEM) ที่จะปิดดีลเพิ่มภายในปีนี้

๐ ผลงานไตรมาส 2 ปี 2564 ยังสวยงามต่อเนื่อง ล่าสุด 'กลุ่มเจมาร์ท' โชว์กำไรสุทธิ 232.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44.5% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และมีรายได้รวมอยู่ที่ 2,648.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.9% งานนี้ 'อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา' เจ้าของอาณาจักร บมจ. เจ มาร์ท หรือ JMART การันตีการเติบโตนั้นมาจากธุรกิจด้านการเงินที่เป็นหัวหอกในการส่ง "กำไร" เข้ามาต่อเนื่อง พร้อมมองผลงานครึ่งปีหลังยัง 'ร้อนแรง' ต่อเนื่องอีก 



๐ แม้สถานการณ์โควิด-19 รุนแรง แต่ 'อดิศักดิ์' ณ กลุ่มเจมาร์ท ไม่หวั่น !! หลังบริษัทปรับกลยุทธ์ใหม่ นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นขับเคลื่อนในธุรกิจยุคดิสรัปฯ หนุนโอกาสโตกระโดดจากความพร้อมในการ Synergy การพัฒนาเทคโนโลยีและฟินเทคที่เริ่มเห็นภาพชัดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ ขณะที่แผนจับมือพันธมิตรจะเริ่มเห็นความคืบหน้าในเร็วๆ นี้แล้ว 

๐ ข่าวร้ายของคนรัก 'ทองคำ' หลังราคาทองคำปรับตัวลดลงหลุด 2 แนวรับสำคัญ 1,790 และ 1,751 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เหตุตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ออกมาดีเกินคาด ส่งผลดอลลาร์สหรัฐเริ่มแข็งค่าสวนทางทองคำ คาดอาจเป็นสัญญาณให้เฟดลดการทำ QE ภายในสิ้นปีนี้ และนี่อาจจะกำลังส่งสัญญาณราคาทองคำเข้าสู่ 'ขาลง' ชัดเจนหรือเปล่า... 'ฐิภา นววัฒนทรัพย์' หญิงเก่ง บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG) แนะนำสำหรับคนที่ต้องการขายเพื่อลดความเสี่ยง มองว่าสามารถขายได้ที่แนวต้าน 1,751-1,755 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 27,700 บาท จุดนี้ถือเป็นแนวต้านระยะสั้นสำคัญ
#10581


เพจเฟซบุ๊ค Trash Hero Thailand รณรงค์ให้ใช้มาสก์แบบใช้ซ้ำแทนมาสก์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อลดปัญหาต่อสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยระบุถึงปัญหาที่เกิดขึ้น "ใช้ครั้งเดียว=ภัยสามต่อ" พร้อมอธิบายว่า

ทุกคนรู้ดีว่าหนึ่งในมาตรการหลักที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 คือการใช้หน้ากากหรือมาสก์หน้า วางอยู่เหนือจมูกและปาก เพื่อป้องกันละอองฝอยเข้าทางเดินหายใจซึ่งส่งเชื้อไวรัส และหยุดการแพร่กระจายไปยังผู้อื่น

หน้ากากมีหลายประเภท แต่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าช่วยป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 คือการใช้หน้ากากอนามัยที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทั้งที่จริงถ้าเราอยู่ภายนอกสถานที่กักกันโรค โรงพยาบาล แหล่งแพร่ระบาด ไม่ได้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ด่านหน้า การใช้หน้ากากแบบผ้าก็สามารถใช้ป้องกันความปลอดภัยในระดับที่ยอมรับได้ และไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ทั่วโลกเราใช้มาสก์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งประมาณ 129 พันล้านชิ้นทุกเดือน สมมติว่าแต่ละรายการมีน้ำหนัก 4 กรัม นั่นคือ 516,000 เมตริกตันของขยะอันตรายที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งเกิดขึ้นทุกๆ 30 วัน หากมีเพียง 1% ของสิ่งนี้กลายเป็นขยะ (ประมาณการแบบอนุรักษ์นิยม) นั่นหมายความว่าหน้ากาก 23 พันล้านชิ้นได้เข้าสู่แม่น้ำ มหาสมุทร และป่าไม้ของเราในช่วง 18 เดือนนับตั้งแต่เกิดโรคระบาด และแน่นอนว่ายังมีของเสียปนเปื้อนเพิ่มเติมอีกหลายแสนตันสำหรับเทศบาล ชุมชนที่จะจัดการ สมมติว่าพวกเขามีความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้

