• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Joe524

#10786


เมื่อวันที่ 1 ก.ย. รถไฟฟ้าบีทีเอสได้ออกประกาศ เรื่อง สิ้นสุดการจำหน่ายโปรโมชั่นเที่ยวเดินทาง 30 วัน ระบุว่า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ขอแจ้งให้ทราบว่าจะสิ้นสุดการจำหน่ายโปรโมชั่นเที่ยวเดินทาง 30 วัน ทุกประเภท ผู้โดยสารสามารถซื้อ หรือเติมเที่ยวเดินทางได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 เป็นวันสุดท้าย ทั้งนี้ บัตรโดยสารที่มีเที่ยวเดินทางคงเหลือ สามารถใช้เดินทางได้จนกว่าเที่ยวเดินทางจะหมด หรือเที่ยวเดินทางหมดอายุการใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่ง

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีรูปแบบการเดินทางที่หลากหลายมากขึ้น ประกอบกับความไม่แน่นอนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้นานแบบเมื่อก่อน อีกทั้งเรื่องการชำระค่าโดยสารล่วงหน้าดูจะเป็นทางเลือกที่ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป บริษัทฯ ได้พิจารณาเห็นว่า โปรโมชั่นเที่ยวเดินทาง 30 วัน สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ค่อนข้างจำกัด จึงจะยุติการทำโปรโมชั่นดังกล่าว

สำหรับอัตราค่าโดยสารที่เรียกเก็บในเส้นทางสัมปทาน 23.5 กิโลเมตร จากสถานีหมอชิตไป สถานีอ่อนนุช และจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติไปสถานีสะพานตากสิน รวมส่วนต่อขยายจากสถานีสะพานตากสิน ถึงสถานีวงเวียนใหญ่ ยังคงอยู่ในอัตรา 16 - 44 บาท ตามเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ผู้โดยสารสามารถใช้บัตรโดยสารใบเดิมเพื่อเติมเงิน และใช้เดินทางได้ตามปกติ ทั้งบัตรสำหรับบุคคลทั่วไป และบัตรสำหรับนักเรียน นักศึกษา นอกจากนั้นในส่วนของบัตรสำหรับผู้สูงอายุ ยังคงได้รับโปรโมชั่นส่วนลดครึ่งราคาจากอัตราค่าโดยสารที่เรียกเก็บในอัตราเดิม


รายงานข่าวระบุว่า เรื่องดังกล่าวทำให้ผู้ใช้บริการแสดงความไม่พอใจ โพสต์ความเห็นไปยังเฟซบุ๊กเพจ "รถไฟฟ้าบีทีเอส" จำนวนมากกว่า 1,200 ความคิดเห็น อาทิ

"ราคาก็แพง ราคาแบบปกติแต่ละเที่ยวก็แพงอยู่แล้ว ถึงที่ผ่านมามีราคาแบบเหมาก็จริง แต่มากำหนดใช้ภายใน 30 วัน พ้นปุ๊บ ตัดปั๊บ เริ่มซื้อนับใหม่ ถ้าไม่ปรับราคาให้ถูกลงก็ควรจะปรับปรุงให้ไม่หมดอายุมากกว่า ในเมื่อผู้โดยสารก็ซื้อแบบเหมาอยู่แล้ว ลองกลับไปพิจารณาเงื่อนไขใหม่หน่อยนะคะ คนอาจแห่ไปซื้อรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หัดไปคุ้นเคยกับการขึ้นรถเมล์กันเยอะขึ้นแน่ แล้วการบวกเพิ่มส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าก็ยิ่งทำให้รู้สึกเอาเปรียบขึ้นไปอีก ค่าเดินทางสวนทางกับแรงงานขั้นต่ำประเทศมาก แทนที่ประชาชนทุกคนจะได้ใช้บริการระบบขนส่ง กลับกลายเป็นบางส่วนแทบไม่มีโอกาสได้ใช้เลย"

"บ้าหรือเปล่า ไม่คิดว่า เหตุผลนี้จะออกมาจากผู้บริหารนะ ถ้าสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ คนที่เขาใช้อยู่ตลอดอยู่แล้ว ก็ต้องเติมเที่ยว 30 วันอยู่ดี สถานการณ์เปลี่ยนบ้าอะไร ให้คนที่จะใช้เขาคิดคำนวณการใช้เองสิ มาคิดแทนได้ไง แล้วเล่นยกเลิก 30 วันแล้วไง ราคาเที่ยวปกติก็ไม่ได้ปรับลดนี่ ถ้าจะยกเลิกซื้อล่วงหน้า 30 วัน แน่จริงก็ปรับลดราคาเที่ยวปกติลงมาด้วยสิ ทุกวันนี้ที่คนเขาไม่ได้เติมเที่ยว 30 วันกัน เพราะตอนนี้เขาเวิร์คฟอร์มโฮมไง ถ้าถึงวันที่ต้องกลับมาใช้ชีวิตปกติไปทำงานกันทุกวัน มันก็ต้องจำเป็นอยู่แล้วป่ะ"

"ระบบผูกขาด คนใช้งานไม่มีทางเลือกอื่น แต่กลับเปลี่ยนราคาซึ่งเเพงมากเมื่อเทียบกับรายได้ประชาชน ขอให้กลับไปพิจารณาใหม่ว่าสมเหตุผลหรือไม่ ลูกค้าจะลดลงทันที"

"เป็นนโยบายที่เห็นแก่ตัวและเอาเปรียบผู้บริโภคที่สุด คุณไม่สามารถทวงหนี้จากรัฐบาลได้ จึงมาใช้วิธีสกปรกเอาเปรียบประชาชนแบบนี้หรอคะ ประชาชนหาเช้ากินค่ำ ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทแต่ต้องเสียค่าเดินทางไปกลับวันละ 118 บาท ทำงานแทบไม่ต้องคิดถึงเงินเก็บ มีเงินให้เหลือพอใช้ไปวันๆ นี่ก็บุญแล้ว คุณอ้างถึงการไม่วางแผนของประชาชน คุณจะมาคิดแทนประชาชนทำไมคะ เราซื้อด้วยเงินของเรา ทำไมถึงมาคิดว่าเราจะไม่วางแผน อย่ามาซ้ำเติมประชาชนตาดำๆ ในสถานการณ์ที่มันแย่อยู่แล้วแบบนี้เลยค่ะ"

"แบบนี้เขาเรียกหาเหตุผลมาเอาเปรียบนะคะ​ เศรษฐกิจ​แบบนี้​ คนใช้บีทีเอสประจำ​ เพราะมีตั๋ว 30 วัน​ คนใช้เขารู้ว่าเขาจะใช้แบบไหน​ คำนวณได้​ อย่างนี้เขาเรียกซ้ำเติมกันมากกว่า"

"ผมใช้ BTS เพราะมีแบบ 30 วัน คำนวนแล้วมันถูกกว่า ถ้ายกเลิกแบบนี้ ผมคงไปใช้ MRT แทน เพราะนั่งยาวทีเดียวถึงที่ทำงานเลย ไม่ต้องเปลี่ยนขบวนให้ยุ่งยากด้วย จาก 26-28 บาทต่อเที่ยว กลายเป็น 59 บาทต่อเที่ยว แต่ใช้ MRT จ่ายแค่ 42 บาท ถ้าไม่คิดโปรมาทดแทน ระวังลูกค้าหายหมดนะครับ เพราะตัวเลือกอื่นมันก็มีอยู่นะครับ"

