• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

เราต้องกังวลแค่ไหนเมื่อภูมิคุ้มกันในตัวน้อยลงแม้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว

Started by Chanapot, January 09, 2022, 09:42:01 AM

Previous topic - Next topic

Chanapot

โควิด-19 : เราต้องกังวลแค่ไหนเมื่อภูมิคุ้มกันในตัวน้อยลงแม้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว

ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญในสหราชอาณาจักรหลายคนเตือนว่าภูมิคุ้มกันที่ค่อย ๆ ลดลงจากการฉีดวัคซีน อาจทำให้คนเสียชีวิตเพราะโควิดได้ แม้พวกเขาเหล่านั้นจะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วก็ตาม คำถามคือว่าร่างกายของเราพร้อมสู้กับโควิดแค่ไหนกัน

มาทบทวนหลักการพื้นฐานกันก่อน ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีบทบาทหลัก ๆ สองอย่าง อย่างแรก ช่วยให้เราไม่ติดเชื้อ และอย่างที่สอง หากว่าเราติดเชื้อเข้าจนได้ ภูมิคุ้มกันก็จะทำหน้าที่กำจัดเชื้อออกไปจากร่างกายเรา

โดยปกติแล้วร่างกายจะมีเกราะป้องกันตามธรรมชาติ นั่นก็คือแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส หรือ "neutralising antibodies" ที่จะช่วยให้เราไม่ติดเชื้อ



แต่หากติดเชื้อ เราก็จะยังมี "ที-เซลล์ หน่วยความจำ" (memory T-cell) ที่คงอยู่ในร่างกาย และ บี-เซลล์ ที่พร้อมจะผลิตแอนติบอดีตามที่ร่างกายต้องการ

และวัคซีนโควิดที่เราไปฉีดกันมาช่วยให้ทั้งแอนติบอดีและทีเซลล์หน่วยความจำสามารถตอบสนองต่อการติดเชื้อและต่อสู้กับโควิดได้

แต่หลังจากที่เราติดเชื้อหรือฉีดวัคซีนไปสักพัก ภูมิคุ้มกันในตัวเราก็ย่อมน้อยลงเป็นธรรมดา ศาสตราจารย์ เอลานอร์ ไรลีย์ นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ บอกว่ามีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนแล้วว่าแอนติบอดีในร่างกายเราลดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป

ขณะที่เชื้อโรคโควิดสายพันธุ์เดลตาที่ยังระบาดอยู่ในหลายประเทศมีความสามารถในการทะลุทะลวงเข้าสู่ร่างกายของเราได้ดีขึ้น ยังไม่นับโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ตามมาในอีกระลอก

คุณอาจจะเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง คนที่คุณรู้จักอาจจะติดโควิดแม้จะได้รับวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม ผลงานวิจัยซึ่งยังไม่ได้ตีพิมพ์อย่างเป็นทางการชิ้นหนึ่งระบุว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า สามารถลดอาการโควิดได้ถึง 66% แต่เมื่อ 5 เดือนผ่านไป ตัวเลขนั้นลดลงเหลือ 47% ส่วนวัคซีนไฟเซอร์ ตัวเลขลดลงจาก 90% เหลือ 70%

ศาสตราจารย์อดัม ฟินน์ จากมหาวิทยาลัยบริสตอลซึ่งเป็นผู้ให้คำแนะนำรัฐบาลเรื่องวัคซีน บอกเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาว่า เห็นทั้งคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนและฉีดวัคซีนจำนวนมากต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล


เขาบอกว่าความสามารถของวัคซีนในการป้องกันให้คนเราไม่ป่วยหนักจะลดลงเร็วกว่า โดยวัคซีนสามารถป้องกันให้เราไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้นานกว่า

กลุ่มคนที่เสี่ยงต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตเป็นคนสูงอายุ ผู้เสียชีวิตจากโควิดที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วส่วนใหญ่เป็นคนที่อายุมากกว่า 70 ปี อย่างไรก็ดี คนในกลุ่มอายุนี้ก็มีโอกาสรอดปลอดภัยกว่าคนที่อายุเท่ากันแต่ไม่ยอมฉีดวัคซีนอยู่ดี เราจะเห็นว่าความเสี่ยงในหมู่คนอายุน้อยที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มแล้วมีน้อยมาก