สถิติดังกล่าวเป็นปัญหาน่าวิตก ซึ่งจากประสบการณ์ของแทรชฮีโร่ในการทำความสะอาดทั่วโลกในปี 2020 และ 2021 ตามบทบาทของแทรชฮีโร่ ที่วางระบบบันทึกจำนวนมาสก์แบบใช้ครั้งเดียว และ PPE อื่นๆ ทุกสัปดาห์ในระดับเครือข่าย เพื่อจะสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาที่พวกเรามองว่าเป็นภัยคุกคามสามประการของมาสก์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ข้อมูลอ้างอิง https:// trashhero.org/single-use-mask-pollution/,Trash Hero Thailand
#10583
 
ขายยางรถบรรทุก ดับเบิ้ลสตาร์ doublestar
ยางรถบรรทุก ขายยางรถบรรทุก ขายยางดับเบิ้ลสตาร์ ดับเบิ้ลสตาร์ doublestar ขายยางdoublestar
ยางดับเบิ้ลสตาร์ ยางรถบรรทุก ยางรถบรรทุกชลบุรี ชลบุรี  ยางรถสิบล้อ  ร้านยางรถยนต์ชลบุรี DOUBLESTAR ตัวแทนจำหน่ายยางรถบรรทุกชลบุรี มังกรเทรดดิ้ง doublestar thailand ยางรถบรรทุก ยางดับเบิ้ลสตาร์
ดับเบิ้ลสตาร์ doublestar ยางรถบรรทุกชลบุรี
ยางรถสิบล้อ

ยางรถบรรทุก  ขายยางรถบรรทุก  ขายยางดับเบิ้ลสตาร์  ดับเบิ้ลสตาร์  doublestar ขายยางdoublestar
https://www.doublestarthailand.com/
#10586
คิดจะถมที่ ปลูกบ้าน หรือ สร้างโรงงาน ยินดีให้คำปรึกษา เริ่มที่เราจบที่เรา ไม่ทิ้งงาน 080-022-3804
#10587
สนใจติดต่อคุณเป้ง 087-347-6299
https://gladnessaccounting.co.th

สำนักงานบัญชีนนทบุรี  สำนักงานบัญชีบางกรวย  สำนักงานบัญชีบางใหญ่  สำนักงานบัญชีบางบัวทอง  สำนักงานบัญชีไทรน้อย  สำนักงานบัญชีปากเกร็ด  สำนักงานบัญชีบางศรีเมือง  สำนักงานบัญชีพิมลราช  สำนักงานบัญชีบางคูรัด  สำนักงานบัญชีบางรักพัฒนา  สำนักงานบัญชีบางแม่นาง  สำนักงานบัญชีบางกร่าง  สำนักงานบัญชีไทรม้า  สำนักงานบัญชีตลาดขวัญ  สำนักงานบัญชีบางตะไนย์  สำนักงานบัญชีบางพลับ  สำนักงานบัญชีบางรักน้อย  สำนักงานบัญชีมหาสวัสดิ์  สำนักงานบัญชีศาลากลางนนทบุรี  สำนักงานบัญชีอ้อมเกร็ด  สำนักงานบัญชีแจ้งวัฒนะ  สำนักงานบัญชีถนนกาญจนาภิเษกนนทบุรี  สำนักงานบัญชีถนนจงถนอม-ไทรน้อย  สำนักงานบัญชีถนนชัยพฤกษ์  สำนักงานบัญชีถนนติวานนท์  สำนักงานบัญชีถนนทวีวัฒนา  สำนักงานบัญชีถนนเทศบาลจังหวัดนนทบุรี  สำนักงานบัญชีถนนเทิดพระเกียรติ  สำนักงานบัญชีท่าอิฐ  สำนักงานบัญชีถนนนครอินทร์  สำนักงานบัญชีบางม่วง  สำนักงานบัญชีบางกรวย-จงถนอม  สำนักงานบัญชีถนนบางไกรใน  สำนักงานบัญชีบางกรวย-ไทรน้อย  สำนักงานบัญชีบางคูเวียง  สำนักงานบัญชีบางศรีเมือง  สำนักงานบัญชีถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม  สำนักงานบัญชีไทรม้า  สำนักงานบัญชีถนนพิบูลสงคราม  สำนักงานบัญชีถนนราชพฤกษ์  สำนักงานบัญชีตลิ่งชัน  สำนักงานบัญชีถนนเรวดี  สำนักงานบัญชีถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี  สำนักงานบัญชีถนนศรีสมาน  รับทำบัญชี
#10588


