• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Panitsupa

#10066


LINE MAN ประกาศมาตรการดูแลเพิ่มเติมแก่ไรเดอร์ทั่วประเทศในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มอบความคุ้มครองชดเชยรายได้รายวัน และค่ารักษาพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19 หรือภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดวัคซีน เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

LINE MAN ต้องการสร้างความอุ่นใจให้แก่ไรเดอร์ ด้วยการมอบประกันโควิด-19 ที่ชดเชยรายได้รายวันอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงสุด 25,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลในภาวะโคม่าจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงสุด 500,000 บาท และภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงสุด 500,000 บาท เป็นระยะเวลา 1 ปี สำหรับไรเดอร์ทั่วประเทศที่ลงทะเบียนและเข้าเกณฑ์ตามเงื่อนไขที่กำหนด* โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และจะเริ่มคุ้มครองตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564

นอกจากนี้ LINE MAN ได้จับมือร่วมกับ Shell GO+ มอบประกันโควิด-19 แก่ไรเดอร์เพิ่มอีกช่องทาง ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19 ภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดวัคซีนไปจนถึงอาการโคม่าด้วยเช่นเดียวกัน โดยเริ่มคุ้มครองระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม 2564



นายยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai กล่าวว่า ไรเดอร์ถือเป็นฮีโร่ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่คนทั่วไปในการขนส่งอาหารหรือสิ่งของต่างๆ ในช่วงล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนั้น การดูแลเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยของไรเดอร์จึงเป็นเรื่องที่ LINE MAN ให้ความสำคัญสูงสุด เพื่อสร้างความอุ่นใจให้แก่ไรเดอร์ของเรา โดย LINE MAN พร้อมเดินหน้าออกมาตรการดูแลเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการมอบประกันโควิด-19 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม การมอบเงินเยียวยาให้แก่ไรเดอร์ที่ต้องกักตัว หรือติดเชื้อโควิดสูงสุดครั้งละ 9,000 บาท รวมถึงมีการแจกหน้ากากอนามัยให้ไรเดอร์ทั่วประเทศมากถึง 1 ล้านชิ้น เพื่อให้ไรเดอร์ของเราสามารถให้บริการอย่างดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้

ทั้งนี้ เงื่อนไขของประกันโควิด-19 เป็นไปตามบริษัทฯ กำหนด และไรเดอร์ที่จะได้รับประกันโควิด-19 จะต้องลงทะเบียนในระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม 2564 โดยขับ 15 วันทำงานขึ้นไป รวมไม่ต่ำกว่า 30 เที่ยวในเดือนกรกฎาคม 64 หรือตามเงื่อนไขในเดือนต่อๆ ไป ซึ่งจะประกาศผ่านช่องทางแอปฯ LINE MAN Rider
#10069


แม้ไลน์ (LINE) แอปพลิเคชันส่งข้อความแชตยอดฮิตจะไม่ได้ประกาศตรงไปตรงมาว่า วางเป้าหมายของธุรกิจ LINE for Business ปี 2564-2565 ไว้ที่การผลักดันตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศไทย แต่ LINE ก็มั่นใจว่าทิศทางธุรกิจที่จะเกิดในปีนี้ จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยเข้าใจ และเห็นเทรนด์ที่ 'มากพอ' จนให้ธุรกิจไทยเข้ามาประสานพลังเป็นองค์รวม ติดปีกให้ไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้นในยุคนิวนอร์มัล

ถามว่าทำได้อย่างไร? เรื่องนี้ประเมินเบื้องต้นได้จากกองทัพแบรนด์และหน่วยงานที่มาเปิดบัญชีทางการบน LINE หรือที่เรียกว่า LINE OA (LINE Official Account) LINE เชื่อว่าด้วยศักยภาพของแพลตฟอร์ม LINE ที่เข้าถึงคนไทยกว่า 49 ล้านคน บริการ LINE OA จึงมีโอกาสกลายเป็นตัวกลางสำคัญให้บริษัทและองค์กรภาครัฐสามารถให้ข้อมูลหรือให้บริการบางส่วนได้โดยที่คนไทยไม่ต้องเดินทางมายังสถานที่ให้บริการ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโลกธุรกิจวันนี้

LINE ยืนยันว่า LINE OA มียอดใช้งานสูงผิดปกติ ย้อนไปช่วง พ.ค. ปีที่แล้ว LINE ประกาศว่าจำนวนหน่วยงานที่มาเปิดบัญชีทางการเป็น LINE OA เพิ่มขึ้นมาเป็น 4 ล้านราย ขยายขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มี 3 ล้านราย มาปี 64 ดาวรุ่งอย่าง LINE ยังคงยึดตัวเลขเดิมคือ 4 ล้านรายไว้ พร้อมกับย้ำว่าในสถานการณ์ที่ไม่มีโควิด-19 ยอด LINE OA ไม่ได้เติบโตปีละ 1 ล้านราย แต่มักต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะทำได้

ภาวะนี้สะท้อนโอกาสของ LINE OA โดยเฉพาะปี 64-65 ที่ LINE วางโฟกัสไปที่ธุรกิจร้านอาหารและค้าปลีก ผ่านบริการชื่อมายช็อป (MyShop) และมายเรสเตอรอง (MyRestaurant) ที่เปิดพื้นที่ให้ร้านค้ารับออเดอร์และบริการลูกค้าได้ฟรีในขณะนี้ ก่อนที่จะมีการออกแบบให้บริการมีความคุ้มค่าต่อธุรกิจมากขึ้น เพื่อปูทางสู่การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ที่จะเริ่มเก็บค่าบริการในช่วงปี 65

***ไม่ใช่เก็บเงินจากของที่เคยฟรี

นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ LINE ประเทศไทย กล่าวถึงแนวทางพัฒนาบริการ MyShop และ MyRestaurant ในปีหน้าว่าจะไม่มีการเปลี่ยนฟีเจอร์ให้บริการฟรีมาเป็นเก็บค่าบริการ แต่ LINE จะมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิมแล้วจึงค่อยเก็บค่าบริการ 

'เราอาจจะต้องขอเงินเป็นรายได้เราด้วย' นรสิทธิ์ระบุ 'เป้าหมายของ LINE คือการพัฒนาโซลูชันให้ใช้ง่าย เน้นให้ธุรกิจใช้ LINE OA ในการบริหารธุรกิจได้มากขึ้น ปัจจุบัน LINE ทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายราย มีการเอา API มาปรับใช้เพื่อให้ธุรกิจใช้ LINE เป็นหน้าร้านได้ง่ายขึ้น เจาะกลุ่มคนไทยได้ทุกอายุ เรียกว่าถ้าใครหรือแบรนด์ใด ต้องการเข้าถึงคนไทยมากขึ้น ก็จะมาที่ LINE OA เชื่อว่าจะเป็นก้าวที่พัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ'

ผลดีของเศรษฐกิจ จะไปอยู่ที่กระเป๋าเงินของ LINE ด้วย
ผลดีของเศรษฐกิจ จะไปอยู่ที่กระเป๋าเงินของ LINE ด้วย

LINE OA เป็นโซลูชันหลักที่ LINE ให้บริการลูกค้าธุรกิจและ SME ภายใต้แบรนด์ LINE for Business ธุรกิจนี้ต่อยอดไปมากจากที่ LINE เคยเป็นเพียงแอปพลิเคชันแชตที่ใช้เพื่อรับส่งความช่วยเหลือในช่วงวิกฤตแผ่นดินไหวใหญ่ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 แล้วจึงเข้าสู่เมืองไทยช่วง 9 ปีที่แล้วที่โซเชียลมีเดียกำลังบูม สำหรับไทย เชื่อกันว่าคนไทยเริ่มทดลองใช้ LINE เพราะว่ามีสติกเกอร์น่ารัก ปูทางให้ LINE เริ่มพาธุรกิจมาสู่บริการ LINE OA ซึ่งกลืน 'LINE@' ที่ให้บริการ SME ก่อนหน้านี้เอาไว้ด้วย

