• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - fairya

#9556


นักวิจัยต่างชาติผลิตวัคซีน "ไฟเซอร์" "โมเดอร์น" ประเภท mRNA ให้คนทั้งโลกใช้ และนักวิจัยไทยก็พยายามพัฒนาวัคซีนโควิดเช่นกัน คาดว่ากลางปีหน้า (2565)วัคซีน ChulaCov19 ประเภทmRNA และวัคซีนใบยา (จะสามารถนำมาใช้ในมนุษย์ได้เป็นแห่งแรกในเอเชีย) รวมถึง วัคซีนเชื้อตาย ของมหาวิทยาลัยมหิดล และวัคซีนของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   

ทั้งหมด ถ้าผ่านขั้นทดลอง จนแน่ใจว่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสร้างภูมิคุ้มกันโควิดสายพันธุ์ใหม่ได้ ก็จะทยอยออกมา

ล่าสุด ทีมงานนักวิจัยคนไทยผู้พัฒนาวัคซีนโควิดทุกทีมกำลังทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ เพื่อประชาชนไทย เพราะตั้งแต่โควิดระบาดระลอก 3 ทุกคนต่างเศร้าเสียใจที่คนไทยติดเชื้อไวรัสโควิด แล้วจากไปเหมือนใบไม้ร่วง 

แม้วัคซีนสัญชาติไทยจะออกมาช้า แต่ได้ใช้แน่นอน อาจใช้เป็นวัคซีนป้องกันโควิดเข็ม 3,4,5... เพราะการฉีดวัคซีนหนึ่งเข็มสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้นาน 6-12 เดือน  ยกเว้นมีการคิดค้นใหม่ เพื่อให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มได้ยาวนานกว่านั้น

ถ้าอย่างนั้นมาดูสิ วัคซีนจากนักวิจัยไทยไปถึงไหนแล้ว



(ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับวัคซีนที่ทดลองในอาสาสมัครมนุษย์ -ภาพจากเฟซบุ๊ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ )

1.วัคซีน ChulaCov19 

(เดือนสิงหาคม 64 ทดลองในมนุษย์)


-ประเภท mRNA 

ผลิตจากชิ้นส่วนขนาดจิ๋วสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา (โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด) ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้เข้าไป จะทำการสร้างเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนปุ่มหนามของไวรัสขึ้น (spike protein) 

และกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไว้เตรียมต่อสู้กับไวรัสเมื่อไปสัมผัสเชื้อ เมื่อวัคซีนชนิด mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีนเรียบร้อยแล้ว ภายในไม่กี่วัน mRNA นี้จะถูกสลายไปโดยไม่มีการสะสมในร่างกายแต่อย่างใด


-ผู้พัฒนาวัคซีน

ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ของโลกคือ Prof. Drew Weissman


-การทดลองที่ผ่านมา

หลังจากทดลองในลิงและหนู พบว่า สามารถยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดและสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง จึงนำมาสู่การผลิตการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1ให้กับอาสาสมัครเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มอายุ จำนวน 72 คน 

กลุ่มแรก เป็นอาสาสมัครผู้ที่มีอายุ 18-55 ปี ทดสอบจำนวน 36 คน

กลุ่มที่สอง เป็นอาสาสมัครผู้ที่มีอายุ 65-75 ปี ทดสอบจำนวน 36 คน

ในจำนวนสองกลุ่มข้างต้นจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยที่ฉีดวัคซีน 10 ไมโครกรัม, 25 ไมโครกรัม และ 50 ไมโครกรัม เพื่อดูว่า วัคซีน ChulaCov19 มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ปริมาณเท่าไร เพราะปัจจุบันโมเดอร์นาใช้วัคซีนปริมาณ 100 ไมโครกรัม ส่วนไฟเซอร์ใช้ 30 ไมโครกรัม 

ถ้าการทดลองได้รู้ขนาดที่ปลอดภัยและกระตุ้นภูมิได้สูง จะเข้าสู่การทดสอบระยะที่ 2 จำนวน 150-300 คน คาดว่าเริ่มต้นฉีดเดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นไป


-จุดเด่น ChulaCov19

จากการทดสอบ มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งคือ ความทนต่ออุณหภูมิของวัคซีน พบว่าวัคซีน ChulaCov19 อยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) ได้นาน 3 เดือน และเก็บในอุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ได้นาน 2 สัปดาห์ ทำให้การจัดเก็บรักษาง่ายกว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ยี่ห้ออื่น 


-ความคืบหน้าวัคซีน

กำลังจะทดสอบในอาสาสมัครคนไทยเฟส 1 เพิ่มเติมในกลุ่มผู้สูงอายุ  คาดว่าจะรู้ผลว่าสร้างภูมิคุ้มกันปลายเดือนตุลาคม 2564 และคาดอีกว่าจะเป็นวัคซีนที่ผลิตสำหรับการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันเป็นเข็มที่ 3 สำหรับคนไทยโดยมีเป้าหมายว่าจะผลิตออกมา พร้อมขึ้นทะเบียนอย.ได้ในเดือนเมษายน 2565

(ที่มาข้อมูล : เฟซบุ๊คคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ) 

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวไว้ในเฟซบุ๊คดังกล่าวว่า หากองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (NIH) สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ได้ว่า "วัคซีนที่มีประสิทธิภาพต้องกระตุ้นภูมิเท่าไร" ก็จะช่วยลดขั้นตอนได้ สมมติว่าเกณฑ์วัคซีนโควิด-19 ที่ดีต้องสร้างภูมิคุ้มกันมากกว่า 80 IU (International Unit)

"ถ้าวัคซีน ChulaCov19 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงกว่าค่านี้แสดงว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ก็สามารถยกเว้นการทำทดสอบทางคลินิกระยะที่สามได้ วัคซีนนี้อาจได้รับอนุมัติให้ผลิตเพื่อใช้ในคนจำนวนมากได้ภายในก่อนกลางปีหน้า"


(วัคซีน ChulaCov19 ประเภท mRNA อยู่ในขั้นตอนทดลองในมนุษย์ เดือนสิงหาคม 64)




2. วัคซีนจากใบยา

(เดือนสิงหาคม 64 ทดลองในอาสาสมัคร)