กลายเป็น TALK OF THE TOWN ในทันที่ สำหรับ "ฟ้าทะลายโจร" หลังจากมีข่าว "การถอนผลวิจัย" ที่ชื่อว่า "Efficacy and safety of Andrographis paniculata extract in patients with mild COVID-19: A randomized controlled trial" ของคณะวิจัยจากประเทศไทย ซึ่งกำลังได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ และเผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ "เมดอาซีฟ" (www.medrxiv.org) เว็บไซต์คลังงานวิจัยที่เป็นต้นฉบับที่ยังไม่ตีพิมพ์เกี่ยวกับการแพทย์ การทดลองทางคลินิก และวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ

งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นผลงานของนักวิจัย 7 คน โดย 5 คนมาจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข อีก 2 คนมาจากโรงพยาบาลสมุทรปราการ และสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่อเรื่องปรากฏต่อสาธารณชน ความสับสนอลหม่านก็เกิดขึ้นไปทั่วประเทศ เนื่องจากเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา "คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ" ได้เพิ่มยาสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร และยาจากผงฟ้าทะลายโจร เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ให้เป็นยาที่ใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงน้อย และประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาต่างก็พากันไปซื้อฟ้าทะลายโจรมาใช้เป็นจำนวนมาก

กระทั่ง "พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์" อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ต้องตั้งโต๊ะแถลงข่าวเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 ว่า การขอถอนข้อมูลงานวิจัยชิ้นดังกล่าวไม่ได้เป็นการถูกปฏิเสธจากวารสารวิชาการ แต่นักวิจัยไทยได้ขอถอนงานวิจัยกลับมาชั่วคราว เนื่องจากพบ "ความผิดพลาดของสถิติหนึ่งจุด" และระบุว่าผลลัพธ์การทดลองที่มีความคลาดเคลื่อนทางสถิติดังกล่าวไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีการกินยาหรือจ่ายยาฟ้าทะลายโจรในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19

หรือแปลไทยเป็นไทยก็คือ ยังสามารถใช้ "ฟ้าทะลายโจร" ในการต่อสู้กับโควิด-19 ได้ต่อไป

อย่างไรก็ดี ถ้าหากสังคมพินิจพิเคราะห์ "ปรากฏการณ์ถอนงานวิจัยฟ้าทะลายโจร" ที่เกิดขึ้นก็จะพบ "ความผิดปกติ" โดยเฉพาะกรณี "ความผิดพลาดของสถิติจุดหนึ่ง" ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้กับ "งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์" ที่ต้องมีความแม่นยำก่อนที่จะเผยแพร่ผลงานออกไปสู่สาธารณชน ยิ่งเป็นการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศด้วยแล้ว ยิ่งไม่ใช่เรื่องที่จะทำ "มั่วซั่ว" ได้ เพราะต้องไม่ลืมว่านี่คือ "งานวิจัยทางการแพทย์ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์" ซึ่งไม่ใช่ "งานวิจัยทางสังคมศาสตร์" ที่สามารถมีข้อโต้แย้งในภายหลังหากพบ "หลักฐานใหม่"

หลายคนตั้งคำถามว่า หรือจะเป็นเพราะ "คณะวิจัย" ทำด้วย "ความเร่งรีบ" หรือทำงานภายใต้ "ภาวะกดดันบางประการ" จนทำให้เกิด "ความผิดพลาดของสถิติหนึ่งจุด" ซึ่งก็มีความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้