LINE เปิดให้บริการ LINE Pay ในช่วง 2 ปีหลังจากนั้น พร้อมกับเริ่มทำธุรกิจคอนเทนต์ เช่น LINE Today จนมีการเปิดบริการ LINE MAN ราว 2-3 ปีต่อมามีการผลักดันธุรกิจ LINE ไปสู่วงการดิจิทัลไฟแนนซ์ มีการร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยเปิดเป็น LINE BK แล้วขยายไปเปิดธุรกิจอีคอมเมิร์ซผ่าน LINE Shopping ที่เข้าถึงผู้บริโภคตรงๆ ร่วมกับการขยายธุรกิจสติกเกอร์ให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น และการทำโอเพ่นแชต ซึ่งสร้างเป็นชุมชนที่สมาชิกสามารถพูดคุยได้แบบไม่เปิดเผยตัวตน

สิ่งที่ไลน์มองต่อจากนี้คือการปิดช่องว่าง LINE มองตัวเองเป็นแพลตฟอร์มที่ปิดช่องว่างระหว่างวัยหรือ generation จากตอนนี้ที่คิดว่ามีแต่ผู้ใช้วัยรุ่น แต่ขณะนี้ย่ายายก็หันมาใช้งาน LINE ทุกคนสามารถมาพบเจอกันบน LINE

'วันนี้ทุกคนมีกลุ่ม LINE ครอบครัว, LINE หมู่บ้านและ LINE เครือญาติ ภารกิจที่มองก็คือการทำให้ LINE ใช้งานง่ายมากขึ้นและดีมากขึ้น เราต้องรับผิดชอบมากขึ้น เพราะว่าประเทศไทยใช้ social ไม่เหมือนตะวันตก คนประเทศอื่นไม่ให้แชตส่วนตัวในการทำงาน แต่คนไทยไม่ถือสา และใช้ LINE ส่วนตัวในการทำงาน'

ในเมื่อทุกคนใช้ชีวิตบน LINE บริษัทจึงวางแผนใหม่ต่อยอดจากปีที่ผ่านมา LINE มองตัวเองเป็น Mass adapter enabler เพราะทั้งกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงวัยทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัดล้วนสามารถใช้งานได้เร็วเมื่อมี LINE เป็นสื่อกลาง เรียกว่าเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงผู้บริโภคได้เร็วขึ้น และเข้าใจการใช้งานได้มากขึ้น

ปีนี้ เชื่อว่าจะมีการใช้บริการการเงินใน LINE มากขึ้น ทะลุ 1 พันล้านทรานเซกชัน
ปีนี้ เชื่อว่าจะมีการใช้บริการการเงินใน LINE มากขึ้น ทะลุ 1 พันล้านทรานเซกชัน

LINE อธิบายว่าที่ผ่านมา บริษัทเน้นให้หน่วยงานที่ต้องการเข้าถึงคอนซูเมอร์มากขึ้น ได้ใช้งาน open API ซึ่งเป็นเหมือนปลั๊กที่เชื่อมทุกเทคโนโลยีให้ต่อติดกับ LINE และสามารถใช้ LINE เป็นหน้าบ้านให้คนทั้งประเทศใช้งานได้

ปรากฏว่าปีที่ผ่านมา หลายธนาคารไทยหันมาใช้งาน LINE มากขึ้น และในขณะที่แบรนด์ทั่วไปมักใช้ LINE แค่สื่อสารกับลูกค้า แต่กลุ่มธนาคารเป็นเซกเมนต์แรกที่ให้บริการ 'ง่ายๆ' บน LINE เลย ผลคือ LINE พบยอดเติบโตของการใช้งาน Digital Banking ผ่าน LINE API ตั้งแต่ปี 2562 มาจนถึงต้นปี 2564 ในรายเดือน (Monthly API Message) เพิ่มขึ้นถึง 80% การให้บริการ Digital Banking service ก้าวกระโดดมากขึ้นถึง 2.8 เท่า แปลว่ามีผู้เข้ามาใช้งานบริการการเงินจริงจังบน LINE ไม่ใช่แค่รับข่าวสารเท่านั้น

ตัวอย่างน่าสนใจคือ ธนาคารกสิกรไทยเปิดให้ผู้ใช้ LINE เปลี่ยนวงเงินบัตรโดยไม่ต้องไปที่สาขา สามารถยืนยันตัวตนได้โดยไม่ต้องโทรศัพท์ติดต่อเจ้าหน้าที่ ขณะที่ธนาคารกรุงไทยเปิดให้เช็คยอดเงินในบัญชีได้เลย ด้านธนาคารกรุงศรีอยุธยาก้าวไปอีกขั้นด้วยการเปิดให้เลือกวางแผนการลงทุนและซื้อกองทุนได้บน LINE เช่นเดียวกับธนาคารไทยพาณิชย์ที่เป็นเจ้าแรกซึ่งใช้ API ของ LINE ยังมี ธกส. ที่ตรวจผลสลากผ่าน LINE ได้เลย

'ในขณะที่ทั่วโลกพบว่าประชากรไทยใช้ mobile banking มากที่สุดในโลก ปีนี้เชื่อว่าจะมีการใช้บริการการเงินใน LINE มากขึ้น ทะลุ 1 พันล้านทรานเซกชัน'

***ปี 65 ขอเป็นส่วนเสริม

จาก Mass adapter enabler บทบาทของ LINE จะถูกเปลี่ยนเป็นส่วนเสริมเพื่อให้ประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น โดย LINE มองว่าจะรองรับทั้งส่วนเวิร์กฟอร์มโฮม การประชุมออนไลน์ และการรับวัคซีน

นรสิทธิ์อธิบายว่าการแพร่ระบาดทำให้เกิดวิกฤตจริง แต่ก็มีโอกาสแฝงอยู่ เบื้องต้นพบว่าแบรนด์หรูที่เป็น luxury segment ซึ่งมีมานานแต่ไม่ได้เร่งการขายบนออนไลน์มาก เพราะสินค้ากลุ่มนี้คือกลุ่มที่ลูกค้ามักไปซื้อที่ต่างประเทศหรือร้าน duty free แต่เมื่อการท่องเที่ยวหยุดชะงัก แบรนด์กลุ่มนี้จึงมองว่าเป็นโอกาสที่จะขายบนออนไลน์ โดยตั้งแต่ปี 62 พบว่าใน luxury segment มี LINE OA เพิ่มขึ้น 60% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเครื่องสำอาง รองลงมาเป็นแฟชั่น และกลุ่มยานยนต์

'จุดที่น่าแปลกใจ คือก่อนนี้กลุ่ม luxury ยังไม่กล้าลองขายออนไลน์ แต่ตอนนี้ทุกแบรนด์มี LINE OA กันหมด ตรงนี้ไทยถือเป็นประเทศแรกที่มีการขายสินค้ากลุ่มนี้ผ่านแชต ที่น่าสนใจคือคนไทยแชตเพื่อซื้อสินค้า luxury จริงจัง พบว่าคนไทยมากกว่า 8 แสนคนเป็นเพื่อนผู้ติดตามแบรนด์เครื่องสำอาง ขณะที่ 2 แสนคนเป็นเพื่อนกับค่ายรถ และ 9 หมื่นคนเป็นเพื่อนกับแบรนด์แฟชั่นหรูอย่างชาแนลและดิออร์ จำนวนการแชตแบบ 1 ต่อ 1 มีมากกว่า 5,000 แชตต่อวัน เชื่อว่ากลางปี 65 แบรนด์หรูจะขยับมาให้บริการลูกค้าแบบ 1 ต่อ 1 บนออนไลน์ได้สมบูรณ์'

ธุรกิจร้านอาหาร และค้าปลีก เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนมากซึ่งได้รับผลกระทบหนักและมีส่งผลต่อ GDP ค่อนข้างสูง ในปีนี้ถึงปีหน้า LINE ตั้งเป้าผลักดัน 2 กลุ่มนี้เพื่อสนับสนุน GDP ไทยให้ไปต่อได้ในช่วงวิกฤต
ธุรกิจร้านอาหาร และค้าปลีก เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนมากซึ่งได้รับผลกระทบหนักและมีส่งผลต่อ GDP ค่อนข้างสูง ในปีนี้ถึงปีหน้า LINE ตั้งเป้าผลักดัน 2 กลุ่มนี้เพื่อสนับสนุน GDP ไทยให้ไปต่อได้ในช่วงวิกฤต