-ประเภทโปรตีนจากใบยา

เทคโนโลยีการผลิตโมเลกุลโปรตีนจากพืช คือใส่ยีนเข้าไปในพืช แล้วใช้กระบวนการผลิตของพืช ผลิตโปรตีนที่เราต้องการ โปรตีนที่ได้จึงมีความบริสุทธิ์ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เป็นเทคโนโลยีที่มีมากว่า 15 ปี เคยใช้รักษาโรคอีโบล่า


-ผู้พัฒนาวัคซีน

รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ คนต้นคิดวัคซีนจากใบยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี และผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานกรรมการบริหาร ทั้งสองทำงานแบบสตาร์ทอัพ ในนามบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ในความดูแลของ CU Enterprise

โดยการวิจัยพัฒนาวัคซีนชนิด Protein Subunit ดำเนินการโดยบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จํากัด ,คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


(ในห้องทดลองบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด) 

-การทดลอง 

-วัคซีนใบยาได้ผ่านการทดสอบในหนูและลิง ด้วยการฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์ ผลการทดสอบปรากฏว่าลิงมีความปลอดภัย และไม่เกิดผลข้างเคียงใด ๆ

ผลเลือดในลิงที่ใช้ทดลองมีค่าเอนไซม์ตับปกติ อีกทั้งจำนวนเม็ดเดือดแดงและเม็ดเลือดขาวอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้เมื่อนำเปปไทด์ไปกระตุ้นเซลล์ของลิงพบว่า มีการกระตุ้น T Cell ได้ดี ซึ่งนับว่าการทดลองดังกล่าวประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

-โดยกระบวนการผลิตวัคซีนที่ใช้พืช สามารถผลิตเป็นจำนวนครั้งละมาก ๆ ได้ และสามารถยกระดับจากการผลิตวัคซีนในห้องทดลอง มาเป็นการผลิตวัคซีนระดับอุตสาหกรรมได้ทันที

การผลิตวัคซีนจากใบยาสูบนี้สามารถผลิตได้ประมาณ 10,000 โดสต่อเดือนในห้องทดลองขนาดเล็กเท่านั้น จึงนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคระบาดในอนาคต


-จุดเด่นวัคซีนใบยา

การผลิตจากพืช เมื่อเกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในอนาคต ทีมวิจัยสามารถนำรหัสพันธุกรรมของสายพันธุ์นั้นๆ มาผลิตเป็นวัคซีนใช้ได้ทันที เหมาะกับการผลิตวัคซีนที่เชื้อไวรัสมีสายพันธุ์ใหม่ๆ ออกมาตลอด ไม่ต้องเสียเวลานำเข้าวัคซีนเฉพาะบางสายพันธุ์จากต่างประเทศ

วัคซีนมีส่วนประกอบที่เป็นโปรตีน จึงค่อนมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง ในส่วนของประสิทธิภาพจะต้องมีการทดลองในมนุษย์กันต่อไปจึงสามารถวัดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


-ความคืบหน้า

สิงหาคม-กันยายน 2564  ทดลองอาสาสมัครกลุ่มแรกจำนวน 50 คน อายุ 18 - 60 ปี โดยอาสาสมัครต้องมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน การทดสอบวัคซีน จะเริ่มในเดือนกันยายน

อาสาสมัครจะได้รับการฉีดวัคซีนจำนวนสองเข็ม เว้นระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ เมื่อทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรกเสร็จเราก็จะทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัครกลุ่มอายุ 60–75 ปี ต่อไป คาดว่าวัคซีนใบยาจะพร้อมฉีดให้คนไทยช่วงกลางปี 2565

รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ คนต้นคิดวัคซีนจากใบยา ให้ข้อมูลกับ"กรุงเทพธุรกิจ"ไว้ว่า เทคโนโลยีการผลิตโมเลกุลโปรตีนจากพืช คือใส่ยีนเข้าไปในพืช แล้วใช้กระบวนการผลิตของพืช ผลิตโปรตีนที่เราต้องการ โปรตีนที่ได้จึงมีความบริสุทธิ์ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้

"พืชที่เราปลูก ไม่ได้ใส่สารพันธุกรรม เป็นพืชธรรมชาติ จนกว่าจะโตเหมาะสม เราก็ฉีดอะโกรแบททีเรียม(การถ่ายโอนดีเอ็นเอ )เข้าไป หลังจากนั้น 4-5 วัน เราก็ตัดพืชมาสกัดโปรตีนที่ต้องการนำไปทดสอบ ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกว่า วันไหนพืชจะผลิตโปรตีนได้มากที่สุด"

หากถามว่า ทำไมต้องเป็นวัคซีนจากใบยา อาจารย์วรัญญู ให้ข้อมูลว่า

"มีโรคมากมายในโลกนี้ ที่ยังไม่มีวัคซีนป้องก้น ไม่ว่าเทคโนโลยีแบบไหนจะดีแค่ไหน ก็ต้องศึกษา เทคโนโลยีจากโมเลกุลโปรตีนพืชสามารถทำออกมาได้เร็ว ต่อให้ไม่ได้ผล เราก็รู้เร็ว เปลี่ยนได้เร็วการทำวัคซีนโควิดเราใช้ฐานความรู้ไวรัสซาร์สและเมอร์สมาพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกก็ทำแบบนี้"

3. วัคซีนมหาวิทยาลัยมหิดล 

(เดือนสิงหาคม 64 ทดลองในอาสาสมัคร)

-ชนิดเชื้อตาย HXP-GPOVac 

พัฒนาโดย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน  มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม สถาบัน PATH และ The University of Texas at Austin


นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เคยให้ข้อมูลความคืบหน้าไว้ในกรุงเทพธุรกิจว่า

"รายงานผลการทดสอบอย่างเป็นทางการ จะเลือกวัคซีน 2 สูตรที่ดีที่สุดจากการทดลองไป 5 สูตร เพื่อนำมมาทำการทดลองระยะที่ 2 ในอาสาสมัคร 250 คนในเดือนสิงหาคมนี้ และเลือก 1 สูตรที่ดีที่สุดเพื่อทดลองในระยะที่ 3 "

ส่วนการทดลองระยะที่ 3 ในภาคสนามกับอาสาสมัคร 1,000 - 10,000 คน โดยวัคซีนที่ผ่านการวิจัยในมนุษย์ทั้ง 3 ระยะแล้วจะถูกนำไปขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา เพื่อเริ่มการผลิตต่อไป


ขอวัคซีนให้คนไทยทุกคน อย่างเท่าเทียม เสมอภาพ 

...................