เวลาคนเราอายุมากขึ้น วัคซีนก็ฝึกฝนให้ระบบภูมิคุ้มกันเราสู้กับโควิดได้ยากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ระภูมิคุ้มกันก็ตอบสนองได้ช้าลงเวลาเชื้อเข้ามาในร่างกาย

ศ.ไรลีย์ บอกว่า ภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงเมื่อเวลาผ่านไปอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมคนสูงวัยและคนที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเปราะบางถึงเสียชีวิตแม้จะได้รับวัคซีน 2 เข็มแล้วก็ตาม

วัคซีนโควิด: สถานะล่าสุดของวัคซีน 6 ยี่ห้อที่ อย. ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในปี 64 ก่อนเข้าสู่สมรภูมิโควิดปี 65
โควิด-19 : สธ. ชง ศบค. เลื่อนเปิด "Test & Go" ถึงสิ้นเดือน ม.ค. หลังผู้ติดเชื้อโอมิครอนพุ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้ อายุที่มากขึ้นก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเสียชีวิตตั้งแต่การระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้น ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนก่อน ดังนั้นภูมิคุ้มกันของพวกเขาก็ลดลงไปก่อน

สำหรับคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออยู่แล้ว อาทิ คนที่เป็นโรคมะเร็งหรือเคยผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ ดร.เฮเลน แพร์รี จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม บอกว่า แอนติบอดีในร่างกายของคนเหล่านี้ลดลงพอ ๆ กับคนทั่วไป แต่คนกลุ่มนี้มีระดับภูมิคุ้มกันน้อยกว่าคนอื่น ๆ มาตั้งแต่แรก

สิ่งที่น่าสนใจคือวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนไฟเซอร์ทำหน้าที่ในเรื่องนี้ได้ดีคนละมุม

ดร.แพร์รี บอกว่า วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเออย่างไฟเซอร์ มีประสิทธิภาพในการสร้างแอนติบอดี ขณะที่วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพทำให้เกิดการตอบสนองของที-เซลล์ (T-cell)

อธิบายง่าย ๆ ก็คือขณะที่ไฟเซอร์ช่วยให้คนไม่ติดเชื้อ แอสตร้าเซนเนก้าจะต่อสู้กับไวรัสเวลาคนติดเชื้อแล้วได้ดีกว่า

ข่าวดีก็คือแม้คนจะมีภูมิคุ้มกันน้อยลง แต่วัคซีนที่เรามีก็ยังมีประสิทธิภาพสูง

ล่าสุด หน่วยงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (UK Health Security Agency) หรือยูเคเอชเอสเอ เผยแพร่ข้อมูลชิ้นใหม่ที่ชี้ว่าการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ยี่ห้อแอสตร้าเซนเนกา ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา จำนวนสองเข็ม สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์โอมิครอนได้เพียงเล็กน้อย แต่สามารถป้องกันไม่ให้ผู้ติดเชื้อมีอาการหนักได้ดีกว่า แต่เมื่อได้รับเข็มที่ 3 จะป้องกันได้ 88%

ยูเคเอชเอสเอ วิเคราะห์ข้อมูลผู้ติดเชื้อโอมิครอนทั้งที่ได้รับการยืนยันและสงสัยว่าติดเชื้อ รวม 600,000 คน และพบว่าการฉีดวัคซีน 1 เข็ม ลดความเสี่ยงที่จะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลลงได้ 52% หากฉีดเข็มที่ 2 จะป้องกันได้ 72% แต่หลังจากเวลาผ่านไปแล้ว 25 สัปดาห์ การป้องกันจะลดลงเหลือ 52% อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ผ่านไปแล้วสองสัปดาห์ การป้องกันจะฟื้นกลับคืนมาเป็น 88%