ในภาพรวม LINE ย้ำว่าต้องการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยผ่านการระบาดไปได้ และสามารถปรับตัวเรียนรู้เพื่อแข่งขันได้บนเวทีโลกในช่วงหลังโควิด-19 ปัญหาคือขณะนี้ไทยกำลังอยู่ในวิกฤตสูญเสียตำแหน่งผู้นำตลาดโลกในหลายด้าน

'ขณะนี้ไทยต้องรู้ตัวและปรับตัวเอง ศักยภาพคนไทยมีมาก SME ไทยก็ไม่ธรรมดา มีการใช้เทคโนโลยีปรับตัวดีกว่าหลายประเทศ แต่ไทยก็ยังต้องทำหลายเรื่องในปีนี้'

ผู้บริหารย้ำว่า SME ไทยเป็นส่วนสำคัญเพราะเป็นเซกเมนต์ที่มีผลกับ GDP ไทยสูงมากคิดเป็นสัดส่วน 45% ในกลุ่มนี้ LINE พบว่ากลุ่มธุรกิจ SME ที่ได้รับผลกระทบหนักสุดในช่วงวิกฤตโควิด-19 คือ ธุรกิจอาหาร ซึ่งส่งผลต่อ GDP ลดลงถึง 37% รองลงมาคือ ธุรกิจขนส่ง และค้าปลีก ในอัตราส่วนที่ลดลง 21% และ 3.7% ตามลำดับ

ท่ามกลางวิกฤตนี้ LINE พบว่าอัตราการเติบโตของ LINE OA โดยธุรกิจกลุ่มร้านอาหารมีอัตราการเปิดใช้งาน LINE OA เพิ่มขึ้น (YoY) สูงสุดถึง 212% รองลงมาคือธุรกิจกลุ่มค้าปลีกที่ 191% ดังนั้น LINE จึงเน้นเรื่องการเปลี่ยนเพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้
'LINE มีวิศวกรไทย 100% ไม่มีคนต่างชาติ ทุกคนพัฒนาโซลูชันจากสิ่งที่คนไทยต้องการ วันนี้ LINE มองเห็นว่าอุตสาหกรรมที่เดือดร้อนมากที่สุดคืออาหาร จึงพัฒนาเป็นบริการที่ตอบโจทย์เมืองไทยโดยเฉพาะ'

ตัวอย่างบริการสำหรับประเทศไทยคือ LINE MyShop ซึ่งผู้บริหารการันตีว่าเป็นบริการที่เปิดให้คนไทยสามารถเปิดหน้าร้านออนไลน์ได้ง่ายที่สุดเมื่อเทียบกับค่ายโซเชียลมีเดียอื่น เช่นเดียวกับ MyRestaurant ที่ง่ายและมีการปรับเปลี่ยนตลอดเพื่อให้ธุรกิจก้าวทัน จุดนี้เป็นผลจากความร่วมมือกับ 'LINE วงใน' ที่เปิดการสื่อสารให้ลูกค้าและร้านติดต่อกันได้ง่ายขึ้น และลูกค้าไม่จำเป็นต้องเข้าไปหารายการอาหารในแอป LINE MAN แก้ปัญหาค้นร้านไม่พบ ซึ่งไทยมีร้านอาหารจำนวนมากติดอันดับโลก
'การที่ร้านอาหารสามารถเปิดขายผ่าน LINE OA จะทำให้สามารถบอกต่อลูกค้าย่านใกล้เคียง สามารถนำ LINE OA ไปเผยแพร่เพื่อให้คนในชุมชนได้รู้ ซึ่งง่ายกว่าในการเข้าไปหาใน LINE MAN'

นอกเหนือจากนี้ ผู้บริหารมองว่าการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยมีหลากหลาย แต่การใช้ดิจิทัลที่มีมูลค่ากลับไปที่ GDP ของประเทศไทยนั้นยังมีไม่มาก จุดนี้ LINE จึงวางบทบาทว่าต้องให้ความรู้ ให้ร้านทราบว่าไม่ใช่แค่การให้ความสำคัญกับความสะอาดหรืออร่อย แต่แท้จริงแล้ว จะต้องใช้ข้อมูล

'การจัดการร้านที่ดีควรให้ความสำคัญเรื่องการจัดการเวลา ต้นทุน และสินค้าคงคลัง จุดนี้หลายร้านในเมืองไทยยังไม่รู้ LINE จึงหวังว่าจะเพิ่มช่องทางเพื่อให้ร้านค้าสามารถคลิกอ่านเพิ่มความรู้ว่าการจัดการร้านแบบครบวงจรด้วยข้อมูลในระดับสากลนั้นเป็นอย่างไร หากทำได้สิ่งนี้จะกระทบไปที่ GDP' นรสิทธิ์ระบุ 'ไม่ใช่แค่ว่า คนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่เรายังพัฒนาได้อีกมากในเรื่องของเศรษฐกิจ เราอยากให้ทุกคนได้รู้ว่า จะใช้บริการนี้ได้อย่างไร'

LINE มีแผนจะเน้นที่ผู้ค้าที่เป็นแบรนด์ เหตุผลคือร้านค้ากลุ่มที่อยู่ในประเภท 'ซื้อมาขายไป' เป็นธุรกิจที่ไม่มีผลต่อ GDP มากนัก เนื่องจากจะต้องซื้อสินค้าราคาต่ำกว่า เพื่อนำมาขายในราคาสูง ทำให้เกิดภาวะที่สินค้าเหมือนกันต้องตัดราคากัน สุดท้ายลูกค้าก็ต้องหาสินค้าที่ถูกกว่าแม้จะคุณภาพไม่เท่ากัน

นอกจากภาคธุรกิจแล้ว กลุ่มองค์กรที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศไทย คือ กลุ่มบริการสาธารณะต่างๆ Public sector เหล่านี้ใช้ LINE OA ในอัตราเติบโต 30% สถิติชี้ว่ามีผู้ติดตามหน่วยงานอย่างการไฟฟ้านครหลวงจำนวนมากเกิน 1.7 ล้านคน

เชื่อว่ากลางปี 65 แบรนด์หรูจะขยับมาให้บริการลูกค้าแบบ 1 ต่อ 1 บนออนไลน์ได้สมบูรณ์
เชื่อว่ากลางปี 65 แบรนด์หรูจะขยับมาให้บริการลูกค้าแบบ 1 ต่อ 1 บนออนไลน์ได้สมบูรณ์

ที่สุดแล้ว นรสิทธิ์ไม่มองว่าการเน้นที่อาหารและค้าปลีกจะเป็นนโยบายเดิมที่ทำให้ LINE ย่ำอยู่กับที่ เพราะธุรกิจร้านอาหาร และค้าปลีก เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนมากซึ่งได้รับผลกระทบหนักและมีส่งผลต่อ GDP ค่อนข้างสูง ในปีนี้ LINE จึงคิดว่า 2 กลุ่มธุรกิจนี้แม้จะไม่ใช่กลุ่มเซกเมนต์ใหม่ แต่ยังคงมีน้ำหนักความสำคัญต่อภาพเศรษฐกิจไทยโดยรวมอยู่มาก การผลักดัน 2 กลุ่มนี้จึงเป็นการผลักดันและสนับสนุน GDP ให้ไปต่อได้ในช่วงวิกฤตนี้

'สิ่งที่จะมาเปลี่ยนการใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายด้านของคนไทยให้มีผลต่อ GDP คือการแก้ปัญหาผู้ประกอบการที่วันนี้ไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอ หลายคนเข้าใจว่าแค่โพสต์-เปิดร้าน หรือซื้อโฆษณาก็สามารถทำ e-commerce ได้แล้ว หลายคนบ่นว่าทำไมขายไม่ได้ แต่วันนี้ LINE มีการพูดคุยมากขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เชื่อว่าจะเป็นไกด์ไลน์ให้คนไทย ผู้ประกอบการไทยมีข้อมูล และมีมุมมองการใช้ออนไลน์ให้ประสิทธิภาพกับธุรกิจ และธุรกิจมีกำไรมากขึ้น จุดนี้จะสำคัญมากกว่า GDP และจะสู้กับสินค้าระดับโลกได้'