ขณะที่อีกหลายคนก็อาจตั้งคำถามว่ามี "อะไรในกอไผ่" หรือไม่ดังสมมติฐานและเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น เหมือนดังที่ "ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์" คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งคำถามเอาไว้ว่า "มีคำถามอยู่ว่างานระดับที่ป้อนข้อมูลและใช้การคำนวณโดยโปรแกรมเช่นนี้ เกิดความผิดได้อย่างไร? จนถึงขั้นแปลผลผิดจากแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลายเป็นแตกต่างกันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ" (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหน้า 48)

ทีนี้ มาดูรายละเอียดในงานวิจัยชิ้นนี้กันว่า เป็นอย่างไร

พญ.อัมพร อธิบายรายละเอียดเอาไว้ว่า งานวิจัยนี้นี้เริ่มต้นในช่วงที่ยังไม่มียาตัวใดเลยที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่าสามารถฆ่าไวรัสโคโรนาหรือรักษาโรคโควิด-19 ได้โดยตรง จึงมีการทดลองและเก็บข้อมูลการใช้ยาชนิดต่าง ๆ ที่คาดว่าจะใช้รักษาโควิดได้ เช่น ฟาวิพิราเวียร์ เรมเดซิเวียร์ และสมุนไพรฟ้าทะลายโจร โดยเป็นการทดลองแบบสุ่มโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ ใช้ผู้ป่วยโควิดอาการเล็กน้อยอายุตั้งแต่ 18-60 ปี จำนวน 57 คน ที่ยืนยันการตรวจพบเชื้อไวรัสด้วยวิธี RT-PCR แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งกินสารสกัดฟ้าทะลายโจร อีกกลุ่มกินยาหลอก หรือเม็ดยาเปล่า ๆ ที่ไม่ได้มีฟ้าทะลายโจร

"พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์" อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
"พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์" อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

จากผู้ป่วย 57 ราย ในกลุ่มผู้ได้รับสารสกัดฟ้าทะลายโจร 29 ราย ไม่พบอาการปอดอักเสบ แต่ในกลุุ่มที่ได้ยาหลอก 28 ราย พบอาการปอดอักเสบ 3 ราย คิดเป็น 10.7%

สำหรับเรื่องความคงอยู่ของตัวไวรัสในวันที่ 5 พบผู้ป่วยกินสารสกัดฟ้าทะลายโจร ใน 29 ราย ไวรัสอยู่แค่ 10 ราย (34.5%) ส่วนผู้ป่วยกลุ่มกินยาหลอก 28 ราย เจอว่าไวรัสยังอยู่ 16 ราย (57.1%)

ขณะที่ในเรื่องความคลาดเคลื่อนนั้นอยู่ที่ค่านัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ยาหลอกในการทดลอง โดยค่านัยสำคัญทางสถิติที่คำนวณได้ครั้งแรกมีความคลาดเคลื่อน กล่าวคือตอนแรกคำนวณได้ว่าเป็น 0.03 และได้นำเสนอไป แต่เมื่อได้กลับพิจารณาอีกครั้ง จึงค้นพบว่ามีจุดอ่อนอยู่จุดหนึ่งแทนที่จะเป็น 0.03 ก็เป็น 0.112 หรือหมายความว่า หากมีการทดลอง 100 ครั้ง การค้นพบว่าผลลัพธ์คงเดิมจะอยู่ที่ประมาณ 97 ครั้ง ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจมาก แต่ตัวเลขที่คำนวณถูกต้อง หรือ 0.112 จะหมายความได้ว่า หากมีการทดลอง 100 ครั้ง ผลลัพธ์ที่เจอว่าเหมือนเดิมจะอยู่ที่ 90 ครั้ง ความคงที่จะลดลงมาในระดับหนึ่ง

วิญญูชนก็น่าจะ "คิด วิเคราะห์ แยกแยะ" พร้อมตั้งคำถามได้ว่า เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เลยแม้แต่น้อย