"ไม่ตอบโจทย์ตรงไหนคะ ปกติผู้โดยสารก็เลือกได้อยู่แล้วว่าจะเติมเที่ยวหรือเติมเงิน เติมเที่ยวก็มีให้เลือกหลายแบบตามความจำเป็นที่ต้องใช้อยู่แล้ว ทำไมต้องงดเติมเที่ยวล่ะ เที่ยวใช้ไม่หมดก็ตัดทิ้งไม่ทบไปเดือนอื่น คุณมีแต่ได้กับได้ ถ้าคนในประเทศไม่ช่วยเหลือกันเอาตัวรอดเพียงคนเดียวหรือพวกพ้องของตนเอง แบบนี้ไม่ต้องมาอยู่ประเทศเดียวกันหรอกค่ะ อย่าหวังแต่จะกอบโกยสิคะ ถ้าไม่มีผู้บริโภคอย่างเราคุณจะได้เงินจากไหน โปรดพิจารณาใหม่นะคะ #คนไทยเหมือนกัน"

"เข้าใจค่ะว่าแบกหนี้เยอะ รัฐไม่ยอมจ่าย แต่อย่าผลักภาระให้ประชาชนค่ะ ส่วนต่อขยายต้องเพิ่มอีก 15 บาท เท่ากับว่าต้องจ่ายจริง 44 บวก 15 เท่ากับ 59 ไป-กลับ 118 บาท ประทานโทษนะคะบ้านไม่ได้อยู่ติดบีทีเอสค่ะ กรุณาเหลือเงินให้ต่อรถต่อเรือต่อวินด้วยค่ะ"

"ขายแบบเดิมแหละดีแล้ว แล้วก็ประกาศไปเลยว่าถ้ามีการล็อคดาวน์อีกจะไม่มีการคืนเงินหรือขยายเวลาสำหรับคนที่ซื้อแบบเหมาเที่ยว ให้ผู้โดยสารแบกรับความเสี่ยงเอง ถ้าแบบไหนมันคุ้มกว่าเดี๋ยวผู้โดยสารเค้าเลือกเอง ไม่ใช่ไม่มีตัวเลือกให้เค้า"

"ค่าแรงขั้นต่ำคนในประเทศ 300 เป็นค่าเดินทางไปแล้ว 100 ทุเรศ"

"หากใครใช้คนละครึ่งก็พอบรรเทาไปได้บ้างครับ ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม หวังว่าต้นปีหน้าถ้าทุกอย่างลงตัว โควิดไม่หนักก็ขอให้เอาตั๋ว 30 วันกลับมาเถอะครับ หรือ จะทำแบบซื้อเหมาจำนวนเที่ยวแต่ไม่จำกัดวัน ต่อให้ราคาต่อเที่ยวจะแพงกว่าแบบ 30 วันหน่อยคนก็พร้อมจ่ายครับ"

"เหมือนผลักภาระมาให้ผู้โดยสารแถมยังเอาผู้โดยสารมาอ้าง ผู้โดยสารเขาวางแผนการเดินทางอยู่แล้ว ทำแบบนี้จากที่ผู้โดยสารลดลง มันจะยิ่งลดลง ลงไปอีก"

"หนูเป็นเด็กนักศึกษาปี 1 ธรรมดาๆ ที่ไปทำงานแบ่งเบาภาระครอบครัว ไปทำร้านกาแฟออกบูธที่สยามค่ะ และวางแผนจะทำงานหนึ่งเดือน แล้วต้องไปกลับด้วยรถไฟฟ้า เลยตัดสินใจซื้อบัตรแบบ 50 เที่ยว เพราะถูกกว่าเยอะมาก พอมาเกิดการล็อกดาวน์ของรัฐที่มาประกาศตอนล็อกดาวน์กลางคืน และจะมีผลในอีกไม่กี่วัน หนูทำงานได้แค่ 9 วันค่ะ ซื้อบัตรรถไฟฟ้าพึ่งใช้ได้ 2-3 วันเหลืออีกประมาณ 40 กว่าเที่ยว หมดค่าบัตรไป 950 บาท หนูเที่ยวไปติดต่อว่าจะมีอะไรช่วยเหลือหรือคืนเงินตรงนี้ไหม เขาบอกรอประกาศทางเพจ และพนักงานที่ตอบบอกคิดว่าจะมีส่วนลดให้เที่ยวต่อไปที่เราใช้ คือไม่มีอะไรแน่นอนเลยค่ะ หมดความมั่นใจมากว่าจะได้ชดเชย จนตอนนี้หนูก็ไม่มั่นใจว่าจะได้เงินคืนหรือส่วนลดในส่วนนี้จริงๆไหม กับเหตุการณ์ฉุกเฉินแบบนี้ งานเราก็ไม่ได้ทำ ไม่มีรายได้ เสียค่าเที่ยวบัตรแพงๆ ไปแต่ไม่ได้ใช้ และความรับผิดชอบต่อลูกค้าของทางรถไฟฟ้าบีทีเอส"

"กลุ่มลูกค้าของคุณมีทุกเพศทุกวัยนะคะ ตั้งแต่เด็กเล็ก นักศึกษา วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ทุกคนไม่ได้เงินเดือนห้าหมื่นนะคะ นี่ประเทศไทยเงินเดือนขั้นต่ำคือหมื่นห้า บางจังหวัดหรือบางหน่วยงานได้ไม่ถึงด้วยซ้ำ ทำไมถึงเอาเปรียบประชาชนขนาดนี้คะ เป็นถึงขนส่งสาธารณะ ไม่ควรผลักภาระให้ผู้ใช้บริการค่ะ ควรจะเอื้อประโยชน์ด้วยซ้ำ และที่ทุกคนวางแผนการเดินทางตอนนี้ไม่ได้ เพราะการล็อคดาวน์ประเทศค่ะ เมื่อสถานการณ์กลับมาดีขึ้น ทุกคนยังต้องเดินทางและออกไปใช้ชีวิตตามปกตินะคะ"

"เขามีแต่จะลดราคาระบบขนส่งมวลชน เผื่อให้คนมาใช้งาน นี้เล่นยกเลิกแล้วผลักภาระในคนใช้บริการ คิดง่ายๆ ครับคนทำงาน สีลม สุขุมวิท อยู่ปลายๆ สายเผื่อประหยัดค่าที่พัก เดิมเหมาจ่าย 20 กว่าบาท กลายเป็น 44 บาท นี้ยังไม่รวมค่าส่วนต่อขยายนะครับ ถามว่าจะให้ย้ายไปใกล้ที่ทำงาน ค่าที่พักก็คูณ 2-3 เท่าตัวไป จะอ้างว่าพฤติกรรมคนใช้บริการเปลี่ยนเพราะโควิดมันก็ต้องแน่นอนแหละครับ เพราะคนยังกลับไปทำงานที่บริษัทไม่ได้ทั้งหมด คนก็เลยไม่เติมเที่ยวกัน ถ้าโควิดหายเดี๋ยวคนก็กลับไปเติมกันเองแหละครับ ตรรกะแค่นี้คิดกันไม่ได้เลยหรือยังไง?"