4.วัคซีนสวทช. 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)พัฒนาวัคซีนโควิดออกมา 2 ชนิด

1. Adenovirus ที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ ออกแบบโดยการพ่นเข้าจมูกผ่านละอองฝอย รูปแบบนี้น่าจะเป็นวัคซีนที่ใกล้เคียงกับหลายๆ ที่ ที่กำลังทดสอบในเฟส1-2 ของทีม 

นักวิจัย สวทช. ผ่านการทดสอบในหนูทดลองที่ฉีดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว พบว่า หนูทดลอง นอกจากไม่มีอาการป่วย ยังมีน้ำหนักขึ้นสูงกว่ากลุ่มที่ฉีดเข้ากล้ามอย่างเห็นได้ชัด ผลการทดสอบความปลอดภัยไม่มีปัญหา

การผลิตในระดับ GMP ร่วมมือกับ KinGen BioTech เรากำลังจะทดสอบวัคซีนนี้ในอาสาสมัครมนุษย์ในรูปแบบที่สร้างจากไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในเร็วๆนี้(เดือนสิงหาคม 64) ผลงานวิจัยกำลังเร่งรวบรวมผลส่งเข้าตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

2. Influenza virus ที่มีการแสดงออกของโปรตีน RBD ของสไปค์ ตัวนี้กำลังต่อคิวทดสอบประสิทธิภาพการคุ้มโรคโควิด-19

และผลการวิจัยเรื่องระดับภูมิคุ้มกันในหนูทดลองได้ตีพิมพ์ไปแล้ว วัคซีนตัวนี้ร่วมมือกับทีมองค์การเภสัชกรรม และมีแผนจะออกมาทดสอบเป็นตัวต่อมา

"ในเรื่องของการกลายพันธุ์ที่หลายคนเป็นห่วง ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง หนึ่ง.คนที่ได้รับวัคซีนต้องฉีด 2 เข็ม ไม่ใช่ฉีดเข็มแรกแล้วไม่ฉีดต่อ เพราะภูมิคุ้มกันจากเข็มแรก จะเข้าไปจับไวรัสแบบอ่อนๆ หลวมๆ ทำให้ไวรัสเปลี่ยนตัวเองได้และการกลายพันธุ์เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ถ้าไม่มีการฉีดเข็มที่สอง

(ที่มาข้อมูล : เพจ Anan Jongkaewwattana)

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เคยให้ข้อมูลกับกรุงเทพธุรกิจว่า  

"เราต้องการวัคซีนที่แข็งแรงจับไวรัสได้ ทำลายให้ตายในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ให้เวลามันปรับตัวเปลี่ยนแปลงตัวเอง"
#9557
เครื่องทำน้ำแข็ง Cleanicethailand
เครื่องทำน้ำแข็ง Clean ice หมดปัญหาสักที กับความสกปรก ของน้ำแข็ง หรือน้ำแข็งละลายเร็ว อีกทั้งยังประหยัดกว่าเดิมถึง 5 เท่า
ไม่ว่าจะใส่เมนูน้ำชนิดไหนๆ เครื่องทำน้ำแข็ง cleanice ก็เอาอยู่ไปซะทุกอย่าง
เครื่องทำน้ำแข็ง ของเรารับประกันความประหยัดคุ้มค่าน่าลงทุน น้ำแข็งที่เย็น ละลายช้า สะอาด ไร้สารเคมีตกค้าง ราคาถูก สามารถทำให้เมนูน้ำของคุณน่ากินได้อีกกกด้วย ! 
เพราะว่าเราใส่ใจในความสะอาด และ ความสะดวกสบาย ด้วยดีไซน์เครื่องที่ออกแบบมา สวยทันสมัยตั้งในคาเฟ่ ก็เชิญชวนลูกค้าได้ดีอีกด้วย!!!! มีคุณภาพ เเละเอื้อต่อการใช้งานจริง
เมนูน้ำไหนๆ ใคร ๆ ก็อยากซื้อ น่าดื่มไปซะทุกอย่างเเบบนี้สิ รักเลย  ต้องลองแล้วค่ะถึงจะรู้ว่าของเราดีจริง
 Made in JAPAN 
สนใจสินค้า ปรึกษา สอบถามได้ที่
Tel: 02-024-9152-3 Mobile: 061-2780-780
ไลน์ไอดี: valaiporn25
website:https://www.cleanicethailand.com
facebook:https://www.facebook.com/cleanicethailand
#เครื่องทำน้ำแข็ง #เครื่องทำน้ำแข็งหยอดเหรียญ #ตู้กดน้ำแข็ง #ตู้กดน้ำแข็งหยอดเหรียญ #cleanice #cleanicethailand
 

 

 

#9559
ถมที่ ขุดสระ จัดสวน วางท่อ ติดต่อ 080-022-3804
www.mmee2000.com ทำจริงไม่ทิ้งงาน
#9560
รับถมดิน ราคาถูก ติดต่อ 080-022-3804  หรือ www.mmee2000.com
#9561


อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของญี่ปุ่นสูญเสียโอกาสทองทางธุรกิจในช่วงวันหยุดฤดูร้อน เนื่องจากรัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมโรคโควิด-19 ผลสำรวจพบกว่า 1 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจต่างๆ มากกว่า 1,800 บริษัทปิดกิจการแล้ว

ญี่ปุ่นได้ขยายเวลาภาวะฉุกเฉินและมาตรการที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิดในหลายจังหวัด ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากต้องยกเลิกแผนการเดินทางในช่วงวันหยุดฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ธุรกิจการท่องเที่ยวคึกคัก

นายคิกูมะ จุนโงะ ประธานของสมาคมบริษัทท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่นระบุว่า การตัดสินใจขยายเวลาภาวะฉุกเฉินทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเสียหายอย่างหนัก ส่งผลต่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการจำนวนมาก เขากล่าวว่า บรรดาผู้ประกอบการจะร่วมมือกับมาตรการควบคุมการระบาด แต่ก็เป็นเรื่องยากลำบากอย่างยิ่งในการบริหารจัดการ

ตัวแทนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยา เพื่อให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ อยู่รอดได้