เอาเป็นว่า หลังจากที่ถอนผลวิจัยออกมาแล้ว คงต้องติดตามกันต่อไปว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับการปรับปรุง "ความผิดพลาดทางสถิติหนึ่งจุด" ดังกล่าว การวิจัยจะเสร็จสิ้นเมื่อไหร่และจะมีการนำเสนอเพื่อกลับไปตีพิมพ์เหมือนเดิมด้วยข้อมูลที่ออกมาในลักษณะไหน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ "ไม่อาจกระพริบตา" ได้เลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่ติดตามเรื่องฟ้าทะลายโจรมาอย่างต่อเนื่อง คงต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมามีความพยายามที่จะ "ด้อยค่าฟ้าทะลายโจร" จาก "แพทย์แผนปัจจุบัน" ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากที่ "นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์" ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งออกมาโพสต์เรื่องการถอนผลวิจัยฟ้าทะลายโจรเป็นรายแรกๆ จนต้องออกมาโพสต์แก้ไขซ้ำอีกครั้ง

นพ.สันต์โพสต์เอาไว้ว่า "คณะผู้วิจัยชาวไทยที่ทำวิจัยฟ้าทะลายโจรรักษาโควิดได้ขอถอนต้นฉบับของตัวเองกลับออกมาจากเว็บไซต์งานวิจัยรอตีพิมพ์ (medRxiv) เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในการคำนวณเชิงสถิติในประเด็นการคิดค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value) คิดไม่ถึงว่าจะมีผู้ตัดเอาบทความของตนครึ่งบรรทัดไปโพนทะนาผ่านทางหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆ ว่า ฟ้าทะลายโจรใช้รักษาโควิดไม่ได้ ผลเสียแล้วควรต้องเลิกใช้ ซึ่งเป็นการตัดบทความเอาไปแค่บรรทัดเดียวแล้วเอาไปกระเดียดที่ได้ผล ทั้งนี้ ตนขอแก้ไขคำพูดใหม่ เป็นหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนให้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคโควิด-19 ในคนยังมีไม่มากพอ เพราะยังขาดงานวิจัยระดับ RCT จึงต้องทำวิจัยซ้ำโดยการขยายกลุ่มตัวอย่างให้ใหญ่ขึ้น เพราะการที่กลุ่มตัวอย่างเล็กได้ค่า p มากกว่า 0.05 ก็บอกได้แค่ว่ายังบอกไม่ได้ว่าความแตกต่างในผลการรักษา คือการเกิดปอดบวม ในทั้งสองกลุ่มมันต่างกันจริงหรือไม่ การจะรู้ได้ก็ต้องมีกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่กว่านี้ ไม่ได้บ่งชี้ว่าการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคโควิด-19 ไม่ได้ผล ซึ่งยาคู่แข่งกันที่ใช้ในเมืองไทยอีกตัว คือ Favipiravir ก็มีข้อมูลน้อยประมาณเดียวกัน คือทุกอย่างติดอยู่ที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ"

"แต่ฟ้าทะลายโจรมีความพิเศษกว่า Favipiravir ตรงที่แค่ทำวิจัยซ้ำขยายกลุ่มตัวอย่างให้ใหญ่ขึ้นอีกนิดเดียว ก็จะเห็นดำเห็นแดงแล้วว่าได้ผลหรือไม่ได้ผลต่างจากยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ อีกทั้งฟ้าทะลายโจรเป็นพืชสามัญในท้องถิ่น หาง่ายกว่า ราคาถูกกว่า มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติมากกว่า ในแง่การค้าขายระดับนานาชาติ หากจะขายฟ้าทะลายโจรก็ต้องมีงานวิจัยระดับ RCT สนับสนุน ตัวหมอสันต์จึงลุ้นตัวโก่งให้ทำงานวิจัยนี้ต่อให้เบ็ดเสร็จสะเด็ดน้ำ โดยยินดีช่วยทุกอย่างเท่าที่หมอแก่คนหนึ่งจะช่วยได้"

หรือแม้กระทั่ง "กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก" เอง โดยเฉพาะตัว "อธิบดี" เองที่ให้สัมภาษณ์ในการแถลงข่าวเรื่องการถอนผลงานวิจัยเอาไว้ว่า "เราไม่ได้ต้องการให้เชื่อมั่นในฟ้าทะลายโจรจนเกินความพอดี ใช้กันอย่างพร่ำเพรื่อโดยไม่ระมัดระวัง อันนี้ถือเป็นแรงกระตุกที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม" ซึ่งฟังดูแล้วต้องใช้คำว่า "แปลกๆ" ทั้งๆ ที่ "คณะทำงานหลัก" ของการวิจัยชิ้นนี้ก็มีถึง 5 คนที่มาจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเอง

คำว่า "อันนี้ถือเป็นแรงกระตุกที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม" หมายความว่า ดีแล้วที่มีการถอนการวิจัยออกมาเช่นนั้นหรือ?