อนึ่ง สำหรับเที่ยวเดินทาง 30 วัน ก่อนหน้านี้ เป็นการเติมโปรโมชันลงในบัตรแรบบิท ทั้งแบบบุคคลทั่วไป และนักเรียน-นักศึกษา ใช้เดินทางได้ตามจำนวนเที่ยวที่เลือกตามโปรโมชั่น โดยไม่จำกัดระยะทาง เฉพาะสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 25 สถานีเดิม ยกเว้น สถานีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท (ตั้งแต่สถานีบางจาก ถึงสถานีเคหะ) และสีลม (ตั้งแต่สถานีโพธิ์นิมิตร ถึงสถานีบางหว้า) ต้องจ่ายเพิ่ม 10-15 บาท ราคาสำหรับบุคคลทั่วไป 15 เที่ยว 465 บาท เฉลี่ย 31 บาทต่อเที่ยว, 25 เที่ยว 725 บาท เฉลี่ย 29 บาทต่อเที่ยว, 40 เที่ยว 1,080 บาท เฉลี่ย 27 บาทต่อเที่ยว, 50 เที่ยว 1,300 บาท เฉลี่ย 26 บาทต่อเที่ยว ราคาสำหรับนักเรียน นักศึกษา 15 เที่ยว 360 บาท เฉลี่ย 24 บาทต่อเที่ยว, 25 เที่ยว 550 บาท เฉลี่ย 22 บาทต่อเที่ยว, 40 เที่ยว 800 บาท เฉลี่ย 20 บาทต่อเที่ยว และ 50 เที่ยว 950 บาท เฉลี่ย 19 บาทต่อเที่ยว

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้ผู้โดยสารต้องเสียค่าโดยสารตามอัตราปกติ โดยสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 25 สถานีเดิม คิดค่าโดยสารไปสถานีที่ 1 ราคา 16 บาท, สถานีที่ 2 ราคา 23 บาท, สถานีที่ 3 ราคา 26 บาท, สถานีที่ 4 ราคา 30 บาท, สถานีที่ 5 ราคา 33 บาท, สถานีที่ 6 ราคา 37 บาท, สถานีที่ 7 ราคา 40 บาท, สถานีที่ 8 เป็นต้นไป ราคา 44 บาท แต่ถ้าเข้าสถานีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท ตั้งแต่สถานีบางจาก ถึงสถานีแบริ่ง และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลม ตั้งแต่สถานีโพธินิมิตร ถึงสถานีบางหว้า จะคิดค่าโดยสารเพิ่มอีก 15 บาท เป็น 59 บาท (นักเรียน-นักศึกษาเพิ่มอีก 10 บาท เป็น 54 บาท) ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ยังคงไม่เก็บค่าโดยสาร เนื่องจากอยู่ระหว่างการเตรียมขออนุมัติสัญญาสัมปทานกับคณะรัฐมนตรี (ครม.)
#10788
111-Lotto 111  ตัวแทนจำหน่าย ล็อตเตอรี่ออนไลน์ รายใหญ่ของ มังกรฟ้าล็อตเตอรี่ออนไลน์  ปรับเปลี่ยนรูปแบบการซื้อล็อตเตอรี่แบบใหม่  ยุค new normal




ไม่ต้องไปหน้าแผง ไม่ต้องเสียเวลาก้มหาเลข ไม่ต้องไปลุ้นว่าจะมีเลขที่อยากได้มั้ย แค่แอดไลน์ หาเรา บอกเลขที่ต้องการ เลขเด็ด เลขดัง แจ้งโอนเงิน จะได้รับ SMS ยืนยัน




ถ้าถูกรางวัลสามารถขึ้นเงินได้จริง ได้รับเงินจริงไม่เกิน 24 ชม โดยปกติใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงหลังผลสลากกินแบ่งรัฐบาลออกเท่านั้น 

ขั้นตอนการซื้อ ล็อตเตอรี่ออนไลน์ กับเรานั้น ง่ายๆ มาก มี 2 แบบให้เลือกแล้วแต่สะดวก

1. แอดไลน์ @111-lotto หรือคลิกทีนี่ เพื่อ คุยกับแอดมินโดยตรงและทำการสั่งซื้อและโอนเงินผ่านไลน์ มีเจ้าหน้าที่แนะนำทุกขั้นตอน 

111-lotto รีบแอดไลน์เพื่อเลือกเลขรางวัลก่อนใคร

Add Line : @111-lotto





2. สั่งซื้อผ่านระบบ 111-lotto ล็อตเตอรี่ของของมังกรฟ้าล็อตเตอรี่ออนไลน์ ด้วยตัวเอง จะทำที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาไหนก็ได้ Add Line : @111-lotto


 


 
#10789


คอนซาโดเล่ ซัปโปโร เปิดบ้านเฉือน เอฟซี โตเกียว 2-1 ในศึกลูวาน คัพ รอบ 8 ทีมสุดท้าย เลกแรก แต่ข่าวไม่ค่อยสู้ดีนักคือ 'เจ' ชนาธิป สรงกระสินธ์ เพลย์เมกเกอร์ทีมชาติไทย โชคร้ายได้รับบาดเจ็บตอนวอร์ม ชวดลงสนาม ทั้งๆ มีชื่อออกสตาร์ทเป็นตัวจริง

ศึกฟุต.ถ้วย 'ลูวาน คัพ 2021' รอบ 8 ทีมสุดท้าย นัดแรก ประจำวันพุธที่ 1 ก.ย.64 เจ้าบ้าน คอนซาโดเล่ ซัปโปโร อดีตรองแชมป์เมื่อปี 2019 เปิดบ้าน อัตสึเบสึ สเตเดี้ยม รับมือแชมป์เก่า เอฟซี โตเกียว และดีกรีแชมป์รายการนี้ 3 สมัยในปี 2004, 2009, 2020

นัดนี้ มิ. เปโตรวิช กุนซือเจ้าถิ่นใส่ชื่อ 'เจ' ชนาธิป สรงกระสินธ์ ออกสตาร์ตเป็นตัวจริงแต่เจ้าตัวไปมีอาการบาดเจ็บตอนวอร์มทำให้เป็น เจย์ โบธรอยด์ ที่ได้ลงเล่นแทน และเมื่อผ่านมาถึง นาทีที่ 14 เอฟซี โตเกียว ได้ประตูขึ้นนำก่อน 1-0 จากจังหวะที่ ฮิโรตากะ มิตะ เปิดฟรีคิกให้ ทัตสึโยชิ วาตานาเบะ ขึ้นโหม่ง.ย้อยเสียบเสาไกลเข้าประตูไป

แต่ถัดมา นาทีที่ 21 คอนซาโดเล่ ไล่ตามตีเสมอได้ทันควัน ลูคัส เฟอร์นานเดส เปิด.ไปที่เสาไกลให้ ชุนตะ ทานากะ ขึ้นโหม่งเหน่งๆ ส่ง.ตุงตาข่าย จบครึ่งแรก คอนซาโดเล่ ซัปโปโร เสมอ เอฟซี โตเกียว 1-1