สายการบินไทยเดินถึงสนามบินฮาเนดะในกรุงโตเกียวเมื่อ 10 ก.ค.แทบจะไม่มีผู้โดยสาร
สายการบินไทยเดินถึงสนามบินฮาเนดะในกรุงโตเกียวเมื่อ 10 ก.ค.แทบจะไม่มีผู้โดยสาร

โควิดซัดธุรกิจญี่ปุ่นล้มละลายกว่า 1,800 บริษัท

การสำรวจโดยบริษัทวิจัย เทโกกุ เดต้าแบงก์ พบว่า บริษัท 1,860 แห่งต้องปิดกิจการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ถึงต้นเดือนสิงหาคมปีนี้ บริษัทเหล่านี้มีทั้งปิดกิจการไปแล้วหลังจากยื่นขอล้มละลาย หรืออยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อขายทรัพย์สิน

ร้านอาหารคือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ธุรกิจร้านอาหารกว่า 300 แห่งยื่นขอปิดกิจการ ส่วนภาคก่อสร้างมีธุรกิจกว่า 180 แห่งที่ได้รับผลกระทบ อุตสาหกรรมโรงแรมมีประมาณ 100 แห่ง และกลุ่มผู้ค้าส่งอาหารเกือบ 100 แห่งไปไม่รอด

นักวิเคราะห์ระบุว่า เมื่อผู้ประกอบการปิดกิจการก็จะเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อบริษัทต่าง ๆ ข้ามอุตสาหกรรม ทำให้อาจมีบริษัทที่ยื่นขอล้มละลายเพิ่มมากขึ้นอีก เนื่องจากรัฐบาลได้ขยายภาวะฉุกเฉินออกไป

จำนวนผู้ติดเชื้อในญี่ปุ่นพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม ญี่ปุ่นมีผู้ติดเชื้อที่ 15,263 ราย เฉพาะกรุงโตเกียวยืนยันผู้ติดใหม่ 5,042 คน เป็นสถิติสูงที่สุด.
#9562


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยท่ามกลางกระแสรักษ์โลกที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน การส่งออกเม็ดพลาสติกชีวภาพ PLA (Polylactic Acid) ของไทยในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในระดับที่สูงกว่าการขยายตัวของอุปสงค์ PLA โลก โดยมีแรงหนุนหลักจากกำลังการผลิตของไทยที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปีจากการปรับจูนสายการผลิต ในขณะที่อุปทานในส่วนอื่นของโลกก็ยังคงอยู่ในภาวะตึงตัว ทำให้เป็นโอกาสหนุนการส่งออกของไทย อย่างไรก็ดี กำลังการผลิต PLA ของไทยได้รับการปรับจูนสู่ระดับเต็มศักยภาพในปี 2564 ขณะเดียวกันการสร้างโรงงานใหม่ก็ประสบกับความล่าช้าจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การส่งออก PLA ไทยน่าจะได้รับแรงกดดันจากอุปทานตึงตัวในปีหน้า ก่อนที่จะทยอยคลี่คลายในปี 2566 หลังโรงงานใหม่เริ่มเดินเครื่อง

นับแต่ปี 2562 ไทยได้กลายเป็นฐานส่งออกเม็ดพลาสติกชีวภาพ PLA (Polylactic Acid) อันดับที่ 3 ของโลกโดยมีส่วนแบ่งการส่งออกราวร้อยละ 20 ในปัจจุบัน รองจากสหรัฐฯ และเนเธอร์แลนด์ ที่มีส่วนแบ่งราวร้อยละ 40 และ 31 ตามลำดับ ทั้งนี้ การส่งออก PLA ของไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องท่ามกลางกระแสรักษ์โลกที่ทำให้หลายประเทศออกมาตรการจำกัดการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ยากโดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น จาน/ชาม ฟิล์มห่อหุ้ม และกล่องอาหาร เป็นต้น

โดยสหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศล่าสุดที่มีการประกาศกฎระเบียบสำหรับมาตรการดังกล่าวตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้วัสดุทดแทนโดยเฉพาะเม็ดพลาสติกชีวภาพ PLA ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำบรรจุภัณฑ์ต่างๆ มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่หนุนความต้องการบรรจุภัณฑ์สำหรับบริการส่งอาหารให้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ แม้ว่าไทยจะได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มดังกล่าว แต่ทว่าในระยะข้างหน้าการส่งออก PLA ของไทยอาจต้องเผชิญความท้าทายจากภาวะกำลังการผลิตที่ตึงตัวมากขึ้นจากความล่าช้าในการลงทุนโรงงาน PLA ใหม่ ซึ่งจะมีส่วนกดดันแนวโน้มส่งออก PLA ของไทยชั่วคราว โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อประเด็นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ตลาดเม็ดพลาสติกชีวภาพ PLA มีความน่าสนใจและยังคงมีโอกาสทางการตลาดอยู่อีกมาก สะท้อนจากสัดส่วนตลาดในปัจจุบันที่ยังอยู่ที่เพียงราวร้อยละ 0.25 ของอุปสงค์เม็ดพลาสติกรวมทุกประเภทที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ในขณะที่อุปสงค์ PLA โลกมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยเกือบร้อยละ 20 ต่อปี โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมาที่อุปสงค์ PLA โลกเติบโตสูงถึงร้อยละ 38.5 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่หนุนความต้องการฟู้ดเดลิเวอรี่ให้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในประเทศที่มีมาตรการลดการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายยากมาก่อนหน้า เช่น ประเทศในยุโรปตะวันตก จีน และสหรัฐฯ เป็นต้น


แม้ว่าอุปสงค์ PLA โลกจะมีแนวโน้มเติบโตได้ดี แต่ทว่าอุตสาหกรรมผลิต PLA โลกในปัจจุบันก็กำลังเผชิญภาพเหตุการณ์ที่อุปทานยังไม่สามารถขยายตัวได้เร็วพอจนก่อให้เกิดภาวะตึงตัวในบางขณะ โดยปัจจุบันอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยทั้งปีของโลกอยู่ที่ระดับสูงมากกว่าร้อยละ 90 ในขณะที่ระดับที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมโดยไม่ทำให้เกิดภาวะตึงตัวในบางช่วงเวลาของปีจะอยู่ที่ราวร้อยละ 80