ปัญหานี้ถือว่าสำคัญ นรสิทธิ์อธิบายว่าเพราะขณะนี้ทุกคนสามารถซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้เลยโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนไทย มีเพียงกำแพงภาษีที่กั้นไว้ จุดนี้คนไทยจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือและได้รับการผลักดัน แม้จะยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากนักในปี 65 เนื่องจากวิกฤติกำลังซื้อไทยหดตัว อุตสาหกรรมได้รับผลกระทบทั้งหมด

'สิ่งที่หวังว่าจะเกิดในปีนี้คือ การเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยเข้าใจ และเห็นเทรนด์ที่มากพอ ให้ธุรกิจเข้ามาร่วมกัน ประสานกันเป็นองค์รวม จะได้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น'

แน่นอนว่าผลดีจะไปอยู่ที่กระเป๋าเงินของ LINE ด้วย ในขณะที่หลายธุรกิจติดลบ สถิติรายได้ของ LINE Corp. ย้อนหลัง 5 ไตรมาสถือว่าน่าประทับใจ ด้วยอายุ 10 ขวบ ปัจจุบัน LINE มีผู้ใช้งานมากกว่า 186 ล้านคนต่อเดือนทั่วโลก (สถิติธันวาคม 2020)

ในภาพรวม LINE Corp. ทำรายได้รวม 62,900 ล้านเยน (18,861 ล้านบาท) ในไตรมาส 3 ปี 63 เพิ่มขึ้นเกิน 12.4% รายได้จากธุรกิจหลักมาจากการแสดงโฆษณาผ่านบริการบนแอปโดยเฉพาะ LINE OA และ Sponsored Stickers รวมถึงการโฆษณาบน LINE Part Time Job ขณะที่รายได้จากธุรกิจสื่อสารมาจากธุรกิจสติกเกอร์ และธุรกิจคอนเทนต์มีแหล่งรายได้สำคัญคือบริการ LINE Game

ไฮไลท์ของ LINE ยังอยู่ที่รายได้ในธุรกิจเสริม หรือที่ LINE เรียกเป็นธุรกิจกลยุทธ์ (strategy) ธุรกิจนี้ประกอบด้วยบริการฟินเทคเช่น LINE Pay รวมถึงบริการ AI, LINE Friends และ e-commerce ธุรกิจส่วนนี้เองที่มีอัตราเติบโตเป็นเลข 2 หลักทุกปี สวนทางกับธุรกิจหลักที่เติบโต 1 หลักเท่านั้น

LINE มองไกลแล้ว ขอให้คนไทย (และ GDP ไทย) ไปได้ไกลด้วยเช่นกัน.
#10070


ลอรีอัล กรุ๊ปได้รายงานผลการดำเนินงานรอบครึ่งปีแรกของปี 2564 โดยเติบโตขึ้น 20.7% ในสถานการณ์โควิด-19 ตลาดผลิตภัณฑ์ความงามภาพรวมฟื้นตัวขึ้นทีละน้อย และเติบโตสองหลัก โดยลอรีอัล กรุ๊ปครองส่วนแบ่งตลาดสูงขึ้นในทุกแผนกและในทุกภูมิภาค และมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าตลาดรวม โดยเฉพาะไตรมาส 2 ที่บริษัทฯ มีการเติบโตที่แข็งแกร่ง และสามารถหวนคืนสู่การเติบโตในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิดถึง 6.6% เทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2562 และเพิ่มขึ้น 8.4% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2562

ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบริษัทฯ ทำให้แบรนด์ต่างๆ สร้างและรักษากลุ่มลูกค้า รวมทั้งพันธมิตร โดยช่องทางอี-คอมเมิร์ซเติบโตในระดับปานกลางที่ 29.2% เนื่องจากช่องทางร้านค้าปลีกสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้ ยอดขายอี-คอมเมิร์ซคิดเป็นสัดส่วน 27.3% ของยอดขายทั้งหมด ขณะที่กลุ่มค้าปลีกท่องเที่ยวนั้นได้ฟื้นตัวขึ้น โดยได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยของการเดินทางระหว่างประเทศ และความสำเร็จในตลาดไหหลำ ขณะเดียวกัน ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาบริษัทได้เปิดตัวแคมเปญของลอรีอัล กรุ๊ป เป็นครั้งแรกทั่วโลก เพื่อให้ลูกค้า ผู้ถือหุ้น รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจทั้งหมด การเปิดตัว "L'Oréal For Youth" โครงการระดับโลกเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ให้เพิ่มอีก 30%

นายนิโคลา ฮิโรนิมุส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลอรีอัล กล่าวว่า "ลอรีอัล กรุ๊ปเติบโตในช่วงครึ่งปีแรก และจะเติบโตในอัตราการขยายตัวระดับเดียวกับช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤต ด้วยการใช้เทคโนโลยี data และ AI เพื่อก้าวขึ้นเป็นบริษัท Beauty Tech โดยครึ่งหลังปี 2564 นี้เราจะใช้กลยุทธ์เปิดตัวผลิตภัณฑ์เชิงรุก จะลงทุนในปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเติบโตเพื่อกระตุ้นการขยายตัวในอนาคต มั่นใจมากที่จะเติบโตอัตราสูงกว่าตลาด และปีนี้จะประสบความสำเร็จในการเติบโตของยอดขายและผลประกอบการ"



ทั้งนี้ การเติบโตแบ่งตามแผนกธุรกิจ
1. แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ เติบโต 41% จากเทรนด์ในตลาด 3 ส่วน คือ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของซาลอนและร้านเสริมสวยต่างๆ การพัฒนาสไตลิสต์ที่เป็นฟรีแลนซ์ และการขยายตัวของอี-คอมเมิร์ซ
2. แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค เติบโต 6.3% โตสูงกว่าตลาด และเติบโตในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในจีน บราซิล อินโดนีเซีย และประเทศหลักในยุโรป
ช่องทางอี-คอมเมิร์ซเติบโตมาก สัดส่วน 20% ของยอดขายรวม
3. แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง เติบโต 28.1% โตสูงกว่าตลาดในทุกภูมิภาค จากการกลับมาเปิดให้บริการของหน้าร้านบางส่วน และแผนกนี้ยังมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งสามประเภทที่มี
4. แผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง เติบโต 37.5% โดยมีการปรับผลิตภัณฑ์แบรนด์สกินแคร์ให้ตอบรับกับความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากกว่าเดิมในช่วงการระบาดของโควิด



สำหรับข้อมูลแบ่งตามโซนภูมิภาค ครึ่งปีแรก พ.ศ. 2564 ลอรีอัล กรุ๊ปได้ปรับการจัดภูมิภาคขึ้นใหม่ โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 ยอดขายตามโซนภูมิภาครายงานตามการจัดโครงสร้างดังกล่าว โดยภูมิภาคที่จัดขึ้นใหม่ คือ ยุโรป อเมริกาเหนือ เอเชียเหนือ SAPMENA (เอเชียแปซิฟิกใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ และแอฟริกาใต้ซาฮารา) และละตินอเมริกา

SAPMENA เติบโต 19.9% ประเทศแถบแปซิฟิก และกลุ่มประเทศรอบอ่าวอาหรับเริ่มฟื้นตัวขึ้น แต่สถานการณ์โควิด-19 ในอินเดียยังคงส่งผลกระทบต่อยอดขายในไตรมาส 2 ขณะที่หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ยังมีการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด ส่วนเวียดนามยังเติบโตต่อเนื่อง การเติบโตของตลาด SAPMENA ได้รับแรงหนุนจากแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคจากแบรนด์การ์นิเย่ และเมย์เบลลีน นิวยอร์ก รวมทั้งจากแผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงในกลุ่มน้ำหอม และสกินแคร์ และแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่มีแบรนด์ลา โรช-โพเชย์ช่วยเสริม ขณะที่อี-คอมเมิร์ซเติบโตอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดีย ช่วยผลักดันให้ทุกแผนกเติบโตขึ้นเช่นกัน ส่วนในแอฟริกาใต้ซาฮารานั้นยอดขายตลาดแอฟริกาใต้สูงขึ้นสองหลัก