กลับมาหวดต่อในครึ่งหลัง จนกระทั่งนาทีที่ 81 คอนซาโดเล่ แซงขึ้นนำ 2-1 เจย์ โบธรอยด์ เบิ้ล.จังหวะเดียวย้อนมาให้ ทาคูมะ อาราโนะ วิ่งมาตะบันด้วยขวาตามน้ำ.เบียดเสาเข้าประตูไป จบเกม คอนซาโดเล่ ซัปโปโร เอาชนะ เอฟซี โตเกียว 2-1 ก่อนที่เลกที่สองจะกลับไปเล่นในบ้านของ เอฟซี โตเกียว ในวันที่ 5 กันยายนนี้

สรุปผลคู่อื่นๆ ที่ลงสนามในวันเดียวกัน
เซเรโซ่ โอซาก้า 0-1 กัมบะ โอซาก้า
ฮอกไกโด คอนซาโดเล่ ซัปโปโร 2-1 เอฟซี โตเกียว
นาโกย่า แกรมปัส 2-0 คาชิม่า แอนท์เลอร์ส
อูราวะ เรด ไดมอนส์ 1-1 คาวาซากิ ฟรอนตาเล่

โปรแกรมถ่ายทอดสด ศึก ลูวาน คัพ รอบก่อนรองชนะเลิศ นัดสอง ในช่วงสุดสัปดาห์ ทาง SIAMSPORT YouTube Channel ในวันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน 2564 มีดังนี้

16.00 น. เอฟซี โตเกียว พบ คอนซาโดเล่ ซัปโปโร
16.00 น. กัมบะ โอซาก้า พบ เซเรโซ โอซาก้า
16.00 น. คาวาซากิ ฟรอนตาเล่ พบ อูราวะ เรดส์ ไดมอนด์
16.00 น. คาชิม่า แอ๊นท์เลอร์ส พบ นาโงย่า แกรมปัส
#10790
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 812
#10791
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#10792


" เจริญโภคภัณฑ์อาหาร" โอนกิจการทั้งหมดของ " ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง" ให้ "สยามแม็คโคร" ขณะ MAKRO ออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อตอบแทน พร้อมแบ่งหุ้นขาย PO เพิ่มฟลีโฟลท " ศุภชัย เจียรวนนท์" แจงเพื่อความคล่องแคล่วรวดเร็วเกิดประโยชน์ด้วยเป้าหมายเพื่อนำบริษัทในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกของเครือซีพีขยายธุรกิจและแข่งขันกับผู้ประกอบธุรกิจในเวทีระดับโลก โบรกฯมองเป็นบวก

ราคาหุ้น MAKRO หรือบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นเปิดตลาดที่ 43.75 บาทเพิ่มขึ้น 4.17 % หรือ 1.75 บาท ส่วน MAKRO หรือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ราคาเปิดที่ 67 บาท เพิ่มขึ้น 3.07% หรือ 2 บาท และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดที่ 27.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาทหรือ0.93% รับข่าวการโอนกิจการในเครือซีพี

CPF โอนกิจการ CPRH ทั้งหมดให้ MAKRO

กอบบุญ ศรีชัย เลขานุการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF แจ้งว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัททำกาารโอนกิจการทั้งหมดของบริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (CPRH) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมที่บริษัทฯ ถือหุ้นทางอ้อมใน 20.00 % ผ่านบริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด (CPM) ให้แก่บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (MAKRO) (Entire Business Transfer หรือ EBT) ซึ่งมีมูลค่ารวม 43,589,814,450 บาท

ทั้งนี้ ภายใต้การทำ EBT นั้น เป็นการโอนกิจการของ CPRH ให้แก่ Makro ด้วยวิธีโอนกิจการทั้งหมด รวมถึงหุ้นในบริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอป เม้นท์ จำกัด (CPRD)ซึ่ง CPRH ถืออยู่ 99.99% ของทุนจดทะเบียนของ CPRD และทรัพย์สินอื่นของCPRH อาทิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด โดย Makro จะออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ให้แก่ CPRH ในจำนวนไม่เกิน 5,010,323,500 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ0.50 บาท ในราคาเสนอขาย 43.50 บาทต่อหุ้น เพื่อเป็นการชำระค่าตอบแทน

ทั้งนี้ เมื่อการทำ EBT เสร็จสมบูรณ์CPRH จะจดทะเบียนเลิกบริษัทและเริ่มชำระบัญชีโดย CPRH จะโอนทรัพย์สินทั้งหมดของ CPRH รวมถึงหุ้นใน MAKRO ให้แก่ผู้ถือหุ้นของ CPRH ตามสัดส่วนการถือหุ้น ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นของCPRH ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ถือหุ้นของ CPRH แต่ละรายจะได้รับหุ้นใน MAKRO และมีสัดส่วนการถือหุ้นใน MAKRO

หลังจากนั้น เมื่อ EBT เสร็จสมบูรณ์และ CPRH ได้ส่งมอบหุ้นใน MAKRO ให้แก่ CPM แล้ว CPM มีหน้าที่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด (Mandatory Tender Offer) ของ MAKRO ร่วมกับ CPHH ในราคาหุ้นละ 43.50 บาท โดยที่ CPM จะรับซื้อหุ้นสามัญใน MAKRO เป็นสัดส่วนหนึ่งในสามและ CPH จะรับซื้อหุ้นสามัญใน Makroสัดส่วนสองในสามของจำนวนหุ้นที่มีผู้ตอบรับคำเสนอซื้อในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดใน MAKRO ดังกล่าวซึ่งจำนวนหุ้นสูงสุดที่ CPM ต้องรับซื้อจากการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ครั้งนี้จะมีจำนวนไม่เกิน 110,699,500 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 43.50 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 4,815,428,250 บาท สุดท้ายคือให้ CPM ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ CPF ขายหุ้นสามัญMAKRO ที่ CPM จะได้รับจากการคืนเงินลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นของ CPRH ให้แก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering) 181,600,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 1.85ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจ าหน่ายได้แล้วทั้งหมดของMAKRO Makro ภายหลังจากการทำ EBTและคิดเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 1.63 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ MAKRO ภายหลัง PO ของ Makroเสร็จสิ้น พร้อมกับการดำเนินการ PO ของ Makro)

MAKRO เพิ่มทุนตอบแทนค่าหุ้น - ขาย PO

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร และประธานกรรมการ MAKRO  เผยว่า เครือซีพีตั้งเป้าขยายร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งของเครือให้ได้อย่างรวดเร็วทั่วภูมิภาค ซึ่งรวมถึงสาขาของสยามแม็คโคร และศูนย์ค้าปลีกค้าส่งรูปแบบอื่นๆ ในเครือซีพี บริษัทจะต้องตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำบริษัทในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกของเครือซีพีขยายธุรกิจและแข่งขันกับผู้ประกอบธุรกิจในเวทีระดับโลก หากเมื่อมีการปรับโครงสร้างธุรกิจต่างๆ หลังได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว จะทำให้สยามแม็คโคร กลายเป็นบริษัทแม่ของ บริษัท ซี.พี.รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

"การปรับเปลี่ยนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความคล่องตัวในการตัดสินใจต่างๆ และยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย ก็คือ จะช่วยทำให้แม็คโคร และโลตัส มีความคล่องแคล่ว รวดเร็ว (Agility) ในการเดินหน้าสู่ความสำเร็จบนเวทีระดับนานาชาติ"  ศุภชัย กล่าว