ทั้งนี้ สาเหตุหลักของภาวะอุปทานตึงตัวมาจากระยะเวลาก่อสร้างโรงงานที่นานกว่า 1.5 ปี และต้องใช้เวลาอีกราว 2 ปีในการปรับกำลังการผลิตให้เพิ่มขึ้นจนเต็มศักยภาพได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยกดดันจากแผนการสร้างโรงงานใหม่ที่ล่าช้าจากผลกระทบล็อกดาวน์อันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะในยุโรป สหรัฐฯ และไทย ซึ่งเป็นแหล่งผลิต PLA ที่สำคัญของโลก

ทั้งนี้ ภาวะอุปทาน PLA ตึงตัวในตลาดโลกน่าจะยังคงดำเนินต่อเนื่องในระยะข้างหน้าแม้ว่ากำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นจากการกลับมาเร่งลงทุนสร้างโรงงานใหม่ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการรวบรวมและประเมินแผนการลงทุนของผู้ผลิต PLA ทั่วโลก พบว่า ในปี 2567 กำลังการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ PLA โลกน่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 808,000 ตัน ในขณะที่อุปสงค์ PLA คาดว่าจะอยู่ที่ราว 732,100 ตันในปีดังกล่าว ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยทั้งปีจะยังคงอยู่ในระดับสูงราวร้อยละ 90.6 สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสการลงทุนโรงงานผลิต PLA ที่น่าจะยังคงมีอยู่อีกมากในระยะข้างหน้า

เมื่อพิจารณาอุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ PLA ของไทย พบว่า มากกว่าร้อยละ 95 จะเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ สหภาพยุโรป (ร้อยละ 30 ของปริมาณส่งออก PLA ไทย) จีน (ร้อยละ 23) และสหรัฐฯ (ร้อยละ 13) โดยสาเหตุที่ทำให้ไทยกลายเป็นฐานผลิตและส่งออกเม็ดพลาสติกชีวภาพ PLA ที่สำคัญของโลก นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของผลิตผลทางการเกษตรโดยเฉพาะอ้อยและมันสำปะหลังซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต PLA และนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเศรษฐกิจหมุนเวียนของภาครัฐแล้ว ผลจากการลงทุนร่วมกับบริษัทพันธมิตรที่เป็นผู้ผลิต PLA ชั้นนำของโลก ก็มีส่วนหนุนการตั้งฐานผลิตในไทย

แม้ว่าปัจจุบันการส่งออกเม็ดพลาสติกชีวภาพของไทยยังคงมีสัดส่วนเพียงแค่ร้อยละ 0.8 ของปริมาณส่งออกเม็ดพลาสติกทุกประเภทของไทย ทว่านับแต่เริ่มมีการผลิตในช่วงปลายปี 2561 การส่งออก PLA ของไทยก็มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในระดับที่สูงกว่าการขยายตัวของอุปสงค์ PLA โลก โดยนอกจากปัจจัยหนุนที่ได้รับจากภาวะอุปทานตึงตัวในแหล่งผลิตอื่นของโลกแล้ว การขยายตัวของการส่งออก PLA ไทยยังได้รับแรงหนุนสำคัญจากกำลังการผลิตของไทยที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปีจากการปรับจูนสายการผลิตเพื่อให้เข้าใกล้ระดับเต็มศักยภาพของโรงงานซึ่งอยู่ที่ราว 75,000 ตันต่อปีภายใต้แผนการลงทุนในช่วงปี 2561

อย่างไรก็ดี การปรับจูนศักยภาพกำลังการผลิตของไทยได้ดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยของไทยในปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นแตะร้อยละ 81 ของกำลังการผลิตเต็มศักยภาพ เมื่อประกอบกับแผนสร้างโรงงาน PLA ใหม่ในไทยที่เกิดความล่าช้าจากโควิด-19 และน่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีหน้า จึงน่าจะส่งผลให้การส่งออก PLA ของไทยในปี 2565 ได้รับแรงกดดันจากภาวะกำลังการผลิตที่ตึงตัวมากขึ้น ก่อนที่จะเริ่มทยอยคลี่คลายหลังโรงงานใหม่เริ่มเดินเครื่องได้ราวช่วงครึ่งหลังของปี 2566

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ปริมาณการส่งออก PLA ของไทยในปี 2564 น่าจะขยายตัวได้ราวร้อยละ 38.6 และจะชะลอตัวลงสู่ระดับร้อยละ 13.6 ในปี 2565 ก่อนที่จะกลับมาเร่งขยายตัวได้อีกครั้งในปี 2566

สำหรับความท้าทายในอนาคตของไทย ผู้ผลิต PLA ไทยอาจจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะในตลาดจีนซึ่งปัจจุบันเป็นตลาดหลักของไทยรองจากสหภาพยุโรป เนื่องจากในปัจจุบันเริ่มเกิดกระแสที่ผู้ประกอบการจีนหันมาสนใจลงทุนผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ PLA มากขึ้น โดยได้รับแรงกระตุ้นจากนโยบายภาครัฐจีนที่ต้องการลดขยะพลาสติกภายในประเทศผ่านมาตรการทยอยลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายยาก และส่งเสริมการใช้พลาสติกชีวภาพหรือวัสดุธรรมชาติอื่นทดแทน

ส่งผลให้ในปี 2567 จีนน่าจะกลายเป็นผู้ผลิต PLA ที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีระดับกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นแตะ 325,000 ตันต่อปี สูงกว่าปี 2563 ราว 5 เท่า โดยกำลังการผลิตส่วนใหญ่ในระยะ 3 ปีข้างหน้าน่าจะใช้ตอบสนองอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก ซึ่งแนวโน้มความต้องการของตลาดจีนในปี 2567 น่าจะมีกว่า 360,000 ตัน

ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว การส่งออก PLA ของไทยไปยังตลาดจีนในระยะข้างหน้าจึงมีแนวโน้มที่จะเผชิญการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่กำลังการผลิต PLA ของไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบจากการแข่งขันและสามารถรองรับอุปทานของไทยที่เพิ่มสูงขึ้น นอกเหนือจากการขยายตลาดส่งออกศักยภาพอื่นเพิ่มเติม เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน เป็นต้น