ส่วนเอเชียเหนือเติบโต 27.3% ขณะที่ยุโรปเติบโต 11.9% (ครอบคลุมถึงยุโรปตะวันตก และยุโรปตะวันออก และเป็นโซนที่ใหญ่ที่สุดของลอรีอัล กรุ๊ป ในแง่ยอดขาย) ทางด้านอเมริกาเหนือเติบโต 23.2% และละตินอเมริกาเติบโต 32.8%



ทั้งนี้ ลอรีอัล กรุ๊ป มีพอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์ความงาม 35 แบรนด์ มียอดขายผลิตภัณฑ์ 2.799 หมื่นล้านยูโร ในปี 2563 มีผลิตภัณฑ์จัดจำหน่ายผ่านทุกช่องทาง
ส่วนลอรีอัล ประเทศไทย นำเข้าและจัดจำหน่ายแบรนด์ระดับสากล ใน 4 แผนกผลิตภัณฑ์
1. แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภค : ลอรีอัล ปารีส, การ์นิเย่ และเมย์เบลลีน นิวยอร์ก
2. แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง : ลังโคม, ไบโอเธิร์ม, จิออร์จิโอ อาร์มานี, คีลส์, ชู อูเอมระ, อีฟส์ แซงต์ โลรองต์, เออเบิน ดีเคย์ และอิท คอสเมติกส์
3. แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ : ลอรีอัล โปรเฟสชันแนล และเคเรสตาส
4. แผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง : ลา โรช-โพเซย์, วิชี่ และเซราวี
#10071
การเงินติดขัด การงานสะดุด ธุรกิจมีปัญหา ความรักไม่สมดังใจ สุขภาพทรุดโทรม โชคลาภไม่มี ปรึกษาเราสิค่ะ


รับดูดวงผ่านไพ่ยิปซี ออราเคิล โดยใช้จิตสัมผัส และรับสอนการดูดวงผ่านศาสตร์ไพ่ยิปซี ออราเคิล
รับประกันความแม่นยำ และชัดเจนในทุกคำถาม พยากรณ์ได้ทุกเรื่อง เช่น เช็คดวงรายวัน การเงิน การงาน ธุรกิจ ความรัก เนื้อคู่ สุขภาพ โชคลาภ อีกทั้งมีแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ โดยใช้หลักการทางพระพุทธศาสนาสามารถดูต่อเนื่องได้วันต่อวัน ไม่ต้องรอเป็นเดือน รับพยากรณ์ทั้งทางโทรศัพท์ และพยากรณ์แบบส่วนตัว(พื้นที่ จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง)
ค่าครู 299 บาท (ปกติ 599 บาท)

สนใจติดต่อ อ.อนัตตา เทพพยากรณ์
โทร. 0914441569
Line ID : 0944824293

ข้อมูลเพิ่มเติม http://porntaywa99.lnwshop.com/p/208

#10072


ถือเป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่ใช้เวลาในการผลักดันอย่างยาวนานกว่า 2 ปีสำหรับโครงการ "ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3" โครงการสำคัญในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งการล่าช้ามาจากข้อขัดแย้งของเอกชน 2 กลุ่มที่เข้ายื่นซองแข่งขันการประมูล ก่อนที่กลุ่มหนึ่งจะถูกตัดสิทธิ์จากข้อผิดพลาดเรื่องเอกสารทำให้มีการไปฟ้องร้องศาลปกครองเป็นคดีความอยู่นานกว่า 1 ปี ทำให้ขั้นตอนการอนุมัติโครงการ การเซ็นสัญญาล่าช้ามาเป็นเวลาพอสมควร 

ล่าสุดโครงการนี้มีความชัดเจนและความคืบหน้าที่สำคัญ เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เมื่อวันพุธที่ 4 สิงหาคม 2564 ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ. เป็นประธานได้พิจารณา ผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F ตามที่ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ดำเนินการตาม มติ ครม. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซี กล่าวว่าขณะนี้ได้มีการส่งสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา จากนั้นจะนำเอาสัญญาที่ผ่านการพิจารณาแล้วเข้าสู่การพิจารณาของ กพอ.นัดพิเศษ และนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้วก็จะมีการเซ็นสัญญากับภาคเอกชนโดยกลุ่มกิจการร่วมค่า GPC กับการท่าเรือแห่งประเทศไทย คาดว่าจะดำเนินการได้ในเดือน ส.ค.นี้

ส่วนการก่อสร้างท่าเรือ F1 คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2568 และท่าเรือ F2 จะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2572 จากนั้นจะเปิดประมูลท่าเรือใกล้เคียงในบริเวณดังกล่าว ได้แก่ ท่าเรือ E ซึ่งจะมีการเชิญชวนเอกชนมาร่วมลงทุนอีกโครงการ 

อนุมัติผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ภาครัฐได้รับจากโครงการฯ เป็นค่าสัมปทานคงที่ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรที่ 100 บาทต่อ TEU (หน่วยนับตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งมีขนาด 20 ฟุต)

โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 ได้มีมติให้กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เป็นผู้ผ่านการประเมินข้อเสนอซองที่ 4 ซึ่งได้เสนอผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ภาครัฐได้รับ ตามที่ มติ ครม. ได้อนุมัติไว้

นอกจากนี้ ยังได้เจรจาผลตอบแทนเพิ่มเติม อาทิ เอกชนตกลงเพิ่มเงื่อนไขการสร้างท่าเรือ F2 ให้เร็วขึ้น หากแนวโน้มตู้สินค้าเพิ่มขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เอกชนจะสมทบเงินเข้ากองทุนเยียวยาความเสียหาย ในอัตรา 5,000 บาท/ไร่/ปี นับตั้งแต่วันเริ่มประกอบการท่าเทียบเรือ เป็นต้น

ทั้งนี้ คณะทำงานเจรจาร่างสัญญา ฯ ที่มีผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นประธาน ได้ดำเนินการเจรจาร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชน รวมทั้งสิ้น 14 ครั้ง โดย ยึดหลักเจรจาตามเอกสารการคัดเลือกเอกชน ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างโปร่งใส รัดกุม และประเทศได้ประโยชน์สูงสุด จนได้ข้อยุติในเบื้องต้น จากนั้นคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เจรจาร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนเพิ่มเติมอีก 4 ครั้ง จนได้ข้อยุติในทุกประเด็น

และในการประชุมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติว่าได้ดำเนินการเจรจาร่างสัญญาร่วมลงทุนครบถ้วนทุกประเด็นแล้ว จึงเสนอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และ สกพอ. พิจารณาดำเนินการต่อไป โดย กทท. ได้ส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา ทั้งนี้ได้ข้อตกลงในร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด  โดยจะเร่งนำเสนอ ครม. พิจารณา และลงนามสัญญาต่อไป

โครงการนี้จะก่อให้เกิดการลงทุนรวมกว่า 7.92 หมื่นล้านบาท เป็นการลงทุนของภาครัฐประมาณ 4.83 หมื่นล้านบาท และการลงทุนของเอกชนประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท

ก่อนหน้านี้มีการรายงานผลตอบแทนโครงการ และการวิเคราะห์ทางการเงินให้ที่ประชุม ครม.รับทราบเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวจากข้อเสนอซองที่ 4 ด้านผลประโยชน์ตอบแทนนั้น กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เสนอค่าสัมปทานคงที่คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่ 12,051 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรที่ 100 บาทต่อทีอียู ซึ่งค่าสัมปทานคงที่ดังกล่าวต่ำกว่าที่รัฐคาดหมายตามมติ ครม. โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เจรจาผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินกับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC จำนวน 6 ครั้ง โดยข้อเสนอสุดท้ายอยู่ที่ 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรคงเดิมที่ 100 บาทต่อทีอียู