ทั้งนี้ คณะกรรมการ MAKRO เมื่อ 31 ส.ค.ที่ผ่านมาอนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียน จากปัจจุบัน 2,400 ล้านบาท เป็น 5,586 ล้านบาท โดยการออกหุ้นใหม่ 6,372,323,500 หุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อแบ่งขายให้ประชาชนทั่วไป 1,362,000,000 หุ้น

"การเพิ่มสัดส่วนที่มากขึ้นให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาร่วมเป็นเจ้าของแม็คโคร โดย MAKRO ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการเป็นเจ้าของบริษัทฯ ให้ประชาชนทั่วไปถึง 2 เท่า จากเดิมสัดส่วนที่ประชาชนทั่วไปร่วมเป็นเจ้าของ MAKRO อยู่ที่ 7% จะเพิ่มเป็นมากกว่า 15% ในขณะที่จำนวนการถือหุ้นของเครือซีพีใน MAKRO จะลดลงจาก 93% เหลือ 85% โดยที่การปรับโครงสร้างธุรกิจของบริษัทต่างๆ ครั้งนี้จะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินการของ MAKRO และบริษัทอื่นๆ ที่ดำเนินการอยู่"

โดย MAKRO จะได้รับโอนกิจการทั้งหมดของดของ บริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้งจำกัด มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 217,949,072,250 บาท ด้วยวิธีโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer) ซึ่ง MAKRO จะออกและจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ 5,010,323,500 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ในราคาเสนอขาย 43.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 217,949,072,250 บาท ให้ CPRH เพื่อใช้ชำระเป็นค่าตอบแทนการรับโอนกิจการทั้งหมดจากCPRH แทนการชำระด้วยเงินสด (Payment in Kind) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 104.38ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ก่อนการจัดสรรหุ้นเพื่อตอบแทนการรับโอนกิจการทั้งหมด

สำหรับ CPRH ประกอบธุรกิจลงทุน (Investment Holding Company) โดยมีทรัพย์สินหลักคือหุ้นในบริษัท ซี.พี.รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (CPRD) ในสัดส่วน 99.99% ของทุนจดทะเบียนของ CPRD อาทิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด และ CPRD ถือหุ้น (ก) สัดส่วน 99.99 %ในบริษัท โลตัสส์สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งถือหุ้นสัดส่วน 99.99 % ในบริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้ชื่อ Lotus's ในประเทศไทย และ (ข) สัดส่วน 100.00% ใน Lotuss Stores (Malaysia) Sdn. Bhd. ซึ่งประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้ชื่อ Lotus's ในมาเลเซีย

โบรก ฯ มองป็นบวกต่อ CPALL และ CPF

บล. ทิสโก้ มองหลัง CPFโอน Lotus ให้ MAKRO - CPF ซื้อ MAKRO เพิ่ม ทั้งนี้หลังCPF แจ้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ ถือหุ้นของ Lotus (CPRH) และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารแล้ว MAKRO จะได้รับธุรกิจทั้งหมด (EBT) ของ Lotus จาก CPALL/CPF/CPH ซึ่งจะได้รับหุ้น MAKRO ใหม่ หลังการทำ EBT CPF จะทำคำเสนอซื้ออหลักทรัพย์ทั้หมด (MTO) ร่วมกับ CPH หลังจากนั้น MAKRO จะออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไป ทำให้สัดส่วน Lotus อยู่ที่ 20% ส่วน MAKRO อยู่ที่ 7.34-8.33%

ทั้งนี้  ผู้บริหาร CPF เน้นย้ำประโยชน์ที่ได้รับจาก EBT : คือการขยายแพลตฟอร์มเพื่อรวม b2b และ b2c ,ปรับปรุงสภาพคล่องสำหรับการลงทุนในโลตัส ,เพิ่มผลประโยชน์ผ่าน CPALL และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับภูมิภาคการถือ MAKRO – CPF จะเปลี่ยนการถือสัดส่วนโลตัสจาก 20% เป็น 10.21% ผ่าน MAKRO หลัง EBT MTO สามารถ เพิ่มสัดส่วนสูงสุด 1.13% ขณะที่ PO อาจส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้น MAKRO ลดลง 1.85% เมื่อเสร็จสิ้น CPF จะถือหุ้น MAKRO ราว 7.34-8.33%

บล.ทิสโก้ ประเมินไม่มีการระบุถึงกำไร/ขาดทุนที่ชัดเจนจากการขายหุ้น Lotus แต่ผู้บริหารคาดหวังเห็นกำไรเบื้งต้นราว 2.62 พันลบ.(ยอดขาย 4.359หมื่นล้านบาท ด้วยราคา 4.097 หมื่นล้านบาท)หาก EBT, MTO และ PO ได้รับการอนุมัติ บล.ทิสโก้ คาดจะเห็นผลบวกต่อกำไรของ CPF ในระยะสั้นเล็กน้อย กำไรของ MAKRO ดีขึ้น vs.Lotus คาดจะเพิ่มผลกำไรระยะสั้น ส่วนในระยะยาวขึ้นอยู่กับความสามารถในการ synergy แนะนำให้ "ซื้อ" โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 40.00 บาท (SOTP)

บล. เอเซียพลัส จำกัด ประเมินผลกระทบต่อหุ้นที่เกี่ยวข้อง หลังกลุ่มซีพี ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจค้าปลีกในเครือ นำ Lotus's มาอยู่ภายใต้ MAKRO กล่าวคือ CPALL เป็นบวก ผลกระทบการถือหุ้น MAKRO ลดลง เชื่อว่าชดเชยได้จาก MAKRO ที่มีขนาดใหญ่ จากการถือหุ้นใน Lotus's และมูลค่า (Value) เดิมที่ของ MAKRO ที่จะเพิ่มขึ้นจาก Synergy ร่วมกับ Lotus's บวกกับยังได้เงินที่จะขายหุ้น MAKRO พร้อมกับการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไป( PO) ไปลดภาระหนี้สิน ดังนั้น ประเมินสร้างอัพไซต์(Upside) ต่อประมาณการนับจากปี 2565 โดยฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างทบทวนประมาณการ คงแนะนำ" ซื้อ"

MAKRO เป็นบวกเล็กน้อย แม้มีผลกระทบหลัก คือ Dilution จากการเพิ่มทุน เพื่อรับโอนกิจการจากบริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (CPRH) รวมถึง PO ในระยะถัดไปที่สูง ขณะที่กำไรส่วนชดเชยจาก Lotus's ระยะสั้นยังถูกหักล้างจากดอกเบี้ยจ่ายที่บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (CPRD) แต่ภาพระยะยาว ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าดีขึ้นมีนัยยะจาก Synergy การขยายตัวร่วมกันทั้งในรูปแบบเดิม และการเปิดสาขาใหม่ๆ ในต่างประเทศร่วมกัน รวมถึง Omnichannel Platform B2C – B2B ขณะที่ราคาหุ้นระยะสั้นยังน่าจะรักษาระดับใกล้เคียงราคา Tender Offer ที่ 43.50 บาท โดยฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างทบทวนประมาณการ คงแนะนำ "ซื้อ"