ผู้ประกอบการ PLA ไทยอาจจะใช้แนวทางขยายฐานลูกค้าสู่ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกในประเทศไทยที่ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพเพื่อการส่งออก ซึ่งปัจจุบันไทยก็เป็นฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์ให้กับบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป หรือแม้แต่การจับตลาดบรรจุภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมผลิตอาหารเพื่อการส่งออกของไทย โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้สด ที่ต้องอาศัยการห่อหุ้มด้วยบรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งไทยมีการส่งออกไปยังหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐฯ เป็นต้น ที่มีความต้องการลดการใช้พลาสติกที่ยากแก่การย่อยสลาย
#9563
เครื่องทำน้ำแข็ง Cleanicethailand
เครื่องทำน้ำแข็ง Clean ice หมดปัญหาสักที กับความสกปรก ของน้ำแข็ง หรือน้ำแข็งละลายเร็ว อีกทั้งยังประหยัดกว่าเดิมถึง 5 เท่า
ไม่ว่าจะใส่เมนูน้ำชนิดไหนๆ เครื่องทำน้ำแข็ง cleanice ก็เอาอยู่ไปซะทุกอย่าง
เครื่องทำน้ำแข็ง ของเรารับประกันความประหยัดคุ้มค่าน่าลงทุน น้ำแข็งที่เย็น ละลายช้า สะอาด ไร้สารเคมีตกค้าง ราคาถูก สามารถทำให้เมนูน้ำของคุณน่ากินได้อีกกกด้วย ! 
เพราะว่าเราใส่ใจในความสะอาด และ ความสะดวกสบาย ด้วยดีไซน์เครื่องที่ออกแบบมา สวยทันสมัยตั้งในคาเฟ่ ก็เชิญชวนลูกค้าได้ดีอีกด้วย!!!! มีคุณภาพ เเละเอื้อต่อการใช้งานจริง
เมนูน้ำไหนๆ ใคร ๆ ก็อยากซื้อ น่าดื่มไปซะทุกอย่างเเบบนี้สิ รักเลย  ต้องลองแล้วค่ะถึงจะรู้ว่าของเราดีจริง
 Made in JAPAN 
สนใจสินค้า ปรึกษา สอบถามได้ที่
Tel: 02-024-9152-3 Mobile: 061-2780-780
ไลน์ไอดี: valaiporn25
website:https://www.cleanicethailand.com
facebook:https://www.facebook.com/cleanicethailand
#เครื่องทำน้ำแข็ง #เครื่องทำน้ำแข็งหยอดเหรียญ #ตู้กดน้ำแข็ง #ตู้กดน้ำแข็งหยอดเหรียญ #cleanice #cleanicethailand
 

 

 

#9565


ราเจช กานดาสวามี รองประธานฝ่ายวิจัยของ การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ประมาณ 80% ของผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีจะมาจากมืออาชีพนอกวงการเทคฯ โดยแนวโน้มนี้เป็นผลจากแรงผลักดันของนักลงทุนกลุ่มใหม่ที่อยู่นอกองค์กรไอทีทั่ว ๆ ไปที่ครองส่วนแบ่งที่ใหญ่กว่าของตลาดไอทีโดยรวม ปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านไอทีโดยเฉลี่ยของฝั่งธุรกิจสูงถึง 36% ของงบประมาณด้านไอทีทั้งหมด

"ซีอีโอบริหารธุรกิจดิจิทัลเหมือนเป็นทีมกีฬาที่ไม่ใช่หน่วยงานเดี่ยว ๆ ในสังกัดของฝ่ายไอทีอีกต่อไป การเติบโตของข้อมูลดิจิทัล เครื่องมือในการพัฒนาแบบ Low-Code และการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นไปอย่างเสรีโดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเท่านั้น"

เทคโนโลยีเข้าไปมีบทบาทในทุกด้านของธุรกิจและผู้บริโภค ทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ใช้นอกแผนกไอที ซึ่งความต้องการของผู้ซื้อกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิม ๆ ที่ได้รับเสมอไป

ประกอบกับวิกฤตโควิด-19 ที่มีส่วนทำให้เกิดการขยายทั้งปริมาณและประเภทของกรณีการใช้งานเทคโนโลยีที่จำเป็น การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในปี 2566 จะเกิดการสร้างรายได้ถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เคยมีมาก่อนการระบาด

นักวิเคราะห์การ์ทเนอร์ยังกล่าวว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของบริการคลาวด์ แนวคิดริเริ่มต่าง ๆ จากธุรกิจดิจิทัล และบริการระยะไกลได้เปิดประตูสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เมื่อผสานรวมและเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยี


ในปี 2567 กว่าหนึ่งในสามของผู้ให้บริการเทคโนโลยีต้องแข่งขันกับผู้ให้บริการนอกกลุ่มเทคฯ

โควิด-19 ยังช่วยลดกำแพงในการสร้างโซลูชันต่าง ๆ ที่ผูกกับเทคโนโลยีและกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญให้ใครก็ตามที่สามารถตอบสนองความต้องการอันเป็นผลจากการระบาดใหญ่ได้ ซึ่งผู้ให้บริการหน้าใหม่เหล่านี้รวมถึงผู้ที่ทำงานสาขาวิชาชีพอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เทคโนโลยีภายในองค์กรต่าง ๆ หรือเป็น "นักเทคโนโลยีธุรกิจ – Business Technologists หรือ พลเมืองนักพัฒนา (Citizen Developers) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และระบบ AI เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์

ปัจจุบัน ผู้ให้บริการเทคโนโลยีพบว่าตนกำลังเข้าสู่ตลาดที่เกี่ยวข้องหรือแข่งขันกับผู้ให้บริการจากนอกสายเทคฯ มากขึ้น ซึ่งรวมถึงบริษัทที่มีนวัตกรรมด้านบริการทางการเงินและการค้าปลีก โดยอย่างหลังกำลังสร้างโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยไอทีถี่ขึ้นและประกอบกับความทะเยอทะยานที่มากขึ้นเนื่องจากองค์กรจำนวนมากยังพยายามเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล

การ์ทเนอร์คาดว่าภายในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้ จะมีการประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากบริษัทที่ไม่ใช่สายเทคฯ แพร่หลายมากขึ้น