ขณะเดียวกัน กทท.และ สกพอ.ได้เสนอความเห็นร่วมกันว่า ผลตอบแทนโครงการเฉพาะส่วนของท่าเทียบเรือ F จะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) อยู่ที่ 11.01% และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV ) อยู่ที่ 30,032 ล้านบาท และหากนำมูลค่าที่ดินของ กทท.มาคำนวณเป็นมูลค่าสุดท้าย (Terminal Value) จะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงินอยู่ที่ 11.54% และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิอยู่ที่ 39,959 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

  

สำหรับ "กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC" เป็นการร่วมทุนกันของ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ "GULF"  บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด หรือ "PTT Tank" และ บริษัท ไชนาร์ฮาเบอร์ เอ็นจิเนียร์ริ่ง จำกัด โดยถือหุ้นในสัดส่วน 40% 30% และ 30% ตามลำดับ  
#10073


อุตสาหกรรมอาหารของไทยนอกจากเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC เพราะเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่ม First S-Curve แล้ว ยังสร้างรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออกถึงกว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี แต่จากแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหาร สุขภาพ สวัสดิภาพแรงงาน และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงต้องการรู้ที่มาที่ไปของอาหาร ขณะที่เทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับอาหารมีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี Blockchain ที่ได้รับการจับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ และถูกคาดหมายว่าจะพลิกโฉมระบบการตรวจสอบย้อนกลับอาหารในอนาคต

หลายท่านอาจสงสัยว่าเทคโนโลยี Blockchain ช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับอาหารได้อย่างไร แต่ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ ผู้อ่านคงต้องเข้าใจก่อนว่า ความท้าทายจากความต้องการรู้ที่มาที่ไปของอาหารของผู้บริโภคจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอาหารในรูปแบบใด

ในระยะข้างหน้าความต้องการรู้ที่มาที่ไปของอาหารจะมาในรูปแบบมาตรฐานและกฎระเบียบทางการค้าที่จะเป็นอุปสรรคสำหรับ

ผู้ส่งออกอาหารของไทย อาทิ นโยบาย Farm to Fork ของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นมาตรการทางการค้าที่กำหนดให้อาหารจะต้องตรวจสอบย้อนกลับได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงผู้บริโภค หรือมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้การตรวจสอบย้อนกลับอาหารเป็นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาที่ไปของอาหารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2023

กลับมาคำถามที่ว่า เทคโนโลยี Blockchain ช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับอาหารได้อย่างไร?

Blockchain ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นตลอดห่วงโซ่การผลิต เช่น ข้อมูลแหล่งผลิตฟาร์มและเพาะเลี้ยง ชนิดพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ ปริมาณการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง ข้อมูลการแปรรูป เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับอาหารได้แบบเรียลไทม์ จึงทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของอาหารมากยิ่งขึ้น สำหรับตัวอย่างผู้ประกอบการในต่างประเทศที่น่าสนใจซึ่งใช้เทคโนโลยี Blockchain มาช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับอาหาร ได้แก่ บริษัทสตาร์ทอัพที่ชื่อว่า Beefchain ของสหรัฐอเมริกา ที่นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เก็บข้อมูลตั้งแต่กระบวนการเลี้ยงสัตว์ไปจนถึงผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า ซึ่งในกรณีที่มีการระบาดของโรคในสัตว์ Beefchain ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการติดตามสต็อกที่ติดเชื้อ โดยข้อมูลที่ได้รับการบันทึกในระบบแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จึงทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของข้อมูล

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่ Walmart บริษัทยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของโลกในสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการติดตามการขนส่งกุ้งมาจากประเทศคู่ค้าอย่างอินเดีย โดยใช้แพลตฟอร์ม IBM Food Trust ทำงานร่วมกับบริษัทสัญชาติอินเดียอย่าง Sandhya Aqua เพื่อบริหารจัดการกับระบบสต็อกสินค้าและการจัดเก็บอาหารทะเล 

นอกจากนี้ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่ากุ้งได้ถูกส่งมาจากที่ไหน ช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกสินค้าทางการเกษตรของอินเดีย

โดยสรุปแล้ว ไทยซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานและกฎระเบียบทางการค้าในด้านการตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต โดย Quick Win ที่จะทำให้ผู้ประกอบการไทยรับมือกับความท้าทายดังกล่าว คือ การร่วมมือกันทั้ง Ecosystem ตั้งแต่เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านการตรวจสอบย้อนกลับอาหาร รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐที่ให้การรับรองมาตรฐานและให้คำปรึกษาด้านมาตรฐานอาหาร
#10075


แม้ความท้าทายในแวดวงสาธารณสุข จะเกิดขึ้นมายาวนานก่อนไวรัสโควิด-19 เห็นจากแนวโน้มด้านประชากรศาสตร์ เช่น โครงสร้างสังคมผู้สูงอายุทั่วโลก การเพิ่มขึ้นอย่างมากของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน และเบาหวาน การขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุข 

องค์กรอนามัยโลก คาดการณ์ว่า โลกจะขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุขราว 13 ล้านคนภายในปี 2035 หรือค่าเวชภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ความมั่นคงด้านการเงินของระบบสาธารณสุขเป็นเรื่องที่น่ากังวลเช่นเดียวกัน

"นครินทร์ เทียนประทีป" ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ยิบอินซอย จำกัด กล่าวในประเด็นนี้ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกกลายเป็น disruption อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่งผลให้ระบบบริการด้านสาธารณสุขทั่วโลกถูกทดสอบอย่างหนัก และโครงสร้างสังคมผู้สูงอายุทั่วโลกที่รวมถึงประเทศไทยที่ก้าวสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์แล้วในปี 2564 นี้ 

การเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีเข้าสู่ยุคดิจิทัล เช่น ระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EHR) การจัดการกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมหาศาลด้วย "เอไอ" หรือ "แมชชีน เลิร์นนิ่ง" เพื่อส่งมอบบริการที่ดีขึ้นให้คนไข้ หรือเพื่อประโยชน์ด้านวิจัยของวงการการแพทย์ จึงมีบทบาทสำคัญ ช่วยยกระดับขีดความสามารถบริการด้านสาธารณสุข ที่ก้าวข้ามความท้าทายเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างมหาศาลอีกต่อไป 

เพียงใช้เทคโนโลยีทุกอย่างภายใต้การบริการ หรือ Everything-as-a-service จะทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้บริการด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างราบรื่น

ระบบ EHR ตัวแปรเปลี่ยนผ่าน

ระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EHR (The Electronic Health Record) หนึ่งตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีของวงการสาธารณสุขเข้าสู่โลกของดิจิทัล เริ่มจากเก็บข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย ข้อมูลตรวจวินิจฉัย และผลลัพธ์อื่นผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค อุปกรณ์ในห้องตรวจวินิจฉัยโรค หรืออุปกรณ์อื่นขึ้นสู่ระบบดิจิทัล เพื่อแพทย์และพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของผู้เข้ารับการรักษาแค่เพียงปลายนิ้ว

ระบบ EHR รุ่นใหม่ ไม่ใช่แค่ปรับปรุงบริการด้านคลินิค การดำเนินงาน แต่ยังรวมถึงการส่งมอบประสบการณ์การสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างพยาบาล ผู้ป่วยคู่กับการปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยข้อมูลขั้นสูง 

ยิ่งกว่านั้น ยังมีส่วนสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก การจ่ายเงินแลกบริการ (fee-for-service) เป็น ดูแลแบบเน้นคุณค่า (value-based care) เพื่อเชื่อมกระบวนการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่สะดวกรวดเร็ว พัฒนาขีดความสามารถระบบ workflow ใช้ข้อมูลเพื่อให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มการตัดสินใจที่แม่นยำในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด

แพลตฟอร์ม EHR มุ่งเน้นโครงสร้างจัดการแบบยืดหยุ่น ขยายผลสู่การให้บริการการสาธารณสุขทางไกล ที่มีการผลักดันอย่างมากก่อนการระบาดของโควิด-19 ต่างเห็นตรงกันว่า เป็นแพลตฟอร์มสำคัญต่อการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบยั่งยืน ทำงานผ่านแอพพลิเคชั่น ที่ประกอบด้วย รูปแบบบริการตนเองและเฝ้าติดตามสุขภาพแบบอัตโนมัติ การควบคุมเข้าถึงหรือเคลื่อนย้ายข้อมูลด้าน EHR ผ่านช่องทางหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างปลอดภัย พร้อมการตอบรับความต้องการของผู้ป่วยด้านความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงบริการได้สมบูรณ์ในแพลตฟอร์มเดียว

ตอบโจทย์ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น

เดิมการใช้คลาวด์สาธารณะน่าจะเป็นคำตอบสำหรับระบบจัดการข้อมูลด้านสาธารณสุขที่เต็มไปด้วย ด้วยปริมาณข้อมูลที่เติบโตชนิดคาดการณ์ไม่ได้ รวมถึงความซับซ้อนและหลากหลายของข้อมูล เช่น จากแผนกรังสีวิทยา แผนกโรคหัวใจ ภาพนิ่งจากศูนย์รักษาแผล (Wound Care Center) วิดีโอจากการศึกษาเรื่องการนอน การเดิน, ศัลยกรรม และอีกมากมาย แต่เรื่องความปลอดภัยของข้อมูล และข้อบังคับเรื่องความเป็นส่วนตัวในแต่ละประเทศ (jurisdictions) อาจทำให้การใช้คลาวด์สาธารณะเป็นเรื่องยุ่งยาก ยิ่งกว่านั้น อาจจะยิ่งผลักดันต้นทุนการเข้าถึงข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะสูงตามไปอีกด้วย

ดังนั้น การสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยในองค์กร (on-premises storage) ซึ่งทางเทคนิคอาจหมายถึงการจัดเก็บในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรเอง หรือจากการใช้บริการ co-location จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้ดีกว่า ซึ่งการจัดหาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (storage) สามารถทำได้หลายระดับขึ้นอยู่กับความต้องการในการเข้าถึงข้อมูล หรือจากวิกฤตของความต้องการใช้งาน HPE Nimble Storage Adaptive Flash Arrays เป็นทางเลือกเริ่มต้นที่เข้มแข็ง เหมาะกับทั้งการทำงานในระดับ primary และ secondary และยิ่งร่วมกับความสามารถในการวิเคราะห์จาก HPE InfoSight แล้ว ก็จะยิ่งทำให้การคาดการณ์และป้องกันปัญหาทั้งระบบของการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งกว่านั้น ความสามารถอื่นเช่น intelligent deduplication ก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บในระดับที่หาตัวจับยาก และช่วยให้ใช้การจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเต็มความจุ

นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรสำคัญอื่นที่ท้าทายต่อการลงทุน คือ ระยะเวลาที่ยาวนานของการจัดสรรงบประมาณและกระบวนการจัดซื้อ ทางออกปัญหาด้านงบประมาณ คือ การจ่ายค่าบริการตามการใช้งานจริง ซึ่งเริ่มถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่อตอบโจทย์องค์กรในการก้าวข้ามผ่านความท้าทายเหล่านี้ หลีกเลี่ยงการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ตั้งแต่เริ่มต้น ขณะเดียวกัน ยังได้ความคล่องตัวสร้างนวัตกรรมด้านดิจิทัล ด้วยค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่น้อยลงเท่ากับปริมาณที่ใช้งานจริงเท่านั้น

ยิบอินซอย ยกตัวอย่างถึง ผลศึกษาฟอร์เรสเตอร์ระบุถึงการนำ HPE Green Lake บริการด้านฮาร์ดแวร์ โซลูชั่น และควบคุมค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนในรูปแบบของคลาวด์ตามการใช้งานจริง ไปปรับใช้ในองค์กรสาธารณสุข พบว่า มีผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มขึ้น 163% ประหยัดเวลาพัฒนาบริการสาธารณสุขเพื่อส่งต่อให้ลูกค้า คิดเป็นตัวเงินได้สูงถึง 2.5 ล้านดอลลาร์ 

ทั้งนี้ HPE GreenLake เป็นวิธีการให้บริการแบบ Everything-As-a-Service ช่วยให้ธุรกิจ และองค์กรทั่วโลกนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เสริมประสิทธิภาพดำเนินงานได้รวดเร็ว ง่าย และหลากหลาย ส่งต่อประสบการณ์ทำงานแบบคลาวด์ให้เกิดขึ้นได้ในองค์กร บริการดูแลจัดการชนิดเต็มรูปแบบ คิดค่าบริการตามการใช้งานจริง

 
#10076


หนึ่งในเทรดใหญ่ของโลกที่เห็นได้ชัดเจนคือ "พลังงานสะอาด" จนทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของต่างหันมาลงทุนเปิดตัวธุรกิจให้สอดคล้อง   จนทำให้ธุรกิจเดิมจาก พลังงานฟอสซิล อย่าง "ถ่านหิน" หรือ  "น้ำมัน"  อาจจะกลายเป็นของล้าหลังในอีก 10 ปีข้างหน้า  

ทำให้หุ้นที่เกี่ยวข้องไร้เสน่ห์การลงทุนแต่ทำไหมยังเห็นตัวเลขราคาน้ำมันหรือถ่านหินกลับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง  เฉพาะราคาน้ำมันหลังจุดต่ำสุดปี 2563 สามารถปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่องอยู่ที่ระดับ 70 ดอลลาร์บาร์เรล อานิสงค์การลดมาตรการล็อกดาวน์ ในต่างประเทศ ทำให้เกิดความต้องการที่ถูกอั้นเอาไว้ดึงราคาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลดีต่อธุรกิจหุ้นน้ำมัน และ ปิโตรเคมี


อีกด้านราคาถ่านหินที่ถือว่าหลายประเทศไม่สนับสนุนให้เกิดธุรกิจดังกล่าว มีการกีดกันด้วยซ้ำจาก ภาษีคาร์บอนเครดิต ไม่ปล่อยสินเชื่อลงทุน ไม่เปิดสัมปทานเหมืองถ่านหินใหม่ๆ  เพื่อหันไปใช้พลังงานสะอาดแทนแต่กลับทำให้ราคาถ่านหินครึ่งปีแรก2564  ทะลุหลักร้อย ที่ 152.37 ดอลลาร์ต่อตัน ( 30 ก.ค.64)

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปลายปี 2563 ราคาถ่านหินอยู่ที่ระดับ 70 ดอลลาร์ต่อตัน ส่งผลทำให้ 6 เดือนแรก ราคาขยับขึ้นมาถึง 117 %  วึ่งระหว่างทางราคายังขึ้นไปทำสูงสุดที่ 146 ดอลลาร์ต่อตัน สูงสุดในรอบ 12 ปี ท่ามกลางความต้องการใช้ที่สูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย

โดยยังมีความต้องการจากผู้บริโภครายใหญ่จีน อินเดีย เวียดนาม ไต้หวัน เกาหลี เข้ามาเพิ่มเติมยิ่งจีนที่ใช้มาตรการเข้มในธุรกินี้จนห้ามนำเข้าถ่านหินจากออสเตรเลียเลยออกผลไปที่จีนต้องนำเข้าจากแหล่งอื่นทดทแน เช่น อินโดนีเซีย

ดังนั้นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับราคาถ่านหินโดยตรงจึงปรับตัวขึ้นเนื่องต่อเนื่อง รายเล็กใตลาด บริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) หรือ LANNA  ราคาหุ้นขยับจากระดับ 5 บาท (พ.ค. 64) จนไปยืนที่ 15-16 บาท (มิ.ย.64 ) จนเกือบไปแตะที่ 20 บาท ซึ่งวานนี้ (3 ส.ค.) ราคาหุ้นปิดที่ 18.60 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) คิงส์ฟอร์ด ให้ราคาเป้าหมายที่  24.50 บาท ในฐานผู้ที่มีแหล่งผลิตถ่านหินในอินโดนีเซียที่ได้รับประโยชน์จากราคาถ่านหินในตลาด Seaborne ที่ยังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลความต้องการใช้ที่สูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสถานการณ์ โควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย

ถัดมาหุ้น บริษัท บ้านปู จำกัด  (มหาชน) หรือ BANPU เป็นรายใหญ่ในตลาด ที่กำลังเข้าสู่พลังงานสะอาดมากขึ้นผ่านการลงทุนของบนิษัทลูก บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP   ทำให้มีการเปิดแผนการเพิ่มทุนเป็นเท่าตัวจนราคาหุ้นสะดุดลงหลังขึ้นมาถึง 16 บาท กลางมิ.ย. ที่ผ่านมา

ด้วยแผนเพิ่มทุนออกมากว่า 30000 ล้านบาท ก่อนจะมีการปรับตัวเลขใหม่เป็นเพิ่มทุน 2.96 หมื่นล้านบาท  (ลดลงจากแผนเดิม 7%) ด้วยการออกหหุ้นเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม 1,692 ล้านหุ้น สัดส่วน 3 หุ้นเดิมต่อ1 หุ้นใหม่  และใบสำคัญแสดงสิทธิหรือวอร์แรนต์ ( BANPU-W4 แจกฟรีราคาใช้สิทธิ 5 บาท และ BANPU-W5 แจกฟรี ที่ราคาใช้สิทธิ 7.50 บาท )  พร้อมยกเลิกแผนออก BANPU-W6   ซึ่งจะมีการประชุมขออนุมัติผู้ถือหุ้น 9 ส.ค. นี้

ส่งผลทำให้ราคาหุ้นกลับมารีบาวด์ภายใต้การแผนเพิ่มทุนมุ่งเน้นไปที่การเข้าซื้อกิจการและขยายธุรกิจพลังงานสะอาด   ขณะที่ธุรกิจหลัก บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) คาดไตรมาส 2 ปี 2564 กำไร 1.4 พันล้านบาท  (จากขาดทุนสุทธิ 2.5 พันล้านบาท ใน 2Q63, -10% QoQ) จากราคาถ่านหินเพิ่มขึ้นถึง 98% ( YoY )และ 21% ( QoQ)  มีราคาขายถ่านหินเฉลี่ย (ASP) จะเพิ่มขึ้น 18% (QoQ) เป็น 78 ดอลลาร์ต่อตัน  
#10077
การเงินติดขัด การงานสะดุด ธุรกิจมีปัญหา ความรักไม่สมดังใจ สุขภาพทรุดโทรม โชคลาภไม่มี ปรึกษาเราสิค่ะ


รับดูดวงผ่านไพ่ยิปซี ออราเคิล โดยใช้จิตสัมผัส และรับสอนการดูดวงผ่านศาสตร์ไพ่ยิปซี ออราเคิล
รับประกันความแม่นยำ และชัดเจนในทุกคำถาม พยากรณ์ได้ทุกเรื่อง เช่น เช็คดวงรายวัน การเงิน การงาน ธุรกิจ ความรัก เนื้อคู่ สุขภาพ โชคลาภ อีกทั้งมีแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ โดยใช้หลักการทางพระพุทธศาสนาสามารถดูต่อเนื่องได้วันต่อวัน ไม่ต้องรอเป็นเดือน รับพยากรณ์ทั้งทางโทรศัพท์ และพยากรณ์แบบส่วนตัว(พื้นที่ จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง)
ค่าครู 299 บาท (ปกติ 599 บาท)

สนใจติดต่อ อ.อนัตตา เทพพยากรณ์
โทร. 0914441569
Line ID : 0944824293

ข้อมูลเพิ่มเติม http://porntaywa99.lnwshop.com/p/208

#10078


เทร ยัง ซูเปอร์สตาร์ แอตแลนตา ฮอว์กส ต่อสัญญา 5 ปี มูลค่า 207 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6,800 ล้านบาท) ตามการยืนยันของ โอมาร์ วิลก์ส เอเยนต์ส่วนตัว ต่อสำนักข่าว "อีเอสพีเอ็น (ESPN)" ของ สหรัฐอเมริกา

สัญญาระบุเงื่อนไข ปรับค่าจ้างขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะส่งผลให้เงินการันตี 172 ล้านเหรียญ (ราว 5,700 ล้านบาท) เพิ่มเป็น 207 ล้านเหรียญ (6,800 ล้านบาท) กรณี ยัง ติดทีมยอดเยี่ยม บาสเกต. เอ็นบีเอ (NBA) 1 ใน 3 ทีม และสามารถปฏิเสธอ็อปชัน หลังครบ 4 ซีซัน

ข้อตกลงจะมีผล ตั้งแต่ฤดูกาล 2022-23 กระทั่งสิ้นสุดฤดูกาล 2026-27

การเจรจาต่อสัญญาเต็มมูลค่าของ ยัง ไม่มีอะไรซับซ้อน หลังแบก ฮอว์กส ทะลุถึงรอบชิงชนะเลิศ สายตะวันออก ทั้งที่ไม่เคยสัมผัสเพลย์ออฟตลอด 3 ซีซันล่าสุด

ผลผลิตของมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา เป็นแกนหลักของแฟรนไชส์ เขี่ยทีมวางอันดับสูงกว่าอย่าง นิว ยอร์ก นิกส์ กับ ฟิลาเดลเฟีย เซเวนตีซิกเซอร์ส และทำให้ มิลวอคกี บัคส์ ต้องออกแรงถึง 6 เกม กว่าจะเข้ารอบชิงชนะเลิศ

การ์ดจ่ายวัย 22 ปี ทำคะแนนเฉลี่ย 28.8 แต้ม 9.5 แอสซิสต์ เฉพาะเพลย์ออฟ พิสูจน์ฝีมือว่าเป็นอนาคตของแฟรนไชส์ นับตั้งแต่ถูก ดัลลัส มาเวอริกส์ ปล่อยตัวเพื่อแลกกับ ลูกา ดอนซิช เมื่อปี 2018
#10079



สุดาพร สีสอนดี กำปั้นหญิงทีมชาติไทย โชว์ฟอร์มปราบแชมป์ยูธโอลิมปิกจากสหราชอาณาจักร ก่อนการันตีมีเหรียญทองแดงคล้องคอเรียบร้อยในศึกโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น เมื่อันที่ 3 สิงหาคม 2564

ศึกมวยสากลสมัครเล่น โตเกียว 2020 ที่สนามเรียวโกคุ โกกุกิกัง ประเทศญี่ปุ่น รุ่นน้ำหนัก 60 กก.หญิง สุดาพร สีสอนดี ความหวังสุดท้ายที่เหลืออยู่ของทัพกำปั้นไทย เดินขึ้นสังเวียนรอบ 8 คนสุดท้าย เพื่อลุ้นชิงเหรียญรางวัล

ไฟต์สำคัญนี้ สุดาพร เผชิญหน้า แคโรไลน์ ดูบัวส์ เจ้าของแชมป์ ยูธ โอลิมปิก จากสหราชอาณาจักร ยกแรก ต่างฝ่ายต่างระแวดระวัง แต่ สุดาพร ก็หาจังหวะส่งหมัดเข้าเป้าเก็บคะแนนได้ดี จนชนะไปก่อนยกแรก 3-2 เสียง

ยกสอง ดูบัวส์ แก้เกมหาจังหวะสวนหมัดใส่นักชกไทยได้ดีจนกรรมการให้นักชกจากจีบีชนะยกนี้ 3-2 เสียง สุดท้ายยกตัดสิน ดูบัวส์ เดินลุยเหวี่ยงหมัดเพื่อตัดสินแต่ "เจ้าแต้ว" รอหาจังหวะแล้วสวนหมัดใส่แบบเยือกเย็น สุดท้ายกรรมการตัดสินให้นักชกไทย ชนะ 3-2 เสียง

ผลงานไฟต์นี้ทำให้ สุดาพร เข้าไปเจอกับ เคลลี แฮร์ริงตัน จากไอร์แลนด์ และแน่นอนที่สุดคือมีเหรียญทองแดง การันตีไว้ให้อุ่นใจเป็นที่เรียบร้อย