แล้วที่เป็น "ดรามา" ไม่แพ้กันคือ "หมอแล็บคนดัง" ที่ไปแชร์ข้อความจากเฟซบุ๊กของแพทย์คนหนึ่ง พร้อมระบุว่า งานวิจัยฟ้าทะลายโจรชิ้นนี้ผู้วิจัยขอถอนออกไปแล้ว เพราะคำนวณสถิติผิดพลาด สรุปที่ถูกต้องสำหรับงานวิจัยนี้คือ "ฟ้าทะลายโจรไม่แตกต่างจากยาหลอก" ซึ่งมีคนวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียดอย่างที่ "หมอสันต์" ว่า จนเกิดปรากฏการณ์ "ทัวร์ลง" ทว่า "หมอแล็บคนดัง" ก็ออกมาโพสต์ข้อความในเพจว่า "เสียใจ หาฟ้าทะลายโจรมาให้ผู้ป่วยเยอะมาก ล่าสุดแชร์งานวิจัยที่ถูกถอนแค่งานวิจัยเดียว โดนหาว่าด้อยค่าฟ้าทะลายโจรไปอีกครับ ชีวิตอดสูมาก นอนแพ้บ"

แต่ความจริงก็คือความจริงวันยังค่ำ เพราะความจริงก็คือ ในเฟซบุ๊กหมอแล็บคนดังได้ลบข้อความที่ระบุว่า "งานวิจัยฟ้าทะลายโจรชิ้นนี้ถูกถอดออกไปแล้วครับ เพราะคำนวณสถิติผิดพลาด สรุปที่ถูกต้องสำหรับงานวิจัยนี้คือ ฟ้าทะลายโจรไม่แตกต่างจากยาหลอก" ออกจากเพจไป ซึ่งมิอาจมองเป็นอื่นได้ว่า ฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียด ด้วยมีผู้ "แคปข้อความ" เอาไว้ได้เป็นหลักฐานชัดเจน

ความจริง ก็ไม่ใช่เรื่องอะไรใหญ่โตมากนักสำหรับ "หมอแล็บคนดัง" ถ้าหากจะยอมรับความผิดพลาดอย่างบริสุทธิ์ใจ แต่การที่แถไถและลบข้อความออกไป ทำให้นักเทคนิคการแพทย์ผู้นี้ถูกมองว่า "ด้อยค่าฟ้าทะลายโจร" อย่างที่เจ้าตัวบ่นพึมพำในเพจเฟซบุ๊กของตัวเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ที่สำคัญคือ การใช้คำว่า "ฟ้าทะลายโจรไม่ต่างจากยาหลอก" ถือเป็นคำที่นัยสำคัญมาก

ในทางการแพทย์ "ยาหลอก" (Placebo) ก็คือยาที่ถูกสร้างขึ้นมา โดยทำให้มีลักษณะ สี และขนาดต่าง ๆ ให้ดูคล้ายกับยาทั่วไป แต่ไม่มีสารออกฤทธิ์ทางการแพทย์ มีส่วนประกอบหลักที่ทำมาจาก แป้งหรือน้ำตาล จากนั้นก็นำไปให้ผู้ป่วยรับประทานเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่คนไข้มีอาการต่างๆ ดีขึ้น จากการให้ยาที่ไม่ได้มีตัวยาอยู่จริง โดยมีการนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1785

ที่สำคัญคือ ในการทดลองพบว่า ยาหลอกก็มีผลต่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เช่นกันแม้ไม่มีสารออกฤทธิ์ทางการแพทย์

แต่ในความเข้าใจของประชาชนคนทั่วไป เมื่อเห็นคำว่า "ยาหลอก" มักเข้าใจว่าคือ "ยาปลอม" ซึ่งไม่ถูกต้อง

ดังนั้น การที่ใช้คำว่า "ไม่ต่างจากยาหลอก" จึงเสมือนเป็นการ "ด้อยค่าฟ้าทะลายโจร" ทั้งในทางการแพทย์คือมองว่าเป็นยาที่ไม่มีสารออกฤทธิ์กับโควิด-19 ทั้งในความรู้สึกของประชาชนที่อาจเข้าใจว่าเป็น "ยาปลอม" ไปเลยก็ได้