"ความพร้อมของนักเทคโนโลยีธุรกิจทำให้เกิดแหล่งข้อมูลใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและยังสามารถทำงานให้เกิดผลสำเร็จได้ ดังนั้นผู้ให้บริการเทคโนโลยีจำเป็นต้องขยายขอบเขตแนวคิดและแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติมไปยังกลุ่มคนใหม่ ๆ อาทิ จากพื้นฐานการพัฒนามือสมัครเล่น หรือจากทีมงานที่ดูแลกลุ่มลูกค้าของบริษัทฯ และแผนกอื่น ๆ" กานดาสวามี กล่าวเพิ่มเติม
#9566
ถมที่ ขุดสระ จัดสวน วางท่อ ติดต่อ 080-022-3804
www.mmee2000.com ทำจริงไม่ทิ้งงาน
#9568


ตัวเลขผู้ป่วยโควิดรายใหม่ (4 ส.ค. 64) ทะลุ 20,200 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วกว่า 672,385 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 188 ราย การดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้าน (Home Isolation : HI)จึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ได้รับยาเร็ว และลดอาการหนักได้ แต่ปัจจุบันยังพบว่ายังมีผู้ป่วยจำนวนมากตกค้างและยังไม่ได้เข้าสู่ระบบรักษา


ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 64 ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดการประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติ เพื่อดูแล "ผู้ป่วย โควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่บ้าน" และ "ตรวจโควิดด้วยชุดตรวจ ATK" ผ่านระบบ Zoom เพื่อเชิญชวน คลินิกเอกชน ทั่วประเทศที่อยู่นอกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) เข้าร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว ที่เป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ซึ่งมีจำนวนราวร้อยละ 80 ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด มีคลินิกเอกชนให้ความสนใจเข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 แห่ง โดยสปสช. จัดงบสนับสนุนค่าบริการเบื้องต้นเหมาจ่าย 3 พันบาท/ราย โอนจ่ายทุกสัปดาห์

"นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี" เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้สัมภาษณ์ว่า เดิมมีคลินิกชุมชนอบอุ่น ซึ่งเป็นคลินิกที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. มาก่อนหน้านี้ราว 200 กว่าแห่ง จากที่พูดคุยเมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน คลินิกจำนวนหนึ่งราว 117 แห่ง ยินดีเข้าร่วมโครงการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ตามแนวทาง Home Isolation ร่วมกับ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง


"การดำเนินการที่ผ่านมามาพบว่าจำนวนคลินิกที่ดำเนินการอยู่ไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยที่เข้ามาใหม่ ทำให้เกิดปัญหาแจ้งมาในระบบ ไม่ว่าจะช่องทางสายด่วน 1330 หรือกรอกข้อมูลในระบบ หรือไลน์แอด สปสช. หรือช่องทางอื่นๆ พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยตกค้างจำนวนมาก สปสช. จึงพยายามขยายไปยังคลินิกเอกชนซึ่งแต่เดิมไม่อยู่ในระบบของ สปสช. โดยเน้นในกทม. ซึ่งมีประมาณ 3,000 กว่าแห่ง,มาเข้าร่วมดูแลผู้ป่วยโควิดตามแนวทาง Home Isolation เพิ่มขึ้น"

ต้องมีแพทย์ ดูแล ติดตาม ผู้ป่วย
สำหรับคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะมีหน้าที่ติดตามผู้ป่วย ตามแนวทาง Home Isolation ตามเกณฑ์ คือต้องมีแพทย์ ในการควบคุมดูแลผู้ป่วย จัดระบบที่จะดูแลผู้ป่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ วิดีโอคอล หรือไลน์แอด มีระบบส่งน้ำ ส่งอาหาร ส่งอุปกรณ์ อยากให้คลินิคที่สนใจมาลงทะเบียนกับ สปสช. โดยเบื้องต้น สปสช.จะกระจายยาให้คลินิก หรือส่วนที่ยังเบิกยาไม่ได้ และต่อไปจะเป็นการกระจายความรับผิดชอบให้คลินิกดำเนินการเองต่อไป


นพ.จเด็จ กล่าวต่อไปว่า เวลาผู้ป่วยแจ้งเข้ามา จะยังไม่รู้ว่าอยู่ในระดับสีอะไร ต้องให้คลินิกกดรับเข้าระบบ สัมภาษณ์ ซักประวัติ และการเอกซเรย์ปอดจะสามารถแยกระดับสีได้ชัดเจน ส่วนใหญ่ที่รอนานๆ จะเริ่มมีอาการ ไม่ได้ยา ดังนั้น จึงไม่อยากให้รอนานเกิน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยมีแพทย์โทรเข้าไปถามอาการ ตอนนี้แนะนำให้จ่ายยาเร็ว ส่งยาไปให้ก่อน การเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเหลือง หรือ จากเหลืองเป็นแดงก็จะลดลง ตอนนี้เราทำงานแข่งกับเวลา


"หากมีคลินิกเอกชนเข้ามาร่วม อย่างน้อยผู้ป่วยได้รับการดูแล ได้อาหาร หากผู้ป่วยเยอะก็จะได้ไม่ต้องกังวลมาก เพราะมีการแยกกักตัว มียา อาหารไปให้ แต่ติดที่คอขวดระบบบริการยังไปไม่ถึงชาวบ้าน สถิติตัวเลขล่าสุด (3 ส.ค. 64) เวลารอเฉลี่ย 17 ชั่วโมง นานสุด 27 ชั่วโมง รอเกิน 24 ชั่วโมง จำนวน 408 คน หากทำให้รวดเร็วขึ้น ก็จะทำให้ประชาชนสบายใจขึ้น ผู้ป่วยมั่นใจขึ้น" นพ.จเด็จ  กล่าว

"พญ.กฤติยา ศรีประเสริฐ" ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า คลินิกเอกชนเข้าร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถให้บริการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) กับประชาชนไทยทุกคนได้ตามเกณฑ์การคัดกรอง โดยใช้ชุดตรวจที่ขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการผ่านระบบ Authentication Code ยืนยันด้วยบัตรสมาร์ทการ์ด พร้อมรายงานผลตรวจทุกรายให้ สปสช. เพื่อใช้ในการประเมินการให้บริการประชาชน 

ซึ่งกรณีตรวจด้วยเทคนิค Chromatography จ่ายตามจริงไม่เกิน 450 บาท/ครั้ง และกรณีตรวจด้วยเทคนิค Fluorescent Immunoassay (FLA) จ่ายตามจริงไม่เกิน 550 บาท/ครั้ง หากผลตรวจเป็นบวกกรณีที่อยู่ในผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวให้เข้าสู่การรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านและในชุมชน (Home Isolation/Community Isolation : HI/CI) แต่กรณีที่จำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยใน ให้รับรักษาเป็นผู้ป่วยในที่หน่วยบริการ หรือส่งต่อรักษาในเครือข่ายหน่วยบริการ