ทั้งนี้ จากการขายหุ้น PO เพิ่มทั้งในส่วนของ MAKRO, CPALL, CPF คาดจะช่วยแก้ปัญหา ฟรีโฟลต(Free Float) ให้ MAKRO และมีโอกาสกลับสู่ SET50 ได้ในระยะถัดไป

CPF เป็นบวก จาก Unlock value จากการลงทุนใน Lotus's มาเป็น MAKRO แทน ซึ่งมีสภาพคล่องมากขึ้น และหลังจากนั้นจะได้ผลบวกจากการขายหุ้น MAKRO แบบ PO จำนวนไม่เกิน 181.6 ล้านหุ้น หรือ 1.85% ของจำนวนหุ้นของ MAKRO ทั้งหมดภายหลังการโอนกิจการ Lotus's เพื่อไปลดภาระหนี้สินในอนาคต และ Synergy ในอนาคต จากการขายอาหารสดเข้า MAKRO และ Lotus's ในไทยเพิ่มขึ้นในระยะยาว และหาก MAKRO และ Lotus's ขยายธุรกิจในต่างประเทศ เพราะ CPF มีการลงทุนใน 17 ประเทศทั่วโลก จึงสามารถขายอาหารสดระหว่างกันได้ อีกทั้งผลบวกทางอ้อมจากการถือหุ้น CPALL 34.12% ของทุนชำระแล้ว ที่จะได้ผลบวกในระยะยาวเช่นกัน จึงยังแนะนำซื้อ CPF กำหนดราคาเป้าหมาย ปี 2565 เท่ากับ 31 บาท

ทั้งนี้ กระบวนการโอนธุรกิจทั้งหมดจะเสร็จ ต.ค.64 โดยหลังแล้วเสร็จ CPG + CPF จะต้องทำการ Tender offer ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย MAKRO เดิม 332 ล้านหุ้น หุ้นละ 43.5 บาท เท่ากับราคาหุ้น MAKRO ที่ได้มาผ่าน ซึ่งการแลกหุ้นหลังจากนั้น ในส่วนของ MAKRO จะมีการเสนอขายหุ้น PO โดยเป็นหุ้นใหม่ 1.36 พันล้านหุ้น (เพิ่มจากหุ้นที่รวม PP ที่ 9.81 พันล้านหุ้น) โดยปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดราคา PO อีกทั้งจะขายหุ้นของผู้ถือหุ้น MAKRO คือ CPALL และ CPF ออกมาด้วยในช่วง PO ถือเป็นการ Unlock Value MAKRO และ Lotus's พร้อมกัน รวมถึงเป็นการแก้ไขปัญหา Free Float ของ MAKRO และช่วยให้ได้เงินกลับเข้ามาที่ทั้ง MAKRO, CPALL และ CPF คาดจะไปขยายธุรกิจและลดภาระหนี้
#10794


นายประพัฒน์  ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคในสุกร  ว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติได้จัดการประชุมหารือเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคในสุกร

 เช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่มีการตรวจพบว่ากลายพันธุ์แพร่กระจายในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งต่างไปจากที่เคยตรวจพบในทวีปยุโรปและเอเชียมาก่อนหน้านี้ , โรคกลุ่มอาการระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจในสุกร(PRRS) เป็นต้น

ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง เกษตรกรต้องสูญเสียสุกรที่ป่วยตายจากโรคถึง 30% และไม่สามารถเลี้ยงสุกรต่อไปได้ เนื่องจากเชื้อโรคยังสะสมอยู่ในพื้นที่และทำให้เกิดโรคซ้ำในคอกหรือฟาร์มจนเกษตรกรรายย่อยหมดตัวไปแล้วก็มี และในอนาคตอาจถึงขั้นต้องสูญเสียอาชีพการเลี้ยงสุกรไปในที่สุด


รวมทั้งยังกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อาทิ โรงงานอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สุกร ธุรกิจการค้าเวชภัณฑ์สัตว์ รวมถึงเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง มูลค่าความเสียหายโดยรวมไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูอาชีพให้กับเกษตรกร ซึ่งต้องใช้เงินงบประมาณเป็นจำนวนมากและใช้เวลานานในการฟื้นฟู และจะก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนเนื้อสุกรในการบริโภคอย่างรุนแรง กระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนและความมั่นคงทางอาหารของประเทศอีกด้วย หมายรวมว่าประเทศไทยต้องสูญเสียโอกาสในการส่งออกสุกรมีชีวิต เนื้อสุกรแช่แข็งและผลิตภัณฑ์สุกรไปจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 22,000 ล้านบาทต่อปี 

 
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพแก่เกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารของประเทศไทย เพิ่มความเข้มแข็งและอำนาจในการต่อรองของเกษตรกร และสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจหากสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคในประเทศได้ สภาเกษตรกรแห่งชาติในนามคณะทำงานแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคในสุกร สภาเกษตรกรแห่งชาติ ซึ่งคณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนจากกรมปศุสัตว์ ผู้แทนผู้เลี้ยงสุกรทุกภูมิภาค และเอกชนผู้ประกอบการการเลี้ยงสุกร

จึงจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย "โครงการฟื้นฟูเยียวยาและปรับโครงสร้างการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายกลางถึงรายย่อยทั้งประเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันแบบยั่งยืน" โดยเตรียมเสนอแนวทางในการดำเนินงาน แบ่งเป็น มาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการทันที ได้แก่ การเร่งดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาเพื่อชดเชยความเสียหายจากโรคระบาดกับเกษตรกร รายกลาง รายเล็ก รายย่อย ที่ทำลายซากสุกรไปแล้ว

 รัฐบาลควรจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย เพื่อฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยและรายกลาง ปรับปรุงโรงเรือน สถานที่ และระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อเป็นระบบ GFM ของกรมปศุสัตว์ และผู้ประกอบการโรงฆ่าสุกร โรงงานแปรรูป ปรับปรุงโรงเรือนและกระบวนการผลิตเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GMP , HACCP หรือระบบของกรมปศุสัตว์ ,

ให้นำระบบ Zoning และCompartment มาใช้ในการควบคุมและป้องกันโรคระบาดสัตว์ , ขึ้นทะเบียนคนกลางรับซื้อสุกร( broker) ทุกรายทุกขนาด , เร่งทำงานวิจัยเรื่องผลกระทบของกฎหมาย ประกาศกระทรวงต่างๆ และระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาวงการสุกรโดยเฉพาะรายกลาง - รายย่อย  เพื่อแก้ไขและปรับปรุงโดยด่วน , สนับสนุนให้การจัดตั้งกองทุนสุกร ให้เป็นรูปธรรม , นำระบบเศรษฐกิจใหม่ BCG Model มาใช้ในวงการปศุสัตว์

 

  มาตรการระยะปานกลาง ภายใน 3 ปี ได้แก่  การเร่งรัดให้กรมปศุสัตว์ เพิ่มศักยภาพในการตรวจวินิจฉัย ชันสูตรโรค ที่ได้มาตรฐาน ทั้งกำลังคนและเครื่องมือ หรือสร้างเครือข่ายการชันสูตรโรคกับมหาวิทยาลัยต่างๆในภูมิภาค เพื่อให้บริการแก่เกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ในการเคลื่อนย้ายและควบคุมโรค , สนับสนุนให้มีการวิจัย และพัฒนาการเลี้ยงสุกรเข้าสู่ ระบบ Precision agriculture ที่เหมาะสมกับเกษตรกรแต่ละระดับรวมถึงการวิจัยวัคซีน และชีวภัณฑ์ต่างๆเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ

โดยสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศร่วมกับกรมปศุสัตว์ และ มาตรการระยะยาว ภายใน 5 ปี ได้แก่  การกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ให้ประเทศไทยปลอดจากโรคปากและเท้าเปื่อย หรือควบคุมโรคได้ด้วยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ , สนับสนุนให้ภาคเอกชน หรือกลุ่มเกษตรกร ตั้งโรงงานผลิตวัคซีนสำหรับสัตว์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในประเทศและจำหน่ายในกลุ่มอาเซียนโดยอาจอยู่ในรูป 4 P (Public , Private , Professional , People Partnership)

มาตรการทั้งหมดจะส่งถึงนายกรัฐมนตรี ,  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแห่งชาติ ,  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,  ประธานคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board)  ต่อไป

 

                อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เล็งเห็นความสำคัญในการทำประกันภัยสุกร เพื่อเป็นการประกันความเสี่ยงให้กับเกษตรกรในการเลี้ยงสุกรจากสภาวะปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบในการเลี้ยงสุกรดังกล่าว จึงได้เชิญสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสมาคมประกันวินาศภัยไทย มาให้หลักเกณฑ์และแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกร จากการประชุมหารือพบว่าการประกันภัยสุกรนั้นยังมีค่าเบี้ยประกันที่สูงอยู่ และในระยะเริ่มต้นเห็นควรเสนอให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนงบประมาณในบางส่วนระยะเวลาหนึ่งก่อนเพื่อให้เกษตรกรได้ปรับตัวและมีความเข้มแข็ง

 

โดยให้สมาคมประกันวินาศภัยไทยไปปรับหลักเกณฑ์ที่สามารถเอื้อให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคสุกรอีกครั้ง แล้วค่อยนำกลับมาหารือกันใหม่ในอีก 1 เดือน                
#10796


การดำเนินงานด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปยังไม่รู้และไม่เข้าใจความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ จึงยังไม่เห็นความสำคัญ สผ. จึงได้ดำเนินโครงการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และการเพิ่มสมรรถนะในการสื่อสารด้านความหลากหลายทางชีวภาพในยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ (Effective communication) โดยมุ่งหมายที่จะสร้างความตระหนักและความเข้าใจ ในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (Outreach, Awareness and Uptake) แก่ประชาชนทุกคน โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่



ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวว่าการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และการเพิ่มสมรรถนะในการสื่อสารด้านความหลากหลายทางชีวภาพในยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ (Effective communication) เป็นการดำเนินงานส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่เรียกว่า "CEPA" (Communication Education and Public Awareness) ดำเนินการตามแนวทางมาตรา 13 ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ดังกล่าว สผ. ได้ให้ความสำคัญในกระบวนการถ่ายทอดและเผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ให้มีความเหมาะสมและน่าสนใจสำหรับกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้แนวคิดการสื่อสารในยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่เกิดความตระหนักและใส่ใจในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการบรรลุวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนของประเทศไทย และในฐานะหน่วยประสานงานกลางของอนุสัญญาฯ ในเชิงนโยบาย สผ. ได้ผนวกการดำเนินงานด้าน CEPA ไว้ในแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงาน ซึ่งการสร้างความตระหนักและความเข้าใจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
#10797
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#10798
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 812
#10799


การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตของผู้คน ซึ่งการรับมือกับวิกฤตสถานการณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องมีทิศทางที่ชัดเจนและเชื่อมโยงการทำงานในทุกมิติ โดยบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระดับต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ

ข้อมูลจากงานวิจัย "การพัฒนากรอบยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย" สะท้อนข้อมูลการดำเนินงานของประเทศที่ผ่านมา พบจุดแข็งสำคัญหลายประการซึ่งปรากฏแก่สังคมอย่างชัดเจน อาทิเช่น มีการจัดตั้งหน่วยงานกลาง รวมทั้งการออกและปรับปรุงกฎหมายต่างๆ เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีมาตรการทางสังคมในระดับประเทศ รวมถึงมาตรการระหว่างประเทศ เช่น งดการเดินทางระหว่างประเทศ งดดำเนินกิจการในกลุ่มเสี่ยง มีการสร้างโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับการระบาดเป็นวงกว้าง มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค เป็นต้น โดยอีกด้านที่ยังคงเป็นจุดอ่อนและช่องว่างของการดำเนินงาน เช่น ยังขาดศักยภาพการผลิตทรัพยากรภายในประเทศ เช่น ชุด PPE N95 ขาดการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความจำเป็นของแต่ละสถานที่ เพื่อวางแนวทางการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ ขาดการเฝ้าระวังการปฏิบัติตามมาตรการเชิงสังคมในระดับบุคคลและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนยังมีช่องว่างของระบบข้อมูลทรัพยากรสุขภาพคงคลัง และยังขาดฐานข้อมูลประชากรกลุ่มเปราะบาง เป็นต้น

ทั้งนี้ งานวิจัย "การพัฒนากรอบยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 ของประเทศไทย" ดังกล่าว เป็นการสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยทีมนักวิจัยจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ได้นำเสนอประเด็นเพื่อการพัฒนาในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ โดยมีเป้าหมายให้การจัดทำยุทธศาสตร์สาธารณสุขของประเทศมีความชัดเจนและรอบด้านมากขึ้น ที่จะสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์การระบาดในครั้งนี้และอนาคตได้

ดร.ภญ.วลัยพร พัชรนฤมล นักวิจัยเครือข่าย สวรส. สังกัดมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)
ดร.ภญ.วลัยพร พัชรนฤมล นักวิจัยเครือข่าย สวรส. สังกัดมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)

ดร.ภญ.วลัยพร พัชรนฤมล นักวิจัยเครือข่าย สวรส. สังกัดมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวว่า การรับมือกับโรคระบาดต้องดำเนินการอย่างบูรณาการและเป็นระบบ โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งส่วนกลางและพื้นที่ เนื่องจากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลง และมีการแพร่ระบาดในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และซับซ้อนเชื่อมโยงกับหลายปัจจัยทั้งด้านสาธารณสุข สังคม และเศรษฐกิจ โดยงานวิจัยนี้ มีเป้าหมายสำคัญของการพัฒนากรอบยุทธศาสตร์สาธารณสุขของประเทศ ที่จะลดการติดเชื้อ ลดการป่วยและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยทีมวิจัยได้วิเคราะห์การดำเนินงานของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน ตลอดจน ช่องว่างต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเสนอกรอบยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขของประเทศที่ตอบสนองต่อการระบาดของโรคโควิด-19 ครอบคลุมทั้งหมดไว้ 7 ด้าน ได้แก่ การติดตามสถานการณ์และแนวโน้มการระบาด, การกำหนดมาตรการทางสังคมและมาตรการสาธารณสุขเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด, การเตรียมความพร้อม ศักยภาพและทรัพยากรของระบบบริการสุขภาพ, การส่งเสริมจัดการความรู้ การวิจัยและพัฒนา, การสื่อสารกับหน่วยงานและประชาชน รวมถึงการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อจัดการกับการระบาดของโรค