ทั้งๆ ที่มีผลวิจัยและผลการศึกษามากมายที่ยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยของฟ้าทะลายโจร หนึ่งในนั้นก็คือสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เผยแพร่ผลการศึกษาเรื่อง "ฟ้าทะลายโจร" เอาไว้ดังนี้

"สืบเนื่องจากมีผู้เผยแพร่ข้อมูลว่าใช้ฟ้าทะลายโจรแล้วทำให้ตับพัง จากงานวิจัยฟ้าทะลายโจรในต่างประเทศที่ใช้ฟ้าทะลายโจรทั้งชนิดผงและสารสกัด ในการรักษาอาการหวัด หลอดลมอักเสบ ไม่มีรายงานว่าฟ้าทะลายโจรก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ นอกจากนั้นในการศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับความปลอดภัยและการเปลี่ยนแปลงสภาพยาของการใช้ผงฟ้าทะลายโจรปริมาณ 12 แคปซูล (4.2 กรัม) ต่อวัน ติดต่อกัน 3 วัน (มีปริมาณสาร Andrographolide 97 มิลลิกรัมต่อวัน) ไม่พบว่าการทำงานของเอนไซม์ตับ AST (Aspartate Aminotransferase) และ ALT (Alanine Aminotransferase) ผิดปกติ (Suriyo et al., 2017) สำหรับการศึกษาความปลอดภัยและการเปลี่ยนแปลงสภาพยาของสารสกัดฟ้าทะลายโจรปริมาณ 9 แคปซูล ต่อวัน (มีปริมาณสาร Andrographolide ขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน) [อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษา] ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน ซึ่งเป็นการเพิ่มทั้งขนาดและระยะวันการได้รับฟ้าทะลายโจร ก็ไม่พบการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเอนไซม์ตับเช่นกัน

"แต่หากใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรที่มีปริมาณสาร Andrographolide ในขนาดสูงถึง 360 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกัน 7 วัน จะพบการเปลี่ยนแปลงของ AST เล็กน้อย ในอาสาสมัคร 1 คนใน 12 คน ซึ่งค่าเอนไซม์ตับที่สูงขึ้นนี้จะกลับเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนค่าเอนไซม์ ALT จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอาสาสมัคร 4 คน ซึ่งคิดเป็น 33.33% แต่การทำงานของเอนไซม์ก็จะกลับเป็นปกติภายใน 1-3 สัปดาห์ ดังนั้นขนาดของสาร Andrographolide ที่เหมาะสม คือ 180 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน จึงไม่ควรใช้ในขนาดและระยะเวลานานเกินกว่านี้

"เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมากที่ต้องการยารักษาโรคโควิด-19 และยาฟ้าทะลายโจรก็เป็นสมุนไพรที่ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั้งกลไกการออกฤทธิ์ อาการข้างเคียง และการศึกษาในทางคลินิกในผู้ติดเชื้อจริง ทั้งในประเทศไทยและประเทศจีน ซึ่งได้มีการใช้ในรูปแบบผง สารสกัด และการพัฒนาสารอนุพันธ์ Andrographolide ให้อยู่ในรูปแบบยาฉีด ดังนั้นหากมีการพบการติดเชื้อโควิด-19 จึงควรใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรทั้งรูปแบบผงและสารสกัดทันที ในขนาดและระยะเวลาที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นยาที่มีประโยชน์มากและมีความปลอดภัยในระดับที่รับได้ เป็นการช่วยลดภาระของรัฐบาลและช่วยระบบสาธารณสุขของชาติได้"

จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นเกี่ยวกับ "ฟ้าทะลายโจร" ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและเต็มไปด้วยอุปสรรคนานัปการ ฟันธงแบบไม่กลัว "ธงหัก" ได้เลยว่า สงครามโควิด-19 ซีซั่นใหม่นี้ ไม่อาจกระพริบตาด้วยมีความลึกลับซับซ้อนและปริศนาในทุกมิติเลยทีเดียว.
#10590
ท่อเฟล็กซ์สแตนเลส