สำหรับการเบิกจ่ายค่าบริการระบบ HI/CI  มีดังนี้
1. การตรวจ RT-PCR จำนวน 1,500 - 1,700 บาท/ครั้ง (ปรับอัตราใหม่เริ่ม 1 ส.ค. 64)

2.ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วยอัตราเหมาจ่าย 1,000 บาท/วัน ไม่เกิน 14 วัน (ค่าอาหาร)

3 มื้อ และติดตามประเมินอาการให้คำปรึกษา)

3.ค่าอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วย ได้แก่ ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล เครื่องวัดออกซิเจน ตามรายการใช้จริงไม่เกิน 1,100 บาท/ราย

4.ค่ายารักษาเฉพาะโควิด-19 จ่ายตามจริงไม่เกิน 7,200 บาท/ราย

5.ค่ารถส่งต่อ จ่ายตามจริงตามระยะทางและค่าทำความสะอาด 3,700 บาท และ 

6.ค่าบริการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-ray) อัตรา 100 บาท/ครั้ง จ่ายเพิ่มเติมกรณีผู้ป่วยนอกเพื่อแยกความรุนแรงของโรคและภาวะปอดอักเสบก่อนเข้าสู่ระบบ HI/CI นอกจากนี้ยังมีค่าชุดป้องกันการติดเชื้อ จ่ายตามจริงไม่เกิน 740 บาท/วันสำหรับการดูแลใน CI และค่าออกซิเจนสำหรับผู้ป่วย จ่ายตามจริงไม่เกิน 450 บาท/วัน

"รูปแบบการจ่ายชดเชยค่าบริการในระบบ HI/CI จะเป็นเหมาจ่าย 1 งวด จำนวน 3,000 บาท/ราย โดย สปสช. จะโอนจ่ายในทุกสัปดาห์ และเมื่อดูแลครบตามระยะเวลาที่กำหนด หน่วยบริการสามารถคีย์ข้อมูลเบิกจ่ายตามจริงตามรายการที่แจ้งข้างต้น โดยกรณีที่ค่าบริการมากกว่าจำนวนเงินเหมาจ่าย ทาง สปสช. จะมีการจ่ายชดเชยเพิ่มเติม" พญ.กฤติยา กล่าว  

ทั้งนี้ 'คลินิกเอกชน' ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https:// www.nhso.go.th/downloads/159
#9569


ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งช่วยคนไทยฝ่าวิกฤตโควิด-19 ด้วยการมอบสิทธิ์พิเศษให้ผู้ใช้รถยนต์ใช้ "ประกันรถเปิดปิด" แบบ Top-up ประเภทความคุ้มครอง ชั้น 3+ ความคุ้มครอง 100,000 บาท (จำนวน 30 ชั่วโมง ระยะเวลาคุ้มครอง 30 วัน) ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย

นายเทพพันธ์ อัศวะธนกุล  รองกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) หรือ TVI ผู้นำด้านนวัตกรรมประกันภัย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ในปัจจุบันที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจและกำลังซื้อของคนไทยในวงกว้าง "ประกันภัยไทยวิวัฒน์" ในฐานะบริษัทประกันวินาศภัยไทย และผู้นำด้านนวัตกรรมประกันภัย จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือคนไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน

ด้วยการเปิดให้ผู้ใช้รถยนต์ทั่วประเทศ  ที่ไม่เคยใช้ประกันรถเปิดเปิดมาก่อน ลงทะเบียนรับสิทธิใช้ "ประกันรถเปิดปิด แบบ Top-up" ฟรี! รับความคุ้มครองเริ่มต้น  30 ชั่วโมง นานสูงสุด 30 วัน โดยแผนประกันที่เปิดให้ลงทะเบียนใช้ฟรี คือ ประกันรถเปิดปิด แบบ Top-up ประเภท 3+ ทุนประกันตัวรถยนต์ 100,000 บาท โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้รถยนต์ที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายทางด้านการประกันภัย 

โดยผู้ใช้รถยนต์ที่สนใจสามารถเลือกเพิ่มความคุ้มครองเป็นชั้น 2+ หรือชั้น 1 หรือเพิ่มทุนประกัน ได้เช่นกันโดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งรถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการได้สามารถมีอายุรถได้สูงสุดถึง 15 ปี ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ ได้ที่ www.thaivivat.co.th หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทาง Facebook Fanpage ประกันภัยไทยวิวัฒน์ หรือโทร 02-200-7000 ตั้งแต่วันนี้ - 31 สิงหาคม 2564

ทั้งนี้  สำหรับลูกค้าที่ใช้ประกันรถเปิดปิด แบบ Package อยู่แล้ว  และมีการต่ออายุล่วงหน้าเข้ามาผ่าน แอปพลิเคชัน Thaivivat ทุกแพ็กเกจ สามารถรับจำนวนชั่วโมงที่เหลืออยู่จากกรมธรรม์เดิม ทบในกรมธรรม์ใหม่ สูงสุดไม่เกิน 100 ชั่วโมง เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยให้กับลูกค้า รวมถึงยังมีสิทธิพิเศษตรวจเช็คสภาพรถยนต์ฟรี 30 รายการ และพ่นฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 สำหรับลูกค้าประกันรถเปิดปิด นอกจากนี้ยังมีโปรโมชันอีกมากมายที่จะมาช่วยเสริมเพื่อให้ลูกค้าได้รับสิทธิประโยชน์เต็มที่ในช่วงวิกฤตโรคระบาดที่หลายๆ บ้านใช้รถน้อยลง

"โครงการนี้ถือเป็นส่วนเล็กๆ ในการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ไปพร้อมๆกับการเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์การใช้งานประกันรถเปิดปิด ที่ช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันได้สูงสุดถึง 70% จอดรถไว้ ไม่ขับไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกัน แต่ยังได้รับความคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมง  ตอบโจทย์สถานการณ์ในปัจจุบัน ที่คนส่วนใหญ่ Work From Home กันมากขึ้น" นายเทพพันธ์ กล่าว
#9570
รับถมดิน ราคาถูก ติดต่อ 080-022-3804  หรือ www.mmee2000.com