ดร.ภญ.วลัยพร พัชรนฤมล นักวิจัยเครือข่าย สวรส. สังกัดมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)
ดร.ภญ.วลัยพร พัชรนฤมล นักวิจัยเครือข่าย สวรส. สังกัดมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)

ด้าน ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ รองผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนากรอบยุทธศาสตร์ฯ นับเป็นงานวิจัยเชิงระบบที่เปรียบเหมือนการพัฒนาเข็มทิศการดำเนินงานให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้เห็นภาพใหญ่ที่ชัดเจนครอบคลุมไปจนถึงผลกระทบของเรื่องต่างๆ โดยกรอบยุทธศาสตร์ทั้ง 7 ด้านดังกล่าว เป็นภาพระดับประเทศที่สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินงานระดับเขตและระดับจังหวัด รวมทั้งจะทำให้มีข้อมูลการดำเนินงานที่สามารถนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างพื้นที่ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้กรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านอื่นๆ เช่น ด้านการศึกษา คมนาคม แรงงาน การท่องเที่ยว ฯลฯ ได้ต่อไป 



สำหรับข้อเสนองานวิจัย : กรอบยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย 7 ด้าน

1) การติดตามสถานการณ์และแนวโน้มการระบาดของโรค ทั้งการรายงานสถานการณ์การระบาด การจัดกลุ่มความเสี่ยง การสำรวจสถานการณ์สุขภาพและพฤติกรรมของประชาชน การพยากรณ์โรคทั้งระดับประเทศและพื้นที่

2) การกำหนดมาตรการทางสังคมตามสถานการณ์ปัจจุบัน และหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่เน้นการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันตัวในระดับบุคคลอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์ความเสี่ยงและความจำเป็นของแต่ละสถานที่ เพื่อสื่อสารคำแนะนำในรูปแบบคู่มือต่างๆ พัฒนาระบบการติดตามการปฏิบัติตามมาตรการ ตลอดจนสร้างกลไกกำหนดมาตรการทางสังคมแบบมีส่วนร่วม

3) การกำหนดมาตรการทางสาธารณสุขเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค พัฒนาระบบการตรวจทางห้องปฏิบัติการ/ระบบติดตามเฝ้าระวัง สอบสวนโรค/การกักตัว ควบคู่กับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และสนับสนุนการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเฝ้าระวัง พัฒนาเครือข่ายและระบบข้อมูล ทบทวนแผนและพัฒนาความร่วมมือระหว่างจังหวัดหรือเขต และหน่วยงานต่างๆ รวมถึงจัดทำรายละเอียดการปฏิบัติการเฉพาะกลุ่ม

4) การเตรียมความพร้อม ศักยภาพและทรัพยากรของระบบบริการสุขภาพ พัฒนาศักยภาพในการรักษาโรค พัฒนาระบบสุขภาพ รวมทั้งระบบข้อมูลและติดตามประเมินผลการรักษา ทั้งโรคโควิด-19 และโรคอื่นๆ ในสถานการณ์ปกติใหม่ ตลอดจนการสนับสนุนการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขอย่างเพียงพอ ทั่วถึง เป็นธรรมและต่อเนื่อง เพิ่มศักยภาพการผลิตเวชภัณฑ์ที่จำเป็นภายในประเทศ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบบริการสุขภาพมากขึ้น

5) การส่งเสริมการจัดการความรู้ การวิจัยและพัฒนา อาทิ พัฒนาให้มีฐานข้อมูลที่เชื่อมองค์ความรู้ระหว่างแหล่งทุนและนักวิจัย ทั้งภาครัฐและเอกชน สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยเพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชน และลดความกังวลต่อการระบาดของโรค เชื่อมโยงเครือข่ายวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน ควบคู่กับการประเมินผลกระทบระหว่างภาคส่วนต่างๆ ทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนบูรณาการการบริหารจัดการงานวิจัยในระยะยาว

6) การสื่อสารและประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน อาทิ ควรมีการจัดทำแผนปฏิบัติการสื่อสารความเสี่ยง การบริหารจัดการสื่อสารและกำหนดแผนการกระจายข้อมูลให้ทั่วถึงทั้งระดับส่วนกลางและพื้นที่ พัฒนาความรู้เท่าทันสื่อของประชาชนผ่านช่องทางการสื่อสารที่ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถสอบถามข้อมูลได้

7) การบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อการจัดการกับการระบาดของโรค มีระบบติดตามประเมินผลการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลในทุก

ระดับ ศึกษาทบทวนกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการเงินการคลัง การจัดซื้อจัดจ้าง การปฏิบัติงานของบุคลากร จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอและมีการกระจายอย่างเป็นธรรม รวมทั้งจัดสรรงบประมาณสำหรับระบบการเฝ้าระวัง และการพัฒนาศักยภาพของประเทศ เช่น การพัฒนาวัคซีน รวมทั้งการผลักดันความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับโลก
#10800


อ็อกซ์ฟอร์ด ยูไนเต็ด​ ทีมในศึกลีกวัน อังกฤษ ประกาศคว้าตัว เบนจามิน เจมส์ เดวิส กองกลางทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี มาร่วมทัพด้วยสัญญา 2 ปี

แข้งลูกครึ่งไทย-อังกฤษ วัย 20 ปี ผ่านการลงเล่นกับทัพ 'ช้างศึก' รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ในศึกชิงแชมป์เอเชีย รอบสุดท้าย ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ช่วงต้นปี 2020

โดยเวลานั้นเจ้าตัวค้าแข้งอยู่กับฟูแล่ม และเคยลงเล่นชุดใหญ่ให้ทีม 'ดาบคู่' มาแล้วในศึกคาราบาว คัพ ก่อนที่ล่าสุดจะเป็น อ็อกซ์ฟอร์ด ยูไนเต็ด​ จะคว้าตัวมิดฟิลด์รายนี้ด้วยสัญญา 2 ปี

'เขาเต็มไปด้วยพลัง และพรสวรรค์ ผ่านระบบสโมสรที่ยอดเยี่ยม เช่นเดียวกับ แม็คเคนซี แชปแมน ที่เราเซ็นสัญญาไปเมื่อวันศุกร์ เขา (เดวิส) มีทัศนคติที่ดี มีความสามารถสูง และเราตั้งตารอที่จะได้ร่วมงานกับเขา และเห็นเขาพัฒนาต่อไป' คาร์ล โรบินสัน เฮดโค้ชอ็อซ์ฟอร์ด ยูไนเต็ด กล่าว

ทั้งนี้ อ็อกซ์ฟอร์ด ยูไนเต็ด มี 'บิ๊กเสือ' สัมฤทธิ์ ธนะกาญจนสุทธิ์ นักธุรกิจชาวไทย นั่งแท่นเป็นประธานสโมสร โดยฤดูกาลที่ผ่านมาพวกเขาชวดเลื่อนชั้นขึ้นมาสู่ลีกแชมเปียนชิพ อังกฤษ หลังพ่ายแพ้ให้กับ แบล็คพูล ต้องเล่นในลีกวัน ต